คำว่า TFRS for NPAEs นั้น ถือว่าเป็นคำที่ผู้ประกอบการหลาย ๆ คน ก็คงเคยได้ยินผ่านตามกันมาบ้าง และถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย ที่จะต้องจัดทำให้ถูกหลักและมีความถูกต้องตามกฎหมาย เพราะฉะนั้น SMEMOVE จะพาคุณมาทำความรู้จักกันว่า TFRS for NPAEs คืออะไร แล้วมีข้อกำหนดอะไรบ้างที่สำคัญ สรุปให้แบบครบ จบ ในบทความเดียว
TFRS for NPAEs คืออะไร?
คำว่า มาตรฐานรายงานทางการเงินของไทย (Thai Financial Reporting Standards -TFRSs) นั้น ถูกจัดทำและวางมาตรฐานเอาไว้ โดยอ้างอิงจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Reporting Standards – IFRSs) ที่นับว่าเป็นมาตรฐานในระดับสากล โดยการมาตรฐานดังกล่าว จะถูกนำมาใช้กับนิติบุคคล ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Publicly Accountable Entities- PAEs) รวมถึงนิติบุคคลที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ ที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non – Publicly Accountable Entities – NPAEs)
เพราะฉะนั้น TFRS for NPAEs ก็คือ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่ถูกกำหนดขึ้นมาสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือแม้แต่กลุ่ม SMEs ที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์นั่นเอง โดยมาตรฐานนี้จะสามารถใช้ได้สำหรับ “กิจการที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs)” นั่นเอง ซึ่งมาตรฐานดังกล่าว จัดทำขึ้นมาเพื่อเพิ่มหลักการทางบัญชีให้มีความครอบคลุมกับธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น มีความง่ายในทางปฏิบัติทางบัญชี และที่สำคัญคือ เพิ่มทางเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี เพื่อให้กิจการสามารถเติบโตได้ในอนาคต
กิจการที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียสาธารณะ มีอะไรบ้าง?
1. กิจการที่มีตราสารทุน หรือตราสารหนี้ของกิจการ
โดยมีการซื้อขายต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็น ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ รวมถึงการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ (Over the Counter) ซึ่งรวมไปถึงตลาดในท้องถิ่น ภูมิภาค หรือกิจการที่นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงินของกิจการให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่น เพื่อวัตถุประสงค์ในการขายออกหลักทรัพย์ใด ๆ ต่อประชาชน
2. กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลทรัพย์สินของกลุ่มคนภายนอก
โดยครอบคลุมทั้ง สถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เป็นต้น
3. บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน
4. กิจการอื่นที่จะกำหนดเพิ่มเติม
สรุป มาตรฐาน TFRS for NPAEs (ฉบับปรับปรุง) อัปเดตปี 2566
สำหรับมาตรฐานทางการเงิน TFRS for NPAEs (ฉบับปรับปรุง) นั้น มีสาระสำคัญหลัก ๆ คือ การปรับปรุงรายละเอียดทั้งหมด 17 บท, ไม่มีการปรับปรุง 5 บท และเพิ่มใหม่ 6 บท รวมทั้งหมดเป็น 28 บท โดยมีผลเริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นมา โดยทาง SMEMOVE จะสรุปให้ดูว่า TFRS for NPAEs
TFRS for NPAEs บทที่ “มี” การเปลี่ยนแปลง
- บทที่ 1 ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
- บทที่ 2 ขอบเขต
- บทที่ 3 กรอบแนวคิด
- บทที่ 4 การนำเสนองบการเงิน
- บทที่ 5 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
- บทที่ 6 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
- บทที่ 7 ลูกหนี้
- บทที่ 8 สินค้าคงเหลือ
- บทที่ 9 เงินลงทุน
- บทที่ 10 ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์
- บทที่ 11 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
- บทที่ 12 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
- บทที่ 14 สัญญาเช่า
- บทที่ 16 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
- บทที่ 18 รายได้
- บทที่ 21 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- บทที่ 28 วันถือปฏิบัติ และการปฏิบัติ ในช่วงเปลี่ยนแปลง
TFRS for NPAEs บทที่ “ไม่มี” การเปลี่ยนแปลง
- บทที่ 13 ต้นทุนการกู้ยืม
- บทที่ 15 ภาษีเงินได้
- บทที่ 17 เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน
- บทที่ 19 การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
- บทที่ 20 สัญญาก่อสร้าง
TFRS for NPAEs บทที่ “เพิ่มใหม่” ในฉบับปรับปรุง
- บทที่ 22 เกษตรกรรม
- บทที่ 23 เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
- บทที่ 24 อนุพันธ์
- บทที่ 25 การรวมธุรกิจ
- บทที่ 26 การสำรวจและปริเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่
- บทที่ 27 ข้อตกลงสัมปทานบริการ
สรุป TFRS for NPAEs เปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน?
สำหรับมาตรฐานของ TFRS for NPAEs ที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น หากมองในภาพรวมแล้วถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่ง เช่น TFRS for NPAEs บทที่ 18 : รายได้ จะมีการเพิ่มเติมเรื่อง “โปรแกรมสิทธพิเศษแก่ลูกค้า” เข้ามา โดยสามารถรับรู้ได้ 2 วิธี คือ การรับรู้คะแนนสะสมเป็นประมาณการหนี้สิน พร้อมกับรับรู้ค่าใช้จ่าย ด้วยจำนวนประมาณการที่ดีที่สุด ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และการรับรู้คะแนนสะสมเป็นหนี้สินแยกต่างหาก จากรายการขายที่กิจการให้คะแนนสะสม และอีกหนึ่งจุดที่เห็นชัดเจนคือ การเพิ่มเติมข้อบ่งชี้ในการพิจารณาเป็น “ตัวการหรือตัวแทน” เป็นต้น
เพราะฉะนั้น การเพิ่มเติมรายละเอียดใน TFRS for NPAEs (ฉบับปรับปรุง) จะมีการเพิ่มเนื้อหาสาระบางจุดเข้ามา เพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่นเดียวกับในบทที่ 14 เรื่องสัญญาเช่า ที่เปลี่ยนแปลงคำศัพท์แค่จากคำว่า “สัญญาเช่าการเงิน” เป็น “สัญญาเช่าเงินทุน” ดังนั้น รายละเอียดในบางบทจะมีเพียงการเพิ่มรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เข้ามาเท่านั้น
แต่สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากคือ การเพิ่มบทใหม่เข้ามาที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ผู้จัดทำบัญชีหรือผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ จะต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจถึงหลักเกณฑ์ที่ถูกำหนดเข้ามาใหม่ในมาตรฐานรายงานทางการเงิน ดังนั้น นักบัญชีจะต้องพิจารณาวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่มีความเหมาะสมกับกิจการ พร้อมนำเสนอแนวทางต่าง ๆ ต่อเจ้าของธุรกิจ เพื่อเป็นนโยบายทางบัญชีต่อไปเช่นกัน
อัปเดตทุกเทรนด์ดัง พร้อมข่าวสารทางบัญชีที่ SMEMOVE
จะเห็นได้เลยว่า ประเด็นเรื่องการเพิ่มวิธีปฏิบัติทางบัญชีอย่าง TFRS for NPAEs นั้น ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดและมีเนื้อหาค่อนข้างเข้มข้น ซึ่งทาง SMEMOVE จะมาสรุปให้ดูอีกครั้งว่า TFRS for NPAEs ที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละบทนั้น กล่าวถึงอะไรบ้าง แล้วแต่ละบทมีความเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน รวมถึงการสรุปสาระสำคัญของการเพิ่มบทใหม่เข้ามาในมาตรฐานรายงานทางบัญชีดังกล่าว
เพราะฉะนั้น อย่าลืมมาติดตามข่าวสารในวงการบัญชีกับทาง SMEMOVE ตัวจริงเรื่องโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่จะมาไขทุกข้อสงสัย พร้อมแนะนำวิธีการจัดการกับระบบบัญชีในธุรกิจของคุณแบบง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือจะเป็นผู้ประกอบการ SMEs มือใหม่ ก็สามารถทำความเข้าใจกับการจัดการกับระบบบัญชีและการยื่นภาษีได้เช่นกัน
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE