ท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัดทั่วไทย ลดหย่อนภาษีปี 2567 ได้สูงสุด 15,000 บาท

By posted on October 18, 2024 9:41AM

สำหรับผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เรียกว่าเป็นข่าวดีที่ไม่ควรพลาดอย่างเด็ดขาด ด้วยนโยบายลดหย่อนภาษีปี 2567 ที่ทาง ครม. มีมติกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วง Low Season ด้วยการส่งเสริม “ท่องเที่ยวเมืองรอง” และ “พื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษ” เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมการอบรมสัมมนาสำหรับภาคนิติบุคคล และส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับบุคคลธรรมดา โดยมาตรการท่องเที่ยวเมืองรอง ที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีดังกล่าวนี้ได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. – 30 พ.ย. 2567 ที่กำลังจะถึงนี้!

ท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัดทั่วไทย ลดหย่อนภาษีปี 2567

ท่องเที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษี คืออะไร?

การท่องเที่ยวเมืองรอง (Less Visited Area) คือ เมืองที่ไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือจุดหมายปลายทางหลักของนักท่องเที่ยว ซึ่งในปัจจุบันอาจจะยังมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมเยือนไม่มากนัก โดยเป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวปีหนึ่งต่ำกว่า 4 ล้านคน ต่างจากเมืองหลักที่จะมีนักท่องเที่ยวหนาตากว่า ครอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 6 ล้านคน

ในปัจจุบันจังหวัดที่จัดว่าเป็นเมืองรองนั้น มีทั้งหมด 55 จังหวัด และเพื่อกระตุ้นให้การท่องเที่ยวเติบโต จึงทำให้เกิดนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ที่นักท่องเที่ยวหรือนิติบุคคลสามารถนำไปใช้ประกอบการลดหย่อนภาษีได้ โดยนโยบายดังกล่าวนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 พฤศจิกายน 2567

ท่องเที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษี

“เมืองรอง” มีจังหวัดอะไรบ้าง?

สำหรับจังหวัดที่ถูกจัดว่าเป็นเมืองรองนั้น มีทั้งหมด 55 จังหวัด โดยจังหวัดดังกล่าวจะมีนักท่องเที่ยวต่ำกว่า 4 ล้านคนต่อปี (โดยเฉลี่ย) ดังต่อไปนี้

ภาคเหนือ 16 จังหวัด

  • พิษณุโลก
  • ตาก
  • เพชรบูรณ์
  • นครสวรรค์
  • สุโขทัย
  • ลำพูน
  • อุตรดิตถ์
  • ลำปาง
  • แม่ฮ่องสอน
  • พิจิตร
  • แพร่
  • น่าน
  • กำแพงเพชร
  • อุทัยธานี
  • พะเยา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด

  • อุดรธานี
  • อุบลราชธานี
  • หนองคาย
  • เลย
  • มุกดาหาร
  • บุรีรัมย์
  • ชัยภูมิ
  • ศรีสะเกษ
  • สุรินทร์
  • สกลนคร
  • นครพนม
  • ร้อยเอ็ด
  • มหาสารคาม
  • บึงกาฬ
  • กาฬสินธุ์
  • ยโสธร
  • หนองบัวลำภู
  • อำนาจเจริญ

ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก 12 จังหวัด

  • ลพบุรี
  • สุพรรณบุรี
  • นครนายก
  • สระแก้ว
  • ตราด
  • จันทบุรี
  • ราชบุรี
  • สมุทรสงคราม
  • ปราจีนบุรี
  • ชัยนาท
  • อ่างทอง
  • สิงห์บุรี

ภาคใต้ 9 จังหวัด

  • นครศรีธรรมราช
  • พัทลุง
  • ตรัง
  • สตูล
  • ชุมพร
  • ระนอง
  • นราธิวาส
  • ยะลา
  • ปัตตานี

วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ด้วยมาตรการท่องเที่ยวเมืองรอง

วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ด้วยมาตรการท่องเที่ยวเมืองรอง

สำหรับมาตรการลดหย่อนภาษีเมื่อมีการท่องเที่ยวเมืองรองนั้น “สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท” เพียงแค่มีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) และ e-Tax invoice by Time Stamp ของกรมสรรพากร ก็สามารถนำไปใช้ประกอบการยื่นภาษีได้แล้ว

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ ครอบคลุมทั้งค่าที่พัก รีสอร์ต โฮมสเตย์ หรือค่าที่พักในสถานที่ที่ไม่ใช่โรงแรม หรือหากใช้บริการธุรกิจนำเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ ก็สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยผู้ที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามนโยบายการท่องเที่ยวเมืองรอง จะต้องขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกในระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 30 พฤศจิกายน 2567 เท่านั้น เพราะหากใช้ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีปี 2567 ตามโครงการนี้ได้

การลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวเมืองรอง สำหรับนิติบุคคล

การลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวเมืองรอง สำหรับนิติบุคคล

นอกจากบุคคลธรรมดาจะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ตามมาตราส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองได้แล้ว นิติบุคคลก็สามารถนำค่าใช้จ่ายมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ที่ทางบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนบุคคลจัดขึ้นให้กับลูกจ้าง ซึ่งก็รวมถึงการใช้บริการธุรกิจนำเที่ยวเพื่อการอบรมสมมนาเช่นกัน เพียงแค่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในวันที่ 1 พฤษภาคม – 30 พฤศจิกายน 2567 เท่านั้น

ทั้งนี้ การหักค่าใช้จ่ายสำหรับลดหย่อนภาษีปี 2567 ในการท่องเที่ยวเมืองรองของนิติบุคคล จะมีความแตกต่างจากบุคคลธรรมดา คือ

  • หักรายจ่ายได้ 2 เท่า ของรายจ่ายที่จ่ายตามจริง เมื่อจัดอบรมสัมมนาในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง หรือในพื้นที่ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
  • หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า จองรายจ่ายที่จ่ายตามจริง เมื่อจัดอบรมสัมมนาที่ไม่ได้จัดขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง หรือในเขตพื้นที่ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
  • ส่วนกรณีที่มีการจัดสัมมนาทั้งเมืองหลักและเมืองรอง สามารถนำไปลดหย่อนได้ตามสิทธิ์ของพื้นที่นั้น เพียงแต่ต้องแยกแยะทำรายการใช้จ่ายตามพื้นที่ได้ แต่หากแยกแยะไม่ได้ให้ยัดหลักการหักค่าใช้จ่ายที่ 1.5 เท่า

อย่างไรก็ตาม เอกสารที่ใช้ประกอบที่นิติบุคคลต้องใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีปี 2567 เมื่อเที่ยวเมืองรองนั้น ก็ยังใช้หลักการเดียวกันกับบุคคลธรรมดา คือ ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) และ e-Tax invoice by Time Stamp ของกรรมสรรพากรเท่านั้น เว้นแต่ค่าขนส่งจะจ่ายให้แก้ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้

ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการ ก่อนเที่ยวเมืองรองปี 2567

สำหรับผู้ที่มีแพลนเดินทางท่องเที่ยวในเมืองรอง เพี่อใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีปี 2567 ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ที่จะจัดอบรมสัมมนาให้กับพนักงานในองค์กร สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่ให้บริการและสามารถออก e-Tax Invoice & e-Receipt ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร หรือที่ https://etax.rd.go.th/ETAXSEARCH/

อย่างไรก็ตาม การจองที่พักหรือโรงแรมผ่านทางเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น Agoda, Booking, Trip และ Traveloka นั้น ต้องตรวจสอบก่อนชำระเงินว่าเข้าร่วมโครงการลดหย่อนภาษีหรือไม่ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ดังกล่าว อาทิ บางโรงแรมอาจเข้าร่วมโครงการเที่ยวเมืองรองตามที่กรมสรรพากรกำหนด แต่หากจองผ่านเว็บไซต์ Agent ต่าง ๆ ทางที่พักอาจไม่สามารถออก e-Tax Invoice & e-Receipt ให้ได้ เป็นต้น

การลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวเมืองรอง ปี 2567

อัปเดตทุกข่าวสารเรื่องภาษี และการทำบัญชีแบบง่าย ๆ ที่ SMEMOVE

จะเห็นได้เลยว่า มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองปี 2567 นี้ นอกจากจะเป็นนโยบายการท่องเที่ยวที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วง Low Season ในเมืองรองได้แล้ว ยังสามารถนำค่าใช้จ่ายไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย และหากใครที่ไม่อยากพลาดข่าวสารดีดี ไม่ว่าจะเป็น ภาษี บัญชี และทริกเด็ด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ SMEs ก็อย่าลืมมาอัปเดตข่าวสารกับทาง SMEMOVE ตัวจริงเรื่องบัญชีออนไลน์ เพราะเรายังมีข่าวสารที่น่าสนใจ พร้อมการทำบัญชีแบบง่าย ๆ ให้อัปเดตอีกเพียบ!

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE