คู่มือนายจ้าง! วิธีการจัดการ และการเก็บข้อมูลพนักงาน ด้วยระบบ HR

By posted on June 30, 2025 8:23PM
คู่มือนายจ้าง! วิธีการจัดการ และการเก็บข้อมูลพนักงาน ด้วยระบบ HR

การจัดการกับข้อมูลของพนักงานในองค์กร นอกจากการเก็บข้อมูลพนักงานบริษัทอย่างเป็นระบบแล้ว สิ่งที่สำคัญมาก ๆ เลยก็คือ การเก็บข้อมูลที่สำคัญ มีความครอบคุลม เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความอ่อนไหวที่สำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น SMEMOVE จะมาแนะนำวิธีการจัดการข้อมูลพนักงานแบบง่าย ๆ ผ่านโปรแกรมงานบุคคล หรือระบบ HR สำหรับนายจ้างโดยเฉพาะ

ความสำคัญของการจัดการข้อมูลพนักงาน

การจัดการข้อมูลพนักงาน สำคัญอย่างไร?

ข้อมูลพนักงานบริษัท หรือ พนักงานในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่การบันทึกหรือเก็บข้อมูลพื้นฐานของพนักงานไว้ในฐานข้อมูลเท่านั้น แต่การเก็บข้อมูลของพนักงานบริษัท ยังช่วยให้ผู้ประกอบการหรือฝ่ายบุคคล สามารถบริหารจัดการบุคคลากรได้อย่างเป็นระบบ

อย่างเช่น การประเมินพนักงานเพื่อปรับฐานเงินเดือน การติดต่อกับบุคคลในครอบครัวเมื่อกรณีฉุกเฉิน และที่สำคัญคือ ช่วยให้การบริหารงานบุคคลมีความต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบุคลากร ทั้งยังทำให้ธุรกิจเติบโตได้จากระบบทะเบียนของบริษัท ที่จะเห็นโครงสร้างองค์กร (Organization Chart) ทั้งหมดอย่างชัดเจน หากมีการจัดการข้อมูลพนักงานอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ

วิธีการเก็บข้อมูลพนักงาน ไม่ให้กระทบกับ PDPA

วิธีการเก็บข้อมูลพนักงาน ไม่ให้กระทบกับ PDPA

ถึงแม้ว่าการเก็บข้อมูลพนักงานในบริษัท จะต้องมีการเก็บข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการติดต่อ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานและเงินเดือน แต่สิ่งที่ต้องระวังมากขึ้นคือ กฎหมาย PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่ทั้งฝั่งของนายจ้างและ HR จะต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความอ่อนไหว

  • การดำเนินการด้านการจัดการข้อมูลที่สอดรับกับกฎหมาย โดยเฉพาะการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหากมีประเด็นไหนที่ยังไม่ได้จัดการให้สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีแนวทางและการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน
  • บริษัทต้องมีการจัดการข้อมูลที่รัดกุมและปลอดภัย ทั้งการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล การลบและทำลายข้อมูล และที่ขาดไม่ได้คือ การบันทึกหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งบริษัทควรมีเอกสารที่ให้พนักงานลงนามในการยินยอมการใช้ จัดเก็บ และเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูล
  • การวางแผนการป้องกันการละเมิดและถูกโจมตีข้อมูล เรียกง่าย ๆ ว่า การบันทึกข้อมูลที่มีความปลอดภัย ซึ่งจุดนี้ไม่ได้แค่ทำให้พนักงานไว้วางใจต่อข้อมูลเท่านั้น แต่ยังเป็นผลดีในด้านของความน่าเชื่อถือด้วย

สำหรับข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) มีความครอบคลุมทั้งเรื่องของ เชื้อชาติ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลพันธุกรรม และข้อมูลชีวภาพ อาทิ ลายนิ้วมือ รวมถึง Face ID และที่ขาดไม่ได้คือ ประวัติอาชญากรรม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ทาง HR จะต้องมีการขอความยินยอมก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง และควรมีมาตรการการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสม มีมาตรฐาน และต้องมีการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล

ข้อมูลส่วนตัวของพนักงานบริษัท ที่ควรจัดเก็บอย่างปลอดภัย

ข้อมูลส่วนตัวของพนักงานบริษัท ที่ควรจัดเก็บอย่างปลอดภัย

  • ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน สำหรับการยื่นภาษีและประกันสังคม
  • ชื่อ หมายเลขบัญชีธนาคาร สำหรับการจ่ายเงินเดือน
  • ข้อมูลและประวัติครอบครัว และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  • ประวัติด้านการศึกษา การทำงาน ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร (ผช.) และประวัติอาชญากรรม
  • ผลการตรวจสุขภาพ
  • ผลการประเมินในช่วงทดลองงาน (Probation Evaluation)
  • สลิปเงินเดือนและเงินพิเศษต่าง ๆ อาทิ ค่าคอมมิชชัน
  • ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ความประพฤติ หนังสือตักเตือน ฯลฯ
  • สัญญาจ้าง และหนังสือเกี่ยวกับการยินยอมการให้ข้อมูลส่วนบุคคล
  • ข้อมูลการทำงาน เช่น การลางาน ขาดงาน มาสาย หรือเวลาเข้า – ออกงาน

หมายเหตุ : ข้อมูลส่วนตัวของพนักงานบริษัท บางแห่งอาจมีการเพิ่มเติมหรือลดบางรายการ ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทนั้น ๆ เช่น บางแห่งอาจมีข้อมูลสลิปเงินเดือนของบริษัทเก่า เพื่อใช้อ้างอิงฐานเงินเดือน หรือบางแห่งอาจมีสัญญารักษาความลับด้วย

การเก็บข้อมูลพนักงานในระบบ HR

How – To เก็บข้อมูลพนักงานในระบบ HR อย่างมีประสิทธิภาพ

ในการเก็บข้อมูลพนักงานบริษัทให้มีความปลอดภัย มีมาตรฐาน และเห็นโครงสร้างภายในองค์กร ทำให้เจ้าของบริษัทและฝ่าย HR สามารถดำเนินงานด้านการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้โปรแกรมงานบุคคล หรือ ระบบ HR จากทาง SMEMOVE ที่นอกจากจะทำงานควบคู่กันกับโปรแกรมบัญชีอย่างครบวงจรแล้ว ยังสามารถบริหารจัดการงานบุคคลได้ง่าย ๆ ในโปรแกรมเดียว

1. แยกข้อมูลของพนักงาน ระหว่างพนักงานประจำ vs ฟรีแลนซ์

โดยหลาย ๆ บริษัทก็จะมีการทำงานร่วมกับฟรีแลนซ์ ทั้งแบบประจำและจัดจ้างตามโปรเจกต์ ซึ่งการแยกข้อมูลของพนักงานออกเป็น 2 ส่วน จะทำให้บริหารงานได้ง่ายขึ้น เพราะการหักค่าใช้จ่ายของพนักงานทั้ง 2 กลุ่ม จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งฟรีแลนซ์หรือกลุ่ม Out Source จะมีเพียงการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่หากเป็นพนักงานประจำ จะมีการหักค่าใช้จ่ายหลายรายการ หนึ่งในนั้นคือ ประกันสังคม

และพนักงานบางคนอาจจะมีการหัก กยศ. กรอ. หรือแม้แต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ PVD ร่วมด้วย ยังไม่นับพนักงานขายที่จะมีค่า Commission เข้ามา และพนักงานบางคนก็จะมีค่า OT หรือค่าล่วงเวลาด้วย การแยกข้อมูลพนักงานออกเป็น 2 กลุ่มตั้งแต่แรกจะทำให้บริหารงานได้ง่ายกว่า ทั้งในด้านของงานบุคคลและงานบัญชี

2. แยกข้อมูลแผนกในบริษัท

เรียกง่าย ๆ ว่า โครงสร้างองค์กร ที่จะทำให้เห็นภาพรวมทั้งหมด ว่าใครทำงานในตำแหน่งอะไรบ้าง หัวหน้าของแต่ละคนคือใคร ซึ่งการวางโครงสร้างองค์กรที่ดีก็ต้องมีการแยกข้อมูลของแผนกในบริษัทอย่างชัดเจน เพราะนอกจากจะทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว ยังช่วยให้การประเมินงานและการปรับฐานเงินเดือนมีระบบมากขึ้น รวมถึงรายได้ของพนักงานแต่ละฝ่ายด้วยเช่นกัน

3. จัดการข้อมูลพนักงานรายคนในระบบ HR

เมื่อเตรียมข้อมูลทุกอย่างอย่างเป็นระบบแล้ว ก็สามารถเข้ามากรอกข้อมูลพนักงานแต่ละคน ในโปรแกรมงานบุคคล หรือระบบ HR ของทาง SMEMOVE ได้เลย โดยภายในระบบจะมีการระบุข้อมูลอย่างครบถ้วน ทั้งข้อมูลของพนักงานที่ต้องการใส่ ข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และที่สำคัญคือ แยกประเภทพนักงานให้ในระบบ ทั้งกลุ่มพนักงานประจำ และ Freelance

สรุป

จะเห็นได้เลยว่า การจัดการข้อมูลพนักงานในระบบ HR ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่มีการแยกข้อมูลเอาไว้อย่างชัดเจน มีการวางระบบเอาไว้ตั้งแต่แรก และการใช้โปรแกรมงานบุคคลของทาง SMEMOVE ยังช่วยให้การเก็บข้อมูลพนักงานปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการใช้ Google Cloud ที่มีความปลอดภัยสูง มากกว่าการเก็บข้อมูลในรูปแบบกระดาษในแฟ้มประวัติพนักงาน และที่สำคัญคือ เป็นโปรแกรมที่ใช้งานควบคู่กับโปรแกรมบัญชีออนไลน์ได้ในระบบเดียว

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE