ในทุก ๆ เดือน สิ่งที่ HR หรือ ฝ่ายบุคคล ต้องทำกันเป็นประจำคือ การคำนวณเงินเดือน ภาษี ประกันสังคม และรายรับรายต่างต่าง ๆ ของพนักงาน โดยในปัจจุบันการออกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเงินเดือน ก็มีให้เลือกใช้ทั้ง Payroll และ Salary ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ก็จะมีทั้งความเหมือนและแตกต่างกัน เพราะฉะนั้น มาทำความรู้จักกันว่าการทำเงินเดือนระหว่าง Salary กับ payroll ต่างกันอย่างไร แล้วองค์กรควรใช้แบบไหน ให้ตอบโจทย์กับรูปแบบของธุรกิจ
Payroll คืออะไร?
Payroll คือ ระบบบัญชีเงินเดือน ที่จะมีข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเดือนของพนักงานแต่ละคน ซึ่งข้อมูลจะไม่ได้มีเพียงแค่ฐานเงินเดือนเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึง ภาษี ประกันสังคม รายรับรายจ่าย ฯลฯ โดยการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานที่ใช้ Payroll จะใช้บริการจากทางธนาคาร ที่จะนำจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานโดยอัตโนมัติในทุก ๆ เดือน
ส่วนประกอบและข้อมูลที่มีใน Payroll
สำหรับข้อมูลและส่วนประกอบที่มีอยู่ใน Payroll จะมีการเก็บข้อมูลหลัก ๆ 2 ประเภท คือ การบันทึกเวลาการทำงาน และการคำนวณการจ่ายและหักเงินของพนักงาน ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทหรือองค์กรนั้น ๆ ต้องการระบุข้อมูลอะไรบ้างลงใน Payroll
- การบันทึกเวลาทำงานของพนักงานแต่ละคน โดยจะมีทั้งการเริ่มงาน การเลิกงาน วันลาที่ใช้ไป จำนวนวันที่มาสาย ฯลฯ โดยวิธีการเก็บข้อมูลสามารถใช้ได้ทั้งการเซ็นชื่อ ตอกบัตร การสแกนลายนิ้วมือ การใช้ QR Code หรือแอปบันทึกข้อมูล ซึ่งข้อมูลการทำงานจะช่วยให้คำนวณ OT ได้ด้วย
- การคำนวณการจ่ายและหักเงินพนักงาน โดยจะแบ่งออกเป็น ข้อมูลรายได้ที่ควรจะได้รับ โดยรวมทั้งฐานเงินเดือน, ค่าคอม, โบนัส, OT, ค่าเดินทาง และค่าโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังบันทึกข้อมูลรายการหักของพนักงานเช่นกัน อาทิ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินเดือน, ประกันสังคม, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กยศ. และ กรอ. เป็นต้น
Salary คืออะไร?
Salary คือ เงินเดือน หรือ ค่าแรง ที่ได้จากการทำงานของพนักงาน โดยเป็นการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยการจ่ายค่าจ้างจะเป็นการให้จำนวนที่คงที่ในทุก ๆ เดือน ซึ่งปกติแล้วผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดทำ Salary ก็คือ HR หรือ ฝ่ายบุคคล โดยรูปแบบการจ่ายเงินเดือนมีทั้งแบบการจ่ายเงินสด และการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารให้กับพนักงานโดยตรง
ความแตกต่างระหว่าง Salary กับ Payroll
1. หน้าที่และการจัดการ
- Payroll มีข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเงินเดือน ครอบคลุมรายรับและรายจ่ายทุกรายการ
- Salary ข้อมูลการจ่ายเงินเดือนในทุก ๆ เดือน ตามที่ได้ตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
2. รูปแบบการจ่ายเงินให้พนักงาน
- Payroll ใช้บริการจากทางธนาคาร โดยจะนำจ่ายให้แบบอัตโนมัติ
- Salary เป็นเงินสดหรือว่าเงินโอนให้พนักงาน ส่วนมากแล้ว HR จะเป็นผู้ดำเนินการ
“บริษัทหรือองค์กรที่เลือกใช้ระบบบัญชีเงินเดือน Payroll นอกจากจะมีระบบการจัดการด้านเงินเดือนที่ดีแล้ว ยังช่วยลดภาระให้กับเข้าของกิจการ และทำให้ HR ทำงานได้ง่ายขึ้น ลดความผิดพลาดได้มากกว่า Salary เพราะใช้ระบบการจ่ายเงินของธนาคารโดยตรง ที่สำคัญ พนักงานได้เงินตรงเวลาทุกเดือน”
ข้อดีของการใช้ Payroll สำหรับธุรกิจยุคใหม่
ปกติแล้วระบบบัญชีเงินเดือน หรือ Payroll นั้น ไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น ที่สามารถใช้ระบบดังกล่าวในการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานได้ เพราะเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการ สามารถใช้บริการ Payroll กับทางธนาคารที่ต้องการได้เลย โดยบางธนาคารจะมีโปรแกรมเงินเดือน Payroll ที่สามารถจัดการการโอนเงินได้แบบง่าย ๆ เช่น การโอนเงินแบบกลุ่ม เพียงใช้คำสั่งเดียวผ่านการทำธุรกรรมทางออนไลน์
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ก็สามารถใช้โปรแกรมเงินเดือน Payroll ได้ตามเหมาะสม ซึ่งการใช้ระบบเงินเดือน Payroll นอกจากจะสะดวกสบายและมีความแม่นยำเรื่องข้อมูลแล้ว ยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งช่วยลดความผิดพลาดในการออกเอกสารได้ ซึ่งรวมไปถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษี และที่ขาดไม่ได้คือ ทำให้องค์กรหรือบริษัทมีความน่าเชื่อถือจากระบบการจัดการเงินเดือนที่มีมาตรฐาน แม่นยำ และมีข้อมูลครบถ้วน
ทำเงินเดือนแบบง่าย ๆ ด้วยโปรแกรมเงินเดือน Payroll ใหม่ล่าสุด
สำหรับธุรกิจ SMEs หรือ Star Up ที่ต้องการทำระบบบัญชีเงินเดือนด้วย โปรแกรมเงินเดือน Payroll ที่มีมาตรฐาน สามารถใช้งานร่วมกับระบบ HR ได้โดยตรง ไม่ต้องใช้หลายโปรแกรมให้เหนื่อย สามารถเลือกใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ SMEMOVE ได้แล้ววันนี้ โดยเรามีการออกแบบระบบบัญชีให้ใช้งานง่าย และครอบคลุมทุกความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีบริการทั้งการออกเอกสารทางธุรกิจทุกประเภท การจัดการข้อมูลของพนักงานในองค์กรด้วยระบบ HR และที่สำคัญคือ มีโปรแกรม Payroll ให้ใช้ในโปรแกรมเดียว
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE