ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการที่ทำการจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือให้บริการ จะต้องจัดทำ หรือออกให้กับลูกค้าเมื่อได้ทำการซื้อขายสินค้าและบริการออกไปตามที่กฎหมายกำหนด แต่รูปแบบของใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินนั้นถูกแบ่งออกมาเป็น 2 ประเภทคือ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็ม และใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ โดยทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกันทั้งรูปแบบ และการใช้งาน
ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษีแบบเต็ม
ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็ม เป็นรูปแบบการออกภาษีที่สามารถใช้เป็นเอกสารสำหรับแสดงหลักฐานสำคัญในการยื่นภาษี ผู้ที่มีหน้าที่ในการออกใบกำกับภาษีคือผู้ให้บริการ หรือผู้ที่ขายสินค้า ที่จะต้องออกใบเสร็จ หรือใบกำกับทุกครั้งหลังทำการซื้อขายสินค้า หรือบริการออกไปให้แก่ลูกค้า หรือผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ส่วนประกอบสำคัญของใบกำกับภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 86/4) มีทั้งหมด 8 ส่วนคือ
- คำว่า “ใบกำกับภาษี”
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้าหรือบริการ
- ชื่อที่อยู่ของผู้ขายสินค้าหรือบริการ
- ชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า และบริการ
- ตัวเลขหรือใบกำกับภาษีที่ออกจากใบกำกับภาษี
- วันที่ที่ทำการออกใบกำกับภาษี
- รายละเอียดของสินค้าและบริการที่ออกใบกำกับภาษี (ชื่อประเภทประเภทปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือบริการ)
- จำนวนของภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ทำการคำนวณมาจากจำนวนเงินที่ต้องทำการจ่ายค่าสินค้าหรือบริการจริง
ตัวอย่างใบเสร็จ / ใบกำกับภาษีแบบเต็ม
ใบเสร็จ / ใบกำกับภาษีแบบเต็มควรนำมาใช้ในกรณีใดบ้าง
โดยทั่วไปการซื้อสินค้าหรือบริการทั่วไปนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องออกใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีแบบเต็ม ยกเว้นแต่จะนำไปใช้งานในกรณีต่อไปนี้
- นำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบหรือองค์กร
- นำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงหรือมีบริการหลังการขาย
- ในกรณีที่ซื้อสินค้าและบริการเพื่อการค้าที่ต้องการจะนำเข้าและส่งออกไปประเทศจีนขอให้คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ใบเสร็จ / ใบกำกับภาษีแบบย่อ
เป็นอีกหนึ่งในรูปแบบของการทำใบเสร็จ/ใบกำกับภาษี ที่สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ เมื่อทำการซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้า และใบกำกับภาษีอย่างย่อก็ถือว่าเป็นเอกสารสำคัญอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถออกให้กับผู้ที่ซื้อสินค้าได้ทันที การออกใบเสร็จแบบย่อมักถูกใช้ในกิจการที่ทำการค้าปลีก ขายสินค้าที่มีราคาไม่แพงมากนัก หรือขายให้กับบุคคนทั่วไปหลายๆ คน
กิจการที่สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อจำเป็นจะต้องทำเรื่องเพื่อขออนุญาตใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากรเสียก่อน โดยการขออนุญาตนั้นสามารถยื่นขอได้ตามสรรพากรในพื้นที่ที่คุณเปิดกิจการร้านค้า หากมีสาขาก็จำเป็นจะต้องทำการยื่นขออนุญาตเป็นรายสาขาด้วยเช่นกัน
ใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่สามารถนำไปขอคืนภาษีได้ ซึ่งจะมีลักษณะการใช้งานแต่กต่างกับใบกำกับภาษีที่เต็มรูปแบบ ในกรณีที่ผู้ซื้อหรือลูกค้าต้องการยื่นขอคืนภาษีกิจการมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบให้กับผู้ซื้อ เพื่อให้เขาสามารถนำไปยื่นขอคืนเงินภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
กิจการแบบใดที่เหมาะกับการออกใบเสร็จ / ใบกำกับภาษีแบบย่อ
กิจการที่เหมาะกับการออกใบเสร็จอย่างย่อนั้น จะต้องเป็นกิจการรในระบบ VAT มีลักษณะเป็นการค้าปลีก หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นการค้าที่ทำกับประชาชนโดยตรงไม่ผ่านคนกลาง กิจการที่มีรูปแบบการค้าปลีกนั้นก็มีหลากหลายกิจการไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำ รายขายยา และอื่นๆ อีกมากมาย
นอกเหนือจากการกิจการที่ขายสินค้าให้กับประชาชนโดยตรงแล้ว กิจการที่ขายบริการก็สามารถทำการออกใบเสร็จอย่างย่อได้เช่นกัน โดยกิจการที่ให้บริการและเหมาะกับการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อก็มีอยู่หลายกิจการ ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร ร้านสปา โรงแรม โรงภาพยนตร์ หรือจะเป็นกิจการที่รับซ่อมแซมสิ่งต่างๆ ก็ได้เช่นกัน
ตัวอย่างใบเสร็จ / ใบกำกับภาษีแบบย่อ
ถ้าคุณยังสงสัยในใบเสร็จแบบเต็มและใบเสร็จแบบย่ออยู่ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่โปรแกรมบัญชี SMEMOVE ที่ง่าย สะดวก และราคาหยัด เพราะสามารถทดลองและศึกษาได้ฟรีตลอดชีพ สนใจกดตามลิงก์ด้านล่างได้เลย
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE