10 เทรนด์ใหม่วิถี New Normal ของคนไทยหลังพ้นภัยโควิด

By posted on June 24, 2020 10:00AM

อย่างที่ทุกคนทราบกันอยู่แล้วว่าหลังจากที่ไวรัสโควิด-19 ระบาดหนักในประเทศไทย วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนแปลงไปในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการดำเนินชีวิต ดังนั้นวันนี้ SMEMOVE จะพาทุกคนมาพบกับ 10 เทรนด์ใหม่วิถี New Normal ของคนไทยหลังพ้นภัยโควิด ว่าจะต้องรับมือกันอย่างไร ทั้งในแง่มุมพฤติกรรมการใช้ชีวิต การอยู่อาศัย เทคโนโลยี การเดินทาง การทำงาน และการดูแลสุขภาพ ตลอดจนแนวโน้มของนโยบายภาพใหญ่ของรัฐบาลที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่จะมีอะไรกันบ้างตามมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

1. Social Structure

โครงสร้างทางสังคมรูปแบบใหม่ที่จะมีการออกกฎหมายที่ใช้ร่วมกันทั่วโลกในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัย ไปจนถึงเรื่องของเทคโนโลยี IOT Infrastructure เนื่องจากผู้คนจะหันมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลให้ผู้คนยอมให้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อที่จะปกป้องสุขภาพ ทรัพย์สินของตัวเอง และครอบครัวมากยิ่งขึ้น

2. Resilience & Agile by Force

ความร่วมมือระหว่างองค์กร และอุตสาหกรรมจะมีมากขึ้น รัฐและองค์กรธุรกิจต่างๆ จะสามารถใช้โอกาสนี้ในการจัดการการเรียนการสอนอบรมผ่านออนไลน์ฟรีให้กับแรงงาน หรือการกำหนดระเบียบการทำงานที่ลดการใช้ทรัพยากรได้มากขึ้น

3. Global Emotional Crisis & Touchless Society

ปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพจะมีระยะห่างมากขึ้นอย่างที่เด็กรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตมาด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคมไม่ใช้วิธีการทักทายแบบจับมือหรือกอดกันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันไม่สามารถทำได้ดังเดิม จึงทำให้การปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพมีระยะห่างกันออกไปเรื่อยๆ

ส่งผลในเรื่องของอารมณ์ในแง่ของความใส่ใจ และความห่วงใยในอนาคตอย่างวัยทำงานที่นิยม Co–Working Space ก็อาจจะมีปรับพื้นที่ในรูปแบบ Sharing Space With Boundary หรือมีการแบ่งแยกพื้นที่ของตัวเองมากขึ้น และการออกแบบพื้นที่บริการแบบไม่ต้องสัมผัส แต่ใช้ voice recognition หรือ AR แทน

4. Public Space / Indoor Technology with Health Factor

ศูนย์การค้าจะต้องปรับตัวมีการวางแผนรับมือ และสร้างเครื่องมือต่างๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อย่างการวางระบบฆ่าเชื้อที่จะมีความสำคัญไม่แพ้การวางระบบแอร์ น้ำ ไฟ ภายในศูนย์การค้า ซึ่งอาจมีการกำหนดมาตรฐานระบบ clean air quality ในอาคารขึ้นมาในอนาคต

5. Prioritizing Space Over Convenience

วิถีความคิดในการซื้อที่อยู่อาศัยจะเปลี่ยนไป เมื่อสามารถทำงานที่บ้านได้ เพราะไม่จำเป็นต้องเดินทางไปทำงานทุกวัน จึงส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัย ว่าไม่จำเป็นจะต้องอยู่อาศัยในเมือง ติดรถไฟฟ้า แต่อาจปรับเปลี่ยนเป็นบ้านนอกเมืองที่มีพื้นที่มากขึ้น ตลอดจนการปรับเปลี่ยนบ้านพักตากอากาศมาใช้อาศัยประจำแทน

6. Everything At Home

เศรษฐกิจติดบ้านเพราะโรคระบาดทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป เริ่มเคยชินกับการอยู่อาศัยภายในบ้าน ทำงานในบ้าน และทำกิจการต่างๆ ในบ้านของตนเอง ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการที่พักอาศัยที่อาจจะเปลี่ยนไป เพราะต้องการพื้นที่ที่สามารถทำอะไรได้หลายหลากมากยิ่งขึ้น

7. Proactive Healthcare Platform

แพลตฟอร์มการดูแลสุขภาพและการป้องกันความเจ็บป่วยจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นโครงสร้างพื้นฐานของเมือง อาคาร บ้านจะต้องมีบริการแพลตฟอร์มสุขภาพ และสุขภาพจิตเป็นบริการพื้นฐาน

8. Last mile & next hour logistic

พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนจะเปลี่ยนแปลงไปทำให้ระบบการขนส่งระยะสั้นแบบ 1 กิโลเมตร และการจัดส่งแบบรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง จะเป็นที่ต้องการ และมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น

9. Wearable Device – Prioritizing Health & Safety Over Privacy

ผู้บริโภคจะยอมเปิดเผยข้อมูล หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อแลกกับความปลอดภัยที่มีมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เจาะลึกถึงข้อมูลมากยิ่งขึ้น สามารถดูได้ว่า ณ วันนี้ สถานที่ที่เราอยู่ ณ ตรงนี้ มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะเป็นประเด็นในเรื่องของความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวด้วย

10. Super Food & Food Supply Chain Transparency To Personal Food Supply

ผู้บริโภคจะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ เมื่อซื้อสินค้าจะคำนึงถึงมาตรฐาน ความปลอดภัย และมีความสะอาดก่อนนำมาปรุง ตลอดจนผู้คนจะหันมาทำฟาร์มขนาดเล็กในเมืองเพื่อผู้บริโภคเองมากขึ้น

และนี่ก็เป็นข้อมูลดีๆ จากศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ทำการศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่ออนาคต เพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับมนุษยชาติ ภายใต้บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่นที่ SMEMOVE ได้นำมาฝากในวันนี้ หากใครอ่านจนจบก็อย่าลืมนำความรู้ดีๆ เหล่านี้ไปปรับใช้ และเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตกันดูนะคะ

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE