ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร และมีกี่ประเภทที่เจ้าของกิจการต้องรู้?

By posted on August 16, 2019 9:25AM

 

 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่ถูกหักเมื่อต้องทำการจ่าย โดยผู้ที่มีหน้าที่ในการหักและส่งมอบภาษีคือคนที่ทำการจ่ายเงิน ซึ่งผู้หักจะต้องทำการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคล และคนรับเงินก็มีหน้าที่ในการถูกภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเงินจะเป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แต่การหักภาษี ณ ที่จ่ายจะมีเปอร์เซ็นการหักที่แตกต่างกัน ตามรูปแบบของกิจการ หรือบริการดังนี้

หัก 1 % สำหรับค่าขนส่ง

การหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จะต้องเป็นกิจการบริษัท หรือนิติบุคคลที่มีรูปแบบการดำเนินงานคือการให้บริการที่ทำการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง เช่นบริการขนส่งสินค้าจากบริษัท โลจิสติกส์ ยกเว้นการขนส่งไปรษณีย์ไทยที่ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐบาล

หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา

การหัก ณ ที่จ่าย 2% จะเป็นการหักในงานประเภทโฆษณาอย่างการโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์ วิทยุ ตลอดจนการโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ การหัก ณ ที่จ่าย 2% รูปแบบนี้จะไม่สามารถทำการหักได้ในกรณีการจ้างงาน Blogger เพื่อรีวิวแบรนด์ หรือโฆษณาสินค้า

หัก ณ ที่จ่าย 3% สำหรับจ้างแบบรับเหมา

กรณีหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% จะอยู่ในงานจ้างแบบรับเหมา หรือการจ้างทำงานบริการรูปแบบต่างๆ อย่างเช่นการจ้างช่างถ่ายรูป การจ้าง Blogger เพื่อรีวิวแบรนด์ หรือโฆษณาสินค้าที่ถือว่าเป็นการให้บริการเช่นกัน

หัก ณ ที่จ่าย 5%

การหัก ณ ที่จ่าย 5% จะเป็นการหักในค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่ารถยนต์ รวมถึงค่าจ้างนักแสดง และเงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่างๆ แต่การหัก ณ ที่จ่าย 5% จะถูกยกเว้นในกรณีที่เช้ารถ พร้อมคนขับที่จะถือว่าเป็นการบริการ

หัก ณ ที่จ่าย ไม่เกิน 1,000

ในกรณีที่ทำการซื้อ ขาย เช่า บริการต่าง ๆ แต่มียอดไม่เกิน 1,000 บาท ทางสรรพากรได้กำหนดไว้ว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ยกเว้นแต่กรณีที่ยอดไม่ถึง 1,000 บาท แต่มีการวางสัญญาไว้ต่อเนื่อง อย่างเช่น ค่าบริการโทรศัพท์ ค่าบริการอินเทอร์เน็ตแบบรายเดือนที่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้

ถ้าคุณสับสนการทำภาษีหัก ณ ที่จ่าย เรามีทางออกให้คุณ นั่นก็คือ โปรแกรมบัญชี SMEMOVE ที่จะช่วยให้การทำบัญชีและภาษีของคุณนั้นสะดวก ง่าย และที่สำคัญราคาประหยัดขึ้นอีกด้วย สนใจทดลองใช้งานฟรีตามลิงก์ด้านล่างได้เลย

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE