คำว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” นับเป็นคำที่ผู้บริโภคต่างก็ได้ยินกันเป็นประจำ โดยเฉพาะการเข้าไปใช้บริการ หรือเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ที่จะมีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่บ่อยครั้ง เพราะฉะนั้น ทาง SMEMOVE จะพาคุณไปทำความรู้จักกับภาษีดังกล่าวนี้ให้ให้มากขึ้น ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร เก็บจากไหน พร้อมวิธีขอจด VAT สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ฉบับเข้าใจง่าย
ทำความรู้จัก “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” คืออะไร?
สำหรับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) คือ การเรียกเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือบริการ ในแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการนั้น ๆ โดยรวมทั้งการผลิตในประเทศและการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งอัตราการจัดเก็บในประเทศไทยก็คือ 7% เราจึงคุ้นชินกับคำว่า VAT 7% หรือ หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% นั่นเอง
โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิต หรือผู้ขายสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็น การประกอบกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือแม้แต่นิติบุคคลใด ๆ ก็ตาม โดยจะยึดจากรายรับจากการขายสินค้าหรือบริการ ที่มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี นั่นหมายความว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ต้องดำเนินการยื่นขอจดภาษีมูลค่าเพิ่ม กับทางกรมสรรพากรให้เรียบร้อย หรือในกรณีที่รายได้ไม่เกินก็สามารถยื่นขอจด VAT ได้เช่นกัน
ทำความเข้าใจ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” ให้มากขึ้น คลิก!
สูตรลัดฉบับง่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดยังไง ต้องดูอะไรบ้าง?
โดยวิธีการคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดยังไง บ้างนั้น จะเป็นการคำนวณจากการใช้ภาษีขายและภาษีซื้อ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มกับทางกรมสรรพากร ว่าสุดท้ายแล้วต้องชำระเพิ่มเติมหรือสามารถขอคืนได้ โดยสูตรคำนวณคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
- ภาษีขาย > ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ
- ภาษีขาย < ภาษีซื้อ = ภาษีที่มีสิทธิขอคืนหรือขอเครดิตภาษี
หมายเหตุ : ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้เรียกเก็บ หรือพึงเรียกจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ และ ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขาย หรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้จดทะเบียน VAT
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ต้องใช้อะไรยื่นกับกรมสรรพากรบ้าง?
วิธีขอจด VAT หรือ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องใช้แบบคำขอ หรือก็คือ แบบ ภ.พ.01 โดยเขตกรุงเทพมหานคร สามารถขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ส่วนจังหวัดอื่น ๆ สามารถขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง ซึ่งในการยื่นขอจด VAT ต้องใช้ทั้ง เอกสารเปิดบริษัท และเอกสารรายการอื่น ๆ ด้วย ได้แก่
- แบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับสำเนาทะเบียนบ้าน หรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- ภาพถ่ายสัญญาเช่าอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการ หรือหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ การขอเช่า ฯลฯ
- หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
- หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์
- หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ
- ใบทะเบียนพาณิชย์
- บัตรประจำตัวประชาชน ของกรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ลำเนาทะเบียนบ้าน
- แผนที่ตั้งที่แสดงที่ตั้ง ของสถานประกอบการโดยสังเขป
ทั้งนี้ การขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT จะต้องแนบพร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว (สำเนา) และในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจทุกครั้ง และผู้รับมอบอำนาจจะต้องมีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ถึงจะสามารถดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้
หน้าที่สำคัญ ที่ผู้ประกอบการต้องทำเมื่อจดทะเบียน VAT
เมื่อมีการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ไปแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้
- การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ พร้อมออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง
- การจัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
- ยื่นแบบแสงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30
ข้อดี-ข้อเสีย ของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ถึงแม้ว่าการยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะสามารถดำเนินการได้ง่าย ๆ และไม่มีความยุ่งยาก แต่ก็มีข้อดีและข้อเสียที่แฝงอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะข้อเสียคือ ต้องมีการยื่นรายงานภาษีซื้อ-ขายทุกเดือน และต้องมีความรู้เกี่ยวกับใบกำกับภาษีด้วย นั่นหมายความว่า ฝ่ายบัญชีหรือผู้ที่รับผิดชอบบัญชี จะต้องมีความรัดกุมเรื่องการทำ เอกสารทางธุรกิจ และการดำเนินการยื่นภาษีในทุก ๆ เดือน
และที่สำคัญคือ ในกรณีที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% ไปแล้วต้องการยกเลิก จะต้องยื่นแบบภาษีอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปี โดยที่รายได้จะต้องไม่เกิน 1.8 ล้าน ถึงจะมีสิทธิ์ในการขอออกจากการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ และในระหว่างที่ยื่นขอออก ถ้ายังไม่รับการอนุมัติก็ยังคงต้องยื่นแบบต่อไป จนกว่าจะนำชื่อออกอย่างเป็นทางการ
ส่วนข้อดีของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ สามารถยื่นขอภาษีคืนได้ มีการบริหารและการจัดการบัญชีที่เป็นระบบ กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และอีกหนึ่งข้อดีก็คือ ทำให้ธุรกิจหรือกิจการมีโอกาสในการทำธุรกิจที่มากขึ้น เพราะลูกค้าสามารถขอใบกำกับภาษีได้นั่นเอง เช่น หากเป็นร้านอาหาร ก็สามารถออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าที่ต้องการเบิกได้ เมื่อมีการกินเลี้ยงภายในบริษัท เป็นต้น
How-To วิธีคิด VAT 7% สำหรับการซื้อสินค้าหรือบริการ
หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการคำนวณภาษีกันไปบ้างแล้ว ทาง SMEMOVE ก็จะมาแนะนำสูตรง่าย ๆ ในการคิด VAT 7% จากการซื้อสินค้าและบริการ เพื่อให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการสามารถนำไปเป็นแนวทางในการคำนวณเพิ่มเติมได้ โดยวิธีดังกล่าวนี้จะทำให้เรารู้ว่า ราคาก่อน VAT คือเท่าไหร่ แล้วราคารวม VAT 7% แล้วคือเท่าไหร่บ้าง
Tips: สูตรคิด VAT เพิ่มเติมด้วยเครื่องคิดเลข ราคาสินค้า/บริการ x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เรียกได้ว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% นั้น เป็นเรื่องใกล้ตัวเรามาก ๆ ทั้งในแง่ของการเป็นผู้บริโภค หรือแม้แต่ผู้ประกอบการเองก็ตาม เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าใจความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่มกันไปแล้ว ก็อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อม โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อยากจด VAT ที่ต้องยื่นรายงานภาษีซื้อ-ขาย และแบบแสดงรายการ เพื่อเสียภาษีกับทางกรมสรรพากร
ส่วนใครที่อยากจะทำเอกสารทางธุรกิจแบบง่าย ๆ อย่าลืมให้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ SMEMOVE เป็นตัวช่วยในการดำเนินการด้านเอกสารต่าง ๆ รับประกันความง่ายและการใช้งาน ที่ครอบคลุมทุกความต้องการ ด้วยการออกแบบมาเพื่อชาว SME มือใหม่โดยเฉพาะ
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE