ในสัปดาห์ที่ 2 ของการเรียนรู้นั้นจะเน้นเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาธรรมดาที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ โดยการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดั้งเดิมจำนวนมากที่มองหาช่องทางในการเข้าสู่ธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของช่องทางที่ผู้ประกอบธุรกิจแบบดั้งเดิมจะเลือกใช้เมื่อก้าวเข้าสู่การประกอบการแบบอีคอมเมิร์ซ
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการกระจายออนไลน์หลายช่องทางสำหรับการทำธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซ การเลือกแพลตฟอร์มเทคโนโลยีในการสร้างร้านค้าในรูปแบบเว็บไซต์ และตัวชี้วัดกุญแจสำคัญทางธุรกิจที่จำเป็นจะต้องยึดไว้ในการใช้งาน
1. เกณฑ์สำหรับการเลือกตลาดออนไลน์ที่ถูกต้อง
โดย RAPHAEL GAILLOT ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ในระดับภูมิภาคของ ACOMMERCE
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจะมีลักษณะการค้าขายแบบอีคอมเมิร์ซทั้งหมดอยู่ 4 รูปแบบ ด้วยกันดังต่อไปนี้
- การสร้างเว็บไซต์สำหรับแบรนด์ของตัวเองออกมาโดยเฉพาะ เช่น www.kfc.co.th
- การวางจำหน่ายผ่านทางตลาดออนไลน์ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว เช่น Lazada หรือ Shopee ซึ่งในเมืองไทยเรานั้นถือได้ว่านิยมช่องทางนี้เป็นอย่างมากในการเริ่มต้นสร้างแบรนด์อีคอมเมิร์ซ
- e-retailer
- ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, LINE, Instagram และอื่น ๆ
สำหรับการเลือกช่องทางในช่วงเริ่มต้นนั้น คุณ Raphael ได้แบ่งปันหลักการเลือกดังรูปต่อไปนี้
แน่นอนว่าการเลือกรูปแบบการทำธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซนั้นจะมีส่วนสำคัญที่สุดที่คุณจำเป็นจะต้องพิจารณาร่วม ซึ่งนั่นก็คือกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ของคุณว่าต้องการที่จะให้เป็นกลุ่มผู้บริโภคแบบใด ปัจจุบันเราจะเห็นค่อนข้างชัดเจนเลยว่าการเลือกช่องทางการวางจำหน่ายนั้นจำเป็นอย่างมากในการเปิดตัว อีกปัจจัยที่คุณจะลืมไม่ได้เลยก็คือต้นทุนของช่องทางการวางจำหน่ายนั้น ๆ ว่าเหมาะสมกับงบประมาณของบริษัทที่คุณจัดเตรียมไว้หรือไม่
2. การเลือกเทคโนโลยีที่ถูกต้องสำหรับร้านค้าในรูปแบบเว็บไซต์
โดย MANDY ARBILO ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพัฒนาเว็บระดับภูมิภาคของ ACOMMERCE
ทั้งนี้ การเลือกร้านค้ารูปแบบเว็บไซต์สำหรับการค้าขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซนั้นจะขึ้นอยู่กับประเทศที่ธุรกิจของคุณต้องการจะเปิดตลาด แน่นอนว่าความสมบูรณ์ของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีให้คุณเลือกใช้นั้นจะแตกต่างกันออกไปตามระดับของตัวแพลตฟอร์มนั้น ๆ ทว่า สิ่งหนึ่งที่แพลตฟอร์มต่าง ๆ นั้นมีเหมือนกันและถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเลือก นั่นก็คือการทำให้ลูกค้าคงอยู่ และใช้บริการผ่านทางแพลตฟอร์มนั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง
ในจุดนี้คุณ Mandy ได้อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ผ่านระดับความสำคัญ 5 ระดับ ประกอบด้วย
โดยทั้ง 5 ระดับ ดังกล่าวนั้นสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
- Discovery (การค้นพบ) – SEO/SEM, พันธมิตรในการค้า และอื่น ๆ
- Consideration (การตัดสินใจ) – รายละเอียดสินค้า ภาพฝันที่สวยงาม และอื่น ๆ
- Conversion (การเปลี่ยนแปลง) – โปรโมชัน ส่วนลด และอื่น ๆ
- Loyalty (การสร้างความผูกพัน) – คะแนนการซื้อ การมีรายการสินค้าที่ต้องการ และอื่น ๆ
- Advocacy (การสนับสนุน) – การให้รางวัลในการซื้อขาย การรีวิวผลิตภัณฑ์โดยผู้บริโภค และอื่น ๆ
“การจัดส่งสินค้าถึงมือผู้รับอาจจะเป็นจุดสุดท้ายของการขาย แต่ในความเป็นจริงแล้วการขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซยังมีอย่างอื่นที่ต้องทำต่ออีกมากมาย”
การค้าขายในรูปแบบปกติที่ลูกค้าเข้าร้านแล้วเลือกซื้อสินค้าโดยมีการทดสอบก่อนจ่ายเงินนั้น เมื่อลูกค้าจ่ายเงินเสร็จแล้ว ก็ถือว่าการซื้อขายเป็นการจบสิ้น ทว่า การขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ได้เป็นเช่นนั้น สิ่งหนึ่งที่จำเป็นจะต้องทำก็คือการทำให้ลูกค้ากลับมาซื้ออีกครั้งผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีตัวอย่างมากมายให้คุณศึกษา อย่างเช่น ทาง Lazada จะมีการประกันสินค้าโดยทาง Lazada เองเป็นระยะเวลา 7 วัน เพื่อที่จะส่งสินค้าคืนหากสินค้ามีปัญหา โดยทาง Lazada ยังเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดส่งสินค้าคืนให้ด้วย หรืออย่าง Shopee เองจะมีการให้ Coin สำหรับการสั่งซื้อในแต่ละครั้ง เพื่อที่จะดึงผู้ใช้กลับมาซื้อสินค้ากับทาง Shopee ต่อ โดยสามารถใช้ Coin ดังกล่าวเป็นส่วนลดได้ เป็นต้น
3. วิเคราะห์เพื่อติดตามการขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ
โดย MARIE ENAUD ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าการจัดการเชิงพาณิชย์ระดับภูมิภาคของ ACOMMERCE
“ในตลาดสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ผู้จัดการร้านจะเลือกนำเอาไข่วางไว้ใกล้กับนม เพราะเป็นเรื่องปกติที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าทั้ง 2 อย่างไปพร้อมกัน ไม่ต่างอะไรกับการขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ”
สำหรับการวางจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์นั้น สิ่งหนึ่งที่มีความเหมือนกันกับการขายในร้านดั้งเดิมก็คือการจัดวางสินค้าที่ผู้ใช้มักจะซื้อเอาไว้ใกล้ ๆ กัน เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถหาซื้อสินค้าได้อย่างสะดวก ดังนั้น ข้อมูลที่เราจะนำมาใช้ในการพิจารณาว่าควรจะนำสินค้าใด ๆ มาแสดงผลหรือจัดไว้ในกลุ่มเดียวกันบ้างนั้นก็ไม่แตกต่างกันเท่าไร อย่างเช่น ข้อมูลสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อมากเป็นพิเศษ เวลาที่ผู้บริโภคเข้ามาซื้อสินค้า ลักษณะชนิดของสินค้าที่ผู้บริโภคนิยมซื้อไปด้วยกัน เป็นต้น ซึ่งทาง Lazada เองได้มีการแบ่งปันข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้บางส่วนออกมาดังรูปกราฟต่อไปนี้
อย่างไรก็ตาม เรื่องการเก็บข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องกระทำด้วยความรวดเร็วให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และสิ่งหนึ่งที่ควรจำไว้เลยก็คือข้อมูลที่คุณเก็บจากการวางจำหน่ายสินค้าตามร้านนั้น บางข้อมูลไม่สามารถนำมาใช้กับการตลาดในรูปแบบช่องทางอีคอมเมิร์ซได้
ที่มา : eIQ Insights
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE