การเตรียมตัวยื่นภาษีบุคคลธรรมดา และสรุปรายการลดหย่อนภาษี 2563

By posted on February 10, 2020 4:07PM

ในช่วงต้นปีแบบนี้หลายๆ คงกำลังจะเตรียมการ และวุ่นวายอยู่กับเรื่องราวของการ ยื่นภาษี อยู่เป็นแน่ โดยเฉพาะเหล่ามือใหม่ที่ต้องทำการยื่น ภาษีบุคคลธรรมดา เป็นครั้งแรก อาจจะยังคงติดปัญหา และเกิดคำถามมากมาย เมื่อต้องทำเอกสารในการยื่นภาษีอยู่ ดังนั้นในวันนี้ SME MOVE จะขอพาทุกคนมาพบกับวิธีการเตรียมตัวในการยื่นภาษีบุคคลธรรมดา และรู้จักกับรายการลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2563 แต่จะมีอะไรบ้างตามมาดูกันเลย

การเตรียมตัวยื่นภาษีบุคคลธรรมดา

การเตรียมตัวสำหรับยื่นภาษีบุคคลธรรมดาเป็นเรื่องง่ายๆ ที่คุณเพียงแค่ทำความเข้าใจให้ได้ก่อนว่า หากคุณต้องการยื่นภาษี คุณจะต้องทำการยื่นแบบใด เอกสารอะไรที่ควรเตรียมไว้ก่อนทำการยื่นภาษี และในปีที่ยื่นภาษีนั้นๆ มีรายการลดหย่อนใดบ้างที่คุณสามารถนำมาหักออกได้ โดยในส่วนนี้ SME MOVE ขอพาคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบบยื่นภาษีทั้ง 2 แบบก่อนคือ

– แบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากการรับเงินเดือน เช่นรายได้ที่มาจากการค้าขายแบบบุคคลธรรมดา หรือรายได้ที่มาจากเงินปันผล เป็นต้น

– แบบ ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือน และไม่มีรายได้เสริม หรือรายได้อื่นๆ เช่นพนักงานบริษัทที่รายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว

ส่วนเอกสารที่ต้องทำการเตรียมไว้ก่อนการยื่นภาษีคือ

– หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง ที่ถือว่าเป็นเอกสารในการสรุปเงินเดือนที่ได้จากนายจ้างว่าในปีนี้ว่ามีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่างๆ ไปเท่าไหร่

– รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมได้ตลอดทั้งปี

– เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี ที่จะนำมาใช้ในช่วงเวลาทำการหักค่าลดหย่อน เช่นเอกสารกองทุนที่ต้องนำมาดูจำนวนเงินที่ซื้อ จำนวนเบี้ยประกันชีวิต ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า หรือบริการต่างๆ

รายการลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา 2563

ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล และคนในครอบครัว สามารถทำการหักได้ดังนี้

– หักลดหย่อนส่วนตัว ได้ 60,000 บาท

– หักลดหย่อนคู่สมรส ได้ 60,000 บาท

– บุตรหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท คนที่ 2 เป็นต้นไปเพิ่ม 30,000 บาท

– ค่าคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท

– พ่อแม่หักลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท

– ผู้พิการ/ทุพพลภาพ หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท

ค่าลดหย่อนประกันชีวิต และเงินลงทุน สามารถทำการหักได้ดังนี้

– ประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากที่มีประกันชีวิต หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

– ประกันสุขภาพตัวเอง หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท

รวมหักลดหย่อนประกันชีวิตทั่วไป และประกันสุขภาพตัวเอง เข้าด้วยกันแล้ว จำนวนรวมทั้งหมดต้องไปเกิน 1000,000 บาท

– ประกันสุขภาพพ่อ แม่ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

– ประกันสังคม หักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ต้องไม่เกิน 9,000 บาท

– ประกันชีวิตคู่สมรส (กรณีไม่มีเงินได้) หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

– กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF *ยื่นได้ของปี 62 เป็นปีสุดท้าย) หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

– เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ ที่ต้องเสียภาษี หรือ ไม่เกิน 200,000 บาท

– กองทุน กบข.และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน หักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ ไม่เกิน 500,000 บาท

– กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF หักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ ไม่เกิน 500,000 บาท

– กองทุนออมแห่งชาติ (กอช) หักลดหย่อนได้ 13,200 บาท

การหักค่าลดหยอดจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อทำการรวมหักลดหย่อนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว, เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุน กบข.และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF

ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจ

– ซ่อมบ้าน/รถ ที่ประสบภัยพิบัติ สามารถหักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท และซ่อมรถสามารถหักได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท

– ลงทุน Startup หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

– เที่ยวเมืองหลัก หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

– เที่ยวเมืองรอง หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท

การหักลดหย่อนท่องเที่ยวเมืองหลัก และเมืองรองรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 20,000 บาท

– อุปกรณ์การศึกษา/กีฬา/ OTOP/หนังสือ/ช็อปช่วยชาติ หักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

– บ้านหลังแรก หักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท

– ดอกเบี้ยบ้าน หักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

– ค่าธรรมเนียมรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต เพิ่มหักได้ 1 เท่าตามที่จ่ายจริง

ค่าลดหย่อนการบริจาค

– บริจาคพรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท

– บริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สถานพยาบาลของรัฐ การกีฬา และบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ สามารถหักได้ 2 เท่า ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้พึ่งประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆแล้ว

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วทาง SME MOVE หวังว่าทุกคนจะสามารถนำความรู้ และความเข้าใจที่ได้จากบทความนี้ ไปใช้ในการเตรียมตัวยื่นภาษี และทำการคำนวณค่าลดหย่อนภาษีก่อนทำการ ยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ได้เป็นอย่างดี และถ้าหากว่าปีนี้กำลังมองหาโปรแกรมบันทึกบัญชีดีๆ มาใช้งานอยู่ อย่าลืมนึกถึงโปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ของ SME MOVE ด้วยนะคะ

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE