หลังจากดำเนินการจดทะเบียนเปิดบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นิติบุคคลหรือบริษัทจะได้รับ เอกสาร เปิดบริษัท รายการต่าง ๆ โดยลำดับถัดไปก็คือ การเปิดเผย เอกสารเปิดบริษัทใหม่ บางรายการ เพื่อประกอบการทำธุรกิจได้เลย ในขณะที่เอกสารบางรายการก็ต้องดำเนินการจัดเก็บให้เรียบร้อย ซึ่งทาง SMEMOVE จะมาสรุปให้ผู้ประกอบการมือใหม่ดูกันว่ามี เอกสาร จดทะเบียนบริษัท รายการใดบ้างที่ต้องเปิดเผย พร้อมแนะนำ Timeline สำคัญที่ต้องดำเนินการหลังจดทะเบียนบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รวม 3 เอกสาร เปิดบริษัท ที่ต้องเปิดเผยหลังจดทะเบียนนิติบุคคล
โดยปกติแล้วเมื่อดำเนินการจดทะเบียนบริษัท ทางผู้ประกอบการจะได้รับ เอกสาร เปิดบริษัท เพื่อยืนยันการขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคล ที่ทางนายทะเบียนได้รับรองการจัดตั้งบริษัท โดย เอกสารเปิดบริษัทใหม่ ที่ทางนิติบุคคลจะต้องเปิดเผย เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจนั้น มีทั้งหมด 3 รายการ ได้แก่
1. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท และใบทะเบียนพาณิชย์
หลังจากจดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เอกสาร เปิดบริษัท รายการแรกที่จะได้รับก็คือ ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเอกสารเปิดบริษัทใหม่รายการนี้ จะบอกข้อมูลเลขทะเบียนนิติบุคคล ชื่อ วันที่จดทะเบียนบริษัท และสถานที่ออกเอกสารที่ใช้เปิดบริษัท โดยนิติบุคคลจะใช้เอกสารที่เป็นสำเนา หรือจะใช้ เอกสาร จดทะเบียนบริษัท DBD ซึ่งเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนก็ได้
โดยในส่วนของ “ใบทะเบียนพาณิชย์” จะเป็นเอกสารที่ใช้บอกผู้ใช้บริการหรือลูกค้าว่า ธุรกิจของเราดำเนินการในด้านใด และใช้ชื่อใดในการประกอบพาณิชยกิจ นอกจากนี้ ยังบอกที่ตั้งสำนักงานใหญ่ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น ใบทะเบียนพาณิชย์จึงเป็นอีกหนึ่ง เอกสาร เปิดบริษัท ที่สามารถเปิดเผยได้หลังจดทะเบียนขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้ว
2. เอกสารการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.ธ.20)
โดยปกติแล้วการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จะแยกกับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกกันว่าการจด VAT โดยปกติแล้วธุรกิจที่จะต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีวิธีการพิจารณาหลัก ๆ คือ การดูประเภทของธุรกิจว่าได้รับการยกเว้นการจด VAT หรือไม่ อาทิ บริษัทที่จำหน่ายสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น
และอีกกรณีก็คือ การดูที่รายรับของธุรกิจว่าเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือไม่ เพราะหากเกินจะต้องดำเนินการจะทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ส่วนบริษัทไหนที่ต้องการจดแต่ว่ารายรับไม่ถึงก็สามารถจดได้ ดังนั้น เมื่อดำเนินการจด VAT แล้ว นิติบุคคลก็ต้องเปิดเผย เอกสาร เปิดบริษัท รายการนี้เช่นกัน
ส่วนการดำเนินการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องดำเนินการผ่านทางกรมสรรพากรทั้งทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th หรือการยื่นแบบคำร้องด้วยกระดาษ ซึ่งเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอจด VAT ประกอบไปด้วย
- แบบคำขอจดทะเบียน ภ.พ.01 และ ภ.พ.1 จำนวน 3 ชุด
- เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานที่ตั้งสถานประกอบการ
- แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการ พร้อมภาพถ่ายของสถานประกอบการ
- หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
- ภาพถ่ายเอกสารการดำเนินกิจการร่วมค้า (ถ้ามี)
- หลักฐานแสดงฐานะนิติบุคคล หรือ เอกสาร เปิดบริษัท
- ภาพถ่ายหนังสือตั้งตัวแทนที่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. ข้อมูลใบหุ้นของบริษัท และสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
อีกหนึ่ง เอกสาร เปิดบริษัท ที่นิติบุคคลต้องเปิดเผยเพื่อประกอบการดำเนินกิจการก็คือ “ข้อมูลใบหุ้นของบริษัท” ซึ่งเป็นเอกสารที่บริษัทจะต้องจัดทำขึ้นมา โดยใบหุ้นจะเป็นเอกสารที่ต้องออกให้กับผู้ถือหุ้นทุกคน พร้อมระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการถือหุ้นอย่างละเอียด รวมถึงตราบริษัทและการลงลายเซ็นของกรรมการอย่างน้อย 1 คน เพื่อเป็นหลักฐาน
ซึ่งในส่วนของสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ก็คือสมุดที่ใช้แสดงข้อมูลหุ้นตั้งแต่การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เรียกว่าเป็นสมุดที่ใช้บันทึกประวัติของบริษัทก็ได้ ดังนั้น เอกสารรายการนี้ทางบริษัทควรดำเนินการจัดทำและเก็บไว้ให้เรียบร้อย เพราะถือว่าเป็น เอกสารเปิดบริษัทใหม่ ที่สำคัญมาก ๆ เช่นกันในการดำเนินกิจการ
Tip น่ารู้ เอกสารที่ต้องใช้เปิดบัญชีบริษัท หลังจากจดทะเบียนนิติบุคคล
ในการเปิดบริษัทสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เลยก็คือ การเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัท เพราะถึงแม้ว่าตามกฎหมายจะไม่ได้กำหนด แต่ในการดำเนินกิจการควรมีการเปิดบัญชีให้เรียบร้อย เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินกิจการ รวมถึงการทำให้ระบบบัญชีภายในองค์กรมีความโปร่งใส เมื่อต้องยื่นภาษีนิติบุคคลหรือการปิดรอบบัญชีก็จะได้ไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง
สำหรับ เอกสารที่ต้องใช้เปิดบัญชีบริษัท ที่ต้องใช้ในการดำเนินการ ได้แก่
- เอกสารหรือหนังสือรับรองบริษัท หรือเอกสาร เปิดบริษัท ที่ใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับนิติบุคคล
- เอกสารแสดงตนหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- แบบ บอจ.3 หรือ บอจ.ภ
- รายงานการประชุมคณะกรรมการในการขอเปิดบัญชีธนาคาร พร้อมลงนามและตราประทับบริษัท (ถ้ามี)
How – To : วิธีเปิดบริษัทใหม่ หรือ สิ่งที่ควรรู้ก่อนเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง คลิก
Timeline สำคัญ ที่ฝ่ายบัญชีต้องดำเนินการเมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้ว
นอกเหนือจากการเปิดเผยข้อมูลและ เอกสาร เปิดบริษัท เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการแล้ว สิ่งที่สำคัญมาก ๆ อีกอย่างหนึ่งสำหรับบริษัทใหม่ก็คือ การดำเนินการภายในองค์กรของฝ่ายบัญชี ที่จะต้องเตรียมตัวและจัดทำเอกสารทางธุรกิจในรายการต่าง ๆ ให้เรียบร้อย โดยทาง SMEMOVE จะสรุปให้ง่าย ๆ สำหรับมือใหม่หัดทำธุรกิจ ดังนี้
1. การเตรียมเอกสารทางธุรกิจ ในการดำเนินกิจการ
โดยเอกสารที่ใช้หลัก ๆ ก็คือ ใบเสนอราคา, ใบแจ้งหนี้, ใบกำกับภาษี, ใบเสร็จรับเงิน, หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย, Bank Statement, รายงานสรุปการจ่ายเงินเดือนพนักงาน และเอกสารรายการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ เอกสารสัญญาทุกชนิด รายงานสินค้าคงเหลือ เป็นต้น ซึ่งเอกสารเหล่านี้สามารถใช้งานได้ง่าย ๆ ด้วย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ SMEMOVE เช่นกัน
2. เตรียม Timeline ในการดำเนินการทางบัญชี
หน้าที่หลักอีกอย่างหนึ่งของฝ่ายบัญชีหรือผู้ที่ทำบัญชีในองค์กรก็คือ การเตรียมตัวในการยื่นภาษีตามปฏิทินยื่นภาษี รวมถึงการส่งงบการเงินในแต่ละรอบปี ยิ่งถ้าเป็นบริษัทที่ดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะมีดีเทลอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา
- เดือนสิงหาคม จะต้องยื่นภาษีกลางปี หรือ ภ.ง.ด.51 โดยจะคำนวณจากประมาณกำไรสุทธิของทั้งปี
- สิ้นเดือนธันวาคม จะต้องดำเนินการหาผู้ทำบัญชีเพื่อปิดงบการเงิน
- เดือนเมษายน จะต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้น และให้ผู้ถือหุ้นรับรองงบการเงินของบริษัท
- เดือนพฤษภาคม จะต้องนำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า, ยื่นงบการเงิน และการส่งภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.50) ต่อทางกรมสรรพากร
หมายเหตุ : บริษัทที่มีการจดทะเบียน VAT จะต้องนำส่ง ภ.พ.30 ในทุกเดือน พร้อมกับภาษีที่เก็บ 7% ด้วย โดยการยื่นคือภายใน 15 วัน ของเดือนถัดไป
จะเห็นได้เลยว่า เอกสาร เปิดบริษัท ที่ทางนิติบุคคลสามารถเปิดเผยได้นั้น เป็นเอกสารที่ได้รับหลังจากจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่อาจะมีเพียงบางรายการที่ต้องดำเนินการจัดทำขึ้นมาเอง โดยเฉพาะข้อมูลใบหุ้นของบริษัท ซึ่งถือว่าเป็น เอกสารเปิดบริษัทใหม่ ที่สำคัญไม่แพ้กัน
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE