ก่อนที่จะสายให้เตรียมรับมือการปรับอัตราภาษีที่ดิน (บังคับใช้ปี 2562)

By posted on August 16, 2019 2:00PM

อย่างที่หลายๆ คนอาจจะทราบกันอยู่แล้วว่าในปีหน้าที่ใกล้จะถึงนี้ (พ.ศ. 2562) ครม. ได้มีมติเห็นชอบร่าง “พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ขึ้นเพื่อปรับปรุงการอัตราภาษีที่ดิน และโรงเรือน ตลอดจนภาษีบำรุงท้องที่ตามที่กฎหมายได้ใช้อยู่ในปัจจุบัน การปรับปรุงการเก็บภาษีเดิมนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อน ที่มาจากกฎหมายเดิม และทำให้เกิดการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ ที่ทำให้ เพียงพอต่อการบริหารจัดการเขตพื้นที่ โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้

  1. ผู้ที่มีหน้าที่ภาษีที่ดินคือบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ซึ่งจะเป็นผู้ที่ครอบครอง หรือผู้ที่เข้ามาทำประโยชน์จากที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐก็ได้
  2. ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีที่ดินคือหน่วยงานอย่าง เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งรายได้ภาษีที่ถูกจัดเก็บ อปท. (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จะเป็นผู้ดูแลจัดเก็บ
  3. ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีที่ดินคือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด
  4. ฐานของการเรียกเก็บภาษีคือ มูลค่าทั้งหมดของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง (อสังหาริมทรัพย์) ซึ่งจะต้องทำการคำนวณมาจากการประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน และสินทรัพย์ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยคุณสามารถเข้าไปดูราคาประเมินได้ที่ เว็บไซต์ประเมินราคาที่ดิน
  5. อัตราภาษีที่ดินที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ซึ่งมีอัตราสูงสุดที่จะถูกจัดเก็บภาษีของผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง โดยจัดแบ่งอัตราการเก็บภาษีออกเป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการใช้งานที่ดินเพื่อประโยชน์ดังนี้

– เพื่อการเกษตร (เกษตรกรรม) จะถูกเก็บภาษีที่ดินสูงสุดไม่เกิน 0.2%

– อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท จะถูกเก็บภาษีที่ดินในอัตราสูงสุดไม่เกิน 0.5%

– เพื่อการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม จะถูกเก็บภาษีที่ดินในอัตราสูงสุดไม่เกิน 2%

– ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด จะถูกเก็บภาษีที่ดินในอัตราสูงสุดไม่เกิน 5%

  1. ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง อสังหาริมทรัพย์ จะถูกยกเว้นการเก็บภาษีในกรณีที่เป็น สาธารณสมบัติ ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้ใช้ในการหาผลประโยชน์ ทรัพย์สินของสถานทูต สภากาชาดไทย ทรัพย์สินส่วนกลางอาคารชุด ที่ดินสาธารณูปโภคของโครงการจัดสรรที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนทรัพย์สินของเอกชนที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และบ้านพักที่อยู่อาศัยหลักที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท
  2. อัตราภาษีที่จะถูกเก็บจริงที่จะถูกกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งกำหนดอัตราเป็นอัตราก้าวหน้าเพิ่มขึ้นตามมูลค่าของฐานภาษี ดังนี้

– เพื่อการเกษตร (เกษตรกรรม) เริ่มตั้งแต่ 0-0.1% ของฐานภาษี

– อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ตั้งแต่ 0.05-0.1% ส่วนที่พักอาศัยหลังอื่นๆ ตั้งแต่ 0.03-0.3% ของฐานภาษี

– ประเภทอื่นๆ ตั้งแต่ 0.3-1.5% ของฐานภาษี

– ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดตามที่สมควร จะถูกจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุก 3 ปี ตั้งแต่ 1-3% ของฐานภาษี

เมื่ออ่านจบแล้ว เราหวังว่าหลายคนที่ได้อ่านบทความข้างต้นไปจะได้รับความรู้ และนำไปใช้จริงในการทำบัญชีสำหรับปี 2562 ที่จะมาถึงนี้

ผู้ประกอบการมีสิ่งที่ต้องทำหลายอย่าง จะดีกว่าไหมถ้ามีสิ่งที่ช่วยให้ลูกค้าทุกคนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และมีเวลาศึกษาข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจของลูกค้า สิ่งนั้นก็คือโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ดูผลประกอบการได้แบบ REAL-TIME และบันทึกบัญชีอัตโนมัติที่มีชื่อว่า SMEMOVE ถ้าสนใจทดลองใช้ฟรีตลอดชีพ สามารถกดลิงก์ด้านล่างเพื่อทดลองใช้ได้เลย

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

 

 

 

 

 

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE