หลายๆ คนเมื่อกำลังเริ่มต้นทำธุรกิจก็มักจะเริ่มทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัท แล้วการจดทะเบียนบริษัทจะมาเกี่ยวข้องอะไรกับบัญชีล่ะ หากใครยังไม่รู้เราขอบอกไว้เลยว่าการจดทะเบียนบริษัท (นิติบุคคล) จะมีอัตราการจ่ายภาษีที่แตกต่างกับการไม่จดทะเบียนบริษัท (บุคคลธรรมดา)
หากใครที่ทราบแล้วว่าการจดทะเบียนบริษัท และการไม่จดทะเบียนบริษัทมีความแตกต่างกันอย่างไร แต่ก็ยังรู้สึกสับสนอยู่ว่าควรจดทะเบียนดีหรือไม่วันนี้เราก็มีข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท หรือไม่จดทะเบียนบริษัทมาให้ทุกคนได้อ่าน เพื่อนำไปเป็นตัวช่วยประกอบการตัดสินใจในอนาคตได้
แล้วเราควรจดทะเบียนบริษัทดีหรือไม่
การจดทะเบียนบริษัทนั้น มีข้อดีอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะการประหยัดภาษีที่ทำให้ทุกคนรู้สึกสนใจการจดทะเบียนบริษัท เพราะนิติบุคคลจะมีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษี 300,000 บาทแรก และอัตราภาษีต่ำสุดคือ 15% อัตราภาษีสูงสุดคือ 20% ต่างจากบุคคลธรรมดาที่จะได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีที่ 150,000 บาทแรก โดยมีอัตราภาษีต่ำสุดอยู่ที่ 5% และอัตราภาษีสูงสุดคือ 35% ซึ่งคุณจะเห็นได้ว่านิติบุคคลจะประหยัดภาษีกว่าบุคคลธรรมดาใน เรื่องการยกเว้นภาษีแรกเริ่ม และอัตราภาษีที่เสียสูงสุด
หากอ่านไปเท่านี้หลายคนอาจรู้สึกสนใจและต้องการเป็นนิติบุคคล แต่เราขอบอกเลยว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถนำมาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจได้ เพราะสถานการณ์ หรือธุรกิจของแต่ละคนไม่เหมือนกันและอัตราภาษีที่ต้องจ่ายก็ไม่แน่นอน หากอยู่ในช่วงที่กำไรน้อยบุคคลธรรมดาก็เสียภาษีน้อยกว่านิติบุคคล ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่สนับสนุนให้คุณจดทะเบียนบริษัทก็มีอยู่บงางอย่างเช่นความน่าเชื่อถือของบริษัท ง่ายต่อการกู้ยืมขอสินเชื่อกับธนาคาร
ดังนั้นการตัดสินใจจดทะเบียนบริษัทนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของบริษัท แต่เราขอแนะนำว่าหากธุรกิจของคุณเพิ่งเริ่มเปิดคุณก็ยังไม่ต้องรีบเร่งการจดทะเบียนบริษัทมากนักก็ได้ เพราะรายได้ของคุณก็ยังไม่แน่นอน ส่วนใครที่เปิดธุรกิจมานานและรู้สึกว่านี่ก็ถึงเวลาที่สมควรแล้วก็เริ่มดำเนินการทำไปได้เลย โดยวิธีการก็สามารถอ่านต่อได้เลย
ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง
ทำการตรวจและจองชื่อของบริษัท
ในขั้นตอนนี้คุณสามารถเข้าไปที่หน้า เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อสมัครสมาชิกได้ฟรี และลงมือ จองชื่อ/ตรวจทะเบียนคำขอนิติบุคคล โดยคุณสามารถระบุชื่อบริษัทได้มากถึง 3 ชื่อ แต่มีข้อจำกัดที่ว่าชื่อบริษัทที่ระบุไปจะต้องไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้ว
จดทะเบียนหนังสือคณห์สนธิ
หนังสือคณห์สนธิหรือหนังสือที่ใช้แสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท เมื่อนายทะเบียนรับรองชื่อเรียบร้อยแล้วคุณจำเป็นจะต้องทำการยื่นภายใน 30 วัน
ทำการแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาด
ในกรณีที่เอกสารถูกตรวจสอบจากนายทะเบียนเรียบร้อยแล้วเอกสารเกิดมีปัญหาส่วนใดส่วนหนึ่ง ผู้ยื่นจดทะเบียนจะต้องทำการแก้ไขให้เรียบร้อย
เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อใช้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด โดยเอกสารที่จำเป็นจะต้องจัดเตรียมไว้ก็คือ
1. แบบจองชื่อนิติบุคคล
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ก่อตั้ง และคณะกรรมการทุกคน
3. สําเนาหลักฐานการรับชําระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
4. แผ่นที่แสดงที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ พร้อมสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง
ข้อสำคัญคือเอกสารทุกฉบับผู้ขอจดทะเบียนจะต้องทำการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างน้อยหนึ่งคน ยกเว้นเอกสารส่วนตัวที่จะต้องทำการเซ็นด้วยตนเอง
ลงมือยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
คุณสามารถยื่นคำขอได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตพื้นที่ใกล้บ้านได้ทุกจังหวัด เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรอง คุณก็จะกลายเป็นเจ้าของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาแบบถูกกฎหมายแล้ว
ก่อนจบเราขอสรุปส่งท้ายเล็กน้อยว่าการเป็นนิติบุคคลหากต้องการให้ประหยัดกว่าบุคคลธรรมดา คุณจำเป็นต้องบริหารจัดการวางแผนด้านภาษีที่ดี มีคุณภาพด้วย และอย่าลืมการจัดตั้งบริษัทหรือการทำธุรกิจในฐานะบุคคลธรรมดา ซึ่งจะต้องมีการจดบัญชีเป็นสำคัญด้วย เพราะจะทำให้เห็นสภาพธุรกิจของคุณว่าเป็นอย่างไร ทางเรามีโปรแกรมบัญชีที่บันทึกบัญชีได้อัตโนมัติมานำเสนอ นั่นก็คือโปรแกรมบัญชี SMEMOVE ที่จะช่วยให้การทำบัญชีของคุณนั้นง่าย สะดวก และประหยัดต้นทุนอีกด้วย สนใจทดลองใช้งานฟรีได้ตามลิงก์ด้านล่างเลย
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE