มือใหม่เริ่มทำธุรกิจหลาย ๆ คน ก็คงมีความคิดที่อยากใช้บ้านจดทะเบียนบริษัท หรือใช้ที่อยู่บ้านเป็นบริษัท เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินกิจการ และเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่ สำหรับการประกอบกิจการของตนเอง เพราะการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทนั้นต้องมี 2 องค์ประกอบหลัก ๆ ด้วยกัน คือ มีผู้ถือหุ้น และมีที่อยู่ให้กับบริษัท เพราะฉะนั้น การเลือกใช้บ้านเป็นบริษัทจึงอาจเป็นทางเลือกที่ง่าย และรวดเร็วกว่าการหาเช่าพื้นที่สำหรับจัดตั้งบริษัทเสียด้วยซ้ำ
3 สิ่งที่ควรรู้ เมื่อต้องการใช้บ้านจดทะเบียนบริษัท
ถึงแม้ว่าการใช้บ้านจดทะเบียนบริษัท เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ ไม่ว่าจะเลือกจดทะเบียนจดตั้งบริษัท หรือใช้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องมีที่อยู่ของกิจการอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในหนังสือรับรองและหนังสือบริคณห์สนธิ เพราะฉะนั้น SMEMOVE จะพาคุณมาดูกันว่า ก่อนจะตัดสินใจใช้บ้านจดทะเบียนการค้า มีอะไรบ้างที่มือใหม่หัดทำธุรกิจต้องรู้
1. การเสียภาษีให้เช่าโรงเรือนเพื่อธุรกิจ
สำหรับการใช้ที่อยู่บ้านจดทะเบียนบริษัท สามารถใช้ได้ทั้งบ้านทั่ว ๆ ไป ตึกแถว คอนโด หรือแม้แต่อาคารสำนักงานเป็นที่อยู่ของบริษัทได้ แต่สิ่งที่จะตามมาก็คือ “การเสียภาษี” โดยเฉพาะภาษีที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ภาษีค่าเช่า หัก ณ ที่จ่าย 5% และที่ขาดไม่ได้คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งแต่ละรายการก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันออกไป อย่างเช่น การประเมินการเสียภาษีโรงเรือนที่ใช้ประกอบการให้เช่า ก็จะมีการประเมินและมีอัตราภาษีที่ต่างจากภาษีเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น
หมายเหตุ : ถึงแม้จะใช้คอนโดจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ แต่ไม่สามารถจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT กับทางสรรพากรได้
2. ข้อกฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อกฎหมายที่สำคัญมาก ๆ ของการใช้บ้านจดทะเบียนบริษัทก็คือ อัตราภาษีโรงเรือนและที่ดิน จะต้องชำระอยู่ที่ 12.5% จากราคาประเมินของสินทรัพย์ โดยให้ชำระแบบรายปี เพราะฉะนั้น หากบ้านที่ใช้เป็นออฟฟิศมีราคาประเมินอยู่ที่ 1 ล้านบาท ก็เท่ากับว่าต้องชำระภาษีโรงเรียนและที่ดินอยู่ที่ 125,000 บาท ดังนั้น ในการใช้บ้านเป็นสถานที่ตั้งบริษัทหรือใช้จดทะเบียนบริษัท ก็ควรมาคำนวณว่าท้ายที่สุดแล้วอัตราภาษีที่ต้องชำระจะคุ้มค่ามากกว่าการเช่าออฟฟิศหรือไม่ แต่ถ้าลองเปรียบเทียบแล้วคุ้มกว่ามาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีค่าเช่าออฟฟิศที่แพงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็นับว่าการเลือกใช้บ้านเป็นบริษัทก็เป็นทางเลือกที่ดีและน่าสนใจพอสมควร
นอกจากนี้ ในการจดทะเบียนบริษัทยังมีเอกสารเปิดบริษัทรายการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็น คำขอจดทะเบียนบริษัท หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ รายการจดทะเบียนจัดตั้ง ฯลฯ ที่จะต้องมีการระบุข้อมูลและที่ตั้งของสถานประกอบการอย่างชัดเจน และอย่าลืมว่าการให้เช่าพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ จะส่งผลต่อข้อมูลเปิดเผยด้วย ดังนั้น สถาบันการเงิน สมาคม การกุศล ก็ย่อมสามารถค้นหาบริษัทฯ ได้ และอาจมีจดหมายมาที่สถานประกอบการซึ่งเป็นที่ตั้งด้วยเช่นกัน
3. การทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
หากต้องการใช้บ้านเป็นออฟฟิศ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ การทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะจะช่วยให้การดำเนินการของธุรกิจง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ใช้ที่อยู่จดทะเบียนบริษัทมากกว่า 1 บริษัทขึ้นไป ที่ต้องมีการจัดสรรปันส่วนค่าใช้จ่ายให้กับทุก ๆ บริษัทอย่างเหมาะสม เพราะไม่อย่างนั้นจะถือว่าผู้ประกอบการมีความผิดได้ หรือในกรณีที่ใช้บ้านคนรู้จักหรือคนในครอบครัวเป็นที่ตั้งบริษัท ก็ต้องมีการทำสัญญาเช่าให้เรียบร้อย เพราะจะช่วยให้เจ้าหน้าที่สรรพากร สามารถประเมินการเสียภาษีให้เช่าโรงเรือนเพื่อธุรกิจได้นั่นเอง
หมายเหตุ : หากให้คนรู้จักหรือเพื่อนเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบธุรกิจ ควรทำสัญญาให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการที่ผู้เช่านำไปกระทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย รวมถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การดัดแปลงอาคาร การติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ และหากมีความเสียหายหรือเป็นหนี้สิน ทางผู้ให้เช่าจะไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นต้น
How-To ใช้บ้านจดทะเบียนบริษัท เลือกแบบไหนให้เหมาะกับธุรกิจ?
ในการใช้บ้านจดทะเบียนบริษัท หรือจดทะเบียนการค้า นับว่าเป็นการเริ่มต้นทำธุรกิจที่ง่ายและสะดวก โดยเฉพาะมือใหม่หัดทำธุรกิจ หรือเป็นกิจการ START UP ที่ส่วนมากมักจะเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยการใช้ที่อยู่บ้านจดทะเบียนบริษัท หรือจดทะเบียนนิติบุคคล เพราะฉะนั้น SMEMOVE จะมาแนะนำแบบง่าย ๆ สำหรับผู้ที่อยากใช้บ้านเป็นที่ประกอบธุรกิจ ว่าควรเลือกแบบไหนให้เหมาะกับกิจการ
ทาวน์โฮม หรือทาวน์เฮาส์
บ้านลักษณะนี้จะติดกับเพื่อนบ้าน เพราะฉะนั้น ข้อจำกัดที่เห็นได้ชัดคือ พื้นที่จอดรถ เพราะฉะนั้น ธุรกิจที่เหมาะสมจะต้องเป็นธุรกิจที่ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน เช่น มีเสียงดังจากเครื่องจักร หรือว่ามีการขนส่งสินค้าเข้าออกตลอดเวลา จนทำให้ไปรบกวนผู้อื่นได้ แต่สามารถมี Supplier ในการดูแลและขนส่งสินค้าแทนได้ เพื่อให้สะดวกต่อการดำเนินกิจการนั่นเอง
บ้านเดี่ยว
ถือว่าเป็นรูปแบบบ้านที่มีความเป็นส่วนตัวมาก ๆ สามารถจัดสรรปันส่วนได้อย่างหลากหลาย เช่น มีที่พักด้านบน แล้วใช้พื้นที่ด้านล่างเป็นออฟฟิศ ซึ่งธุรกิจที่นิยมใช้บ้านเดี่ยวตั้งบริษัท ไม่จำเป็นต้องมีพนักงานประจำในออฟฟิศที่เยอะจนเกินไป แต่สามารถให้มีพนักงานขายวิ่งขายงานตามสถานที่ต่าง ๆ แทนได้ ซึ่งพนักงานที่อยู่ออฟฟิศมักจะเป็นตำแหน่งที่ต้องสแตนด์บายตลอดเวลา เช่น บัญชี, HR และ Customer Service เป็นต้น
อาคารพาณิชย์
นับเป็นทำเลยอดฮิตที่เหมาะสำหรับการใช้เป็นสถานที่ตั้งของธุรกิจ เพราะมีความสะดวกในการเดินทาง และส่วนมากมักจะอยู่ในแหล่งชุมชน ซึ่งหากเป็นกิจการที่มีใช้เสียงหรืออาจสร้างความรบกวนต่อผู้คนในชุมชนได้ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะทำเลเหล่านี้จะเหมาะกับธุรกิจที่สามารถให้ผู้ใช้บริการเข้ามาติดต่อที่หน้าร้านได้เลย เพื่อสร้างโอกาสทางการขายได้มากขึ้น
นักธุรกิจมือใหม่ห้ามพลาด ด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์ by SMEMOVE
ถึงแม้ว่าการใช้บ้านเป็นออฟฟิศจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับมือใหม่หัดทำธุรกิจ แต่อีกหนึ่งส่วนสำคัญมาก ๆ ก็คือ การทำบัญชีและรายรับ-รายจ่ายของบริษัท ซึ่งโดยส่วนมากแล้วนักธุรกิจมือใหม่อาจจะยังไม่มีงบในมือที่เพียงพอต่อการจ้างนักบัญชีมาประจำที่ออฟฟิศ เพราะฉะนั้น ขอแนะนำให้เลือกใช้ “โปรแกรมบัญชีออนไลน์” ของทาง SMEMOVE ที่ออกแบบมาเพื่อชาว SME โดยเฉพาะ
- ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับมือใหม่หัดทำบัญชี ไม่ต้องมีพื้นฐานก็ทำเอกสารทางธุรกิจได้
- ออกแบบเอกสารได้เองตามความเหมาะสม มีฟังก์ชันให้เหลืออย่างหลากหลาย
- สามารถบริหารจัดการสต็อกสินค้าในคลังได้ ช่วยทำให้การดูแลระบบหลังบ้านง่ายมากขึ้น
- เอกสารถูกบันทึกไว้บน Google Cloud พร้อมการเข้ารหัส เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล
- มีระบบการแจ้งเตือน เพื่อช่วยให้จดจำเอกสารที่ต้องออกได้อย่างง่ายดาย
- มีรูปแบบเอกสารที่หลากหลาย ครบจบในเว็บเดียว ใช้ยื่นภาษีได้จริงตามมาตรฐาน
- สามารถดูงบการเงิน งบดุล งบกำไร และค่าใช้จ่ายได้ ด้วยการดึงรีพอร์ตที่สะดวกรวดเร็ว
จะเห็นได้เลยว่าการใช้บ้านจดทะเบียนบริษัทนั้น เป็นตัวเลือกการทำธุรกิจที่ง่ายและสะดวกมาก ๆ สำหรับนักธุรกิจมือใหม่ที่อยากตั้งบริษัทเป็นของตัวเอง และอยากใช้บ้านจดทะเบียนการค้า เพราะมีความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายที่มากกว่า แต่ก่อนที่จะเลือกใช้บ้านเป็นบริษัท อย่าลืมตรวจเช็กความคุ้มทุนอย่างละเอียด โดยเฉพาะภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงภาษีโรงเรือนและที่ดิน เพื่อให้เปรียบเทียบได้ว่าสุดท้ายแล้วหากใช้บ้านเป็นออฟฟิศจะคุ้มค่าหรือไม่
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE