เศรษฐกิจและสังคมโลกหลังวิกฤตโคโรนาไวรัส (Covid-19)

By posted on April 16, 2020 1:36PM

ในปัจจุบันเศรษฐกิจภายในประเทศไทย และทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส หรือโควิด-19 (Covid-19) ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศหยุดชะงัก กิจการร้านค้าหลากหลายประเภทต้องปิดตัวลงทั้งชั่วคราว และถาวร แต่หากจะมองให้ไกลกว่านี้อีกนิด เมื่อถึงวันที่โคโรนาไวรัส หรือโควิด-19 (Covid-19) ถูกควบคุมได้อย่างอยู่หมัดแล้วเศรษฐกิจและสังคมโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร คนทั่วไปจะต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปมากขนาดไหน วันนี้ SMEMOVE อยากจะชวนทุกคนมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

หลังเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หลายๆ ประเทศได้ออกมาตรการในการดูแล และควบคุมประชาชนโดยเน้นไปที่มาตรการ Social distancing ที่สนับสนุนให้คนภายในประเทศสร้างระยะห่างในการเข้าสังคม หรือพบปะผู้คน เพื่อลดโอกาสในการส่งต่อ หรือแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และเตรียมตัวรับมือกับโรคระบาดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งมาตรการ Social distancing ก็เป็นมาตรการที่ดีสำหรับการจัดการกับการแพร่ระบาดแต่ในทางเศรษฐกิจมาตรการนี้ยอมส่งผลโดยตรงให้สภาพเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก ซึ่งก็แน่นอนว่ามันจะต้องส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกคนในประเทศนั้นๆ อีกด้วย

และหากจะถามว่าหลังจากนี้เศรษฐกิจ และสังคมโลกจะเปลี่ยนไปแค่ไหนเมื่อผ่านพ้นช่วงวิกฤตเหล่านี้ไปได้คำตอบดีๆ ก็อยู่ในบทความวิเคราะห์เศรษฐกิจของดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ จากเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ ที่ SMEMOVE นำมาฝากทุกคนแล้ว โดยคำตอบของคำถามนี้ก็ถูกแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อใหญ่ๆ คือ

1. การขาดดุลการคลังทั่วโลก รวมถึงหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นมาก

จากงานวิจัยล่าสุดของ UBS พบว่าในปีนี้อัตราการขาดดุลการค้าของทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่ำที่ 2.5% ของ GDP จากที่ขาดดุลประมาณ 0.5% ในปีที่ผ่านมา และสูงกว่าช่วงแฮมเบอร์เกอร์ที่ขาดดุล 1.5% GDP เนื่องจากมาตรการการคลังที่เพิ่มขึ้นก็ย่อมนำมาซึ่งการขาดดุลเพิ่มขึ้น

ซึ่งงบประมาณที่เพิ่มขึ้นย่อมนำมาซึ่งหนี้สาธารณะที่เพิ่มมากขึ้น โดยอาจเพิ่มขึ้นในระดับ 10% ของ GDP ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าเนื่องจากเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว ทำให้รัฐไม่สามารถเก็บภาษีเพื่อชดเชยการขาดดุลได้มากนัก และไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงใช้วิธีกู้ยืมมากขึ้นแต่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นแล้ว ภาครัฐจะเร่งเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราภาษีจะกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง

2. ประสิทธิภาพของเศรษฐกิจจะลดลง

เนื่องจากรัฐเข้าอุ้มธุรกิจขนาดใหญ่ทำให้ไม่เกิด Creative destruction หรือการทำลายอย่างสร้างสรรค์ อันเป็นกระบวนการธุรกิจที่ไม่ประสบผลสำเร็จต้องล้มหายตายจากไป ซึ่งปกติแล้วใน 1 ปีธุรกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD) จะมีการล้มละลายกว่า 8% และมีแรงงานที่ถูกเลิกจ้างกว่า 10% แต่ในปัจจุบันภาครัฐเข้าช่วยอุ้มธุรกิจผ่านมาตรการเยียวยาผลกระทบต่างๆ จะทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่อยู่รอด แต่ธุรกิจขนาดเล็กที่สายป่านสั้น และเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือภาครัฐล้มไป

3. ดอกเบี้ยจะต่ำ และการถอนการอัดฉีดสภาพคล่องจะทำได้ยากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันธนาคารกลางต่างๆ โดยเฉพาะ Fed (Federal Reserve เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็น ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา) ทำ QE (Quantitative Easing มาตรการทางการเงินที่ไม่ได้ใช้ในช่วงเวลาปกติ) อย่างไม่จำกัดนั้น ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการเข้าสนับสนุนการขาดดุลการคลังของรัฐบาลที่มากขึ้นทางอ้อม ส่วนในฝั่งของยุโรปนั้น การที่ ECB ยกเลิกข้อจำกัดในการทำ QE โดยไม่จำกัดสัดส่วนการเข้าลงทุนในพันธบัตรประเทศเล็กๆ ก็จะเป็นการเข้าช่วยสนับสนุนการขาดดุลงบประมาณของประเทศขนาดเล็กที่ประสบปัญหานั่นเอง

4. บทบาทของภาครัฐจะใหญ่ขึ้น

รัฐจะเข้ามาเป็นผู้ดำเนิน และมีบทบาทในธุรกิจต่างๆ มากขึ้นผ่านการทำ Nationalization (ยึดกิจการมาเป็นของรัฐ) ผ่านการใช้ระบบ Electronic Surveillance รวมถึงการเข้ามาสอดส่องกิจการ และประชาชนจะมากขึ้น เช่นประวัติด้านภาษี ประวัติทางการแพทย์ (Medical Record) หรือระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (Electronic Record) ผ่านข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ เช่น เดินทางไปที่ไหน ทำอะไร มีความเสี่ยงจะติดโรคหรือทำผิดกฎหมายหรือไม่ ประวัติเหล่านี้จะถูกตรวจสอบง่ายขึ้น ทำให้ความเป็นส่วนตัวลดลง

5. รูปแบบการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจ รวมถึงการผลิตจะเปลี่ยนไป

เพราะเทคโนโลยีจะเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจภาคบริการ ทำให้รูปแบบการทำงานแบบ Work from home หรือจากสถานที่อื่นๆ ทำได้ง่ายขึ้น ความจำเป็นในการมี Office ขนาดใหญ่จะลดลง ขณะที่ในฝั่งการค้า กระแสโลกาภิวัตน์จะยิ่งลดลง ทั้งจากความไม่แน่นอนในห่วงโซ่การผลิตที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่สงครามการค้าต่อเนื่องมาถึงวิกฤติ Covid-19 รวมถึงการที่แต่ละประเทศจะหันมาผลิตสินค้าที่สำคัญเชิงยุทธศาสตร์ เช่นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรคสำคัญ อาหาร (เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ และธัญพืช) ในประเทศมากขึ้น

SMEMOVE เชื่อว่าหลายๆ คนที่อ่านบทความนี้จนจบคงกำลังวางแผน หรือเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตได้ไม่มากก็น้อย และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้อย่างดี และหากบริษัทใดกำลังมีปัญหาในการทำงาน Work from home อยู่ก็อย่าลืมมองหาตัวช่วยดีๆ ที่จะทำให้การทำงานของคุณง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้นอย่างที่โปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ SMEMOVE สามารถทำได้เป็นอย่างดีในเรื่องของการจัดการงานบัญชีไม่ว่าจะซื้อ ขาย จ่าย เปิดบิล ปิดยอด สรุปบัญชี ก็สามารถจัดการได้นี่เดียว

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE