รู้ไว้ก่อนสาย เปิดร้านขายของชำ หรือทำร้านโชห่วย ต้องเสียภาษียังไง?

By posted on February 7, 2025 9:56AM
รู้ไว้ก่อนสาย เปิดร้านขายของชำ หรือทำร้านโชห่วย ต้องเสียภาษียังไง?

การเปิดร้านขายของชำ หรือเปิดร้านโชห่วย ไม่ว่าจะเป็นร้านเล็กหรือใหญ่ สุดท้ายแล้วก็ต้องให้ความสำคัญกับ “ภาษี” เพราะถือว่าเป็นรายได้ช่องทางหนึ่งเช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาการเปิดร้านโชห่วยอาจจะไม่ได้มีประเด็นเรื่องภาษีให้ติดตามกันเท่าไหร่นัก แต่ในปัจจุบันนี้ก็ได้มีมาตรการต่าง ๆ ออกมา เช่น การนำส่งข้อมูลการรับโอนเงินให้กับทางกรมสรรพากร เพราะฉะนั้น หากไม่อยากเสี่ยงโดนภาษีย้อนหลัง ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการยื่นรายได้ให้ครบ และต้องวางแผนเรื่องภาษีเอาไว้ล่วงหน้าเช่นกัน

เปิดร้านขายของชำ ทำไมต้องเสียภาษี

เปิดร้านขายของชำ ทำไมต้องเสียภาษี?

ถึงแม้ว่าการเปิดร้านขายของชำ จะไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลในระบบของกรมสรรพากร หรือมีการจด VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างเป็นทางการ แต่ต้องไม่ลืมว่าการเปิดร้านโชห่วยก็ถือว่าเป็นรายได้ช่องทางหนึ่ง และตามหลักแล้วหากมีรายได้ก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษีเทียบเท่ากันทุกคน และหากมีรายได้สุทธิถึงเกณฑ์ภาษีที่กำหนด ก็ต้องเสียภาษีทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น

แน่นอนว่า ในช่วงที่ผ่านมาก็ได้เริ่มมีการสุ่มตรวจของทางกรมสรรพากรหลายต่อหลายวิธี อาทิ การลงพื้นที่สุ่มตรวจ หรือการตรวจรายได้จากการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของรัฐ และที่ขาดไม่ได้คือ การนำส่งข้อมูลการรับโอนเงินให้กับทางกรมสรรพากร ที่ทางธนาคารจะต้องนำส่งข้อมูล โดยหลักเกณฑ์คือ

  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป
  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และ
  • มียอดเงินรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป

เพราะฉะนั้น ใครที่มีบัญชีธนาคารและมีการรับโอนเงิน ก็มีโอกาสที่จะถูกตรวจสอบจากทางกรมสรรพากรเช่นกัน และหากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีการยื่นรายได้ให้กับทางกรมสรรพากร ก็จะถูกตรวจสอบย้อนหลัง และหากพบว่ามีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็จะต้องเสียภาษีพร้อมค่าปรับ

เรียกง่าย ๆ ว่า หากไม่วางแผนเรื่องรายรับ – รายจ่าย และยื่นรายได้ให้กับทางกรมสรรพากร ก็มีโอกาสที่จะถูกตรวจสอบ พร้อมโดนภาษีย้อนหลังหลายเท่า เพราะอย่าลืมว่า “หากจงใจหรือหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษตามกฎหมาย” มีโทษทั้งจำทั้งปรับ

วิธีคิดภาษีร้านขายของชำ คิดยังไงบ้าง

วิธีคิดภาษีร้านขายของชำ คิดยังไงบ้าง?

ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีนั้น ได้กำหนดเอาไว้ว่า เมื่อบุคคลธรรมดาหรือผู้ที่มีรายได้ที่ไม่ใช่ค่าจ้างหรือเงินเดือน แต่มีรายได้จากเงินประเภทอื่น เช่น การขายของ เมื่อได้รับเงินเกิน 60,000 บาท จะต้องยื่นภาษีตามกฎหมาย แต่ว่าจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี หากรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายเกิน 150,000 บาท ก็ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี โดยในปัจจุบันการคิดภาษีร้านค้าปลีก หรือร้านขายของชำ จะแบ่งการหักค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%

หรือก็คือการเลือกหักต้นทุน โดยวิธีนี้จะเหมาะกับร้านค้าปลีกหรือร้านขายของชำ ที่มีรายรับสูง ข้อดีคือ ไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และไม่ต้องเก็บเอกสารประกอบเพื่อใช้ยื่นภาษี ไม่ต้องพิสูจน์รายได้ เหมาะกับร้านขายของชำที่มีต้นทุนน้อยกว่า 60% และมีกำไรมากถึง 40%

2. การหักค่าใช้จ่ายตามจริง

หากร้านค้าปลีกหรือร้านโชห่วยมีกำไรน้อยกว่า 40% จะเหมาะกับการคิดภาษีร้านค้าด้วยการหักค่าใช้จ่ายตามจริง แต่มีข้อจำกัดคือ การทำบันทึกรายรับ – รายจ่าย พร้อมกำไรในทุกเดือน เพื่อใช้ประกอบการยื่นเป็นหลักฐานเมื่อต้องคำนวณหรือคิดภาษี และที่สำคัญคือ จะต้องเก็บเอกสารทุกรายการ โดยเอกสารจะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน มีความถูกต้อง เพื่อนำไปประกอบการเสียภาษีร้านค้าปลีกนั่นเอง

การเสียภาษีร้านค้า สำหรับบุคคลธรรมดาที่เปิดร้านโชห่วย

การเสียภาษีร้านค้า สำหรับบุคคลธรรมดาที่เปิดร้านโชห่วย

การเสียภาษีสำหรับร้านค้าปลีก ร้านขายของชำ ที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนนิติบุคคล เรียกง่าย ๆ ว่า เป็นบุคคลธรรมดาที่เปิดร้านขายของชำเพื่อประกอบอาชีพ การเสียภาษีจะเหมือนกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะต้องยื่นภาษีตามมาตรา 40(8) โดยการคำนวณจะเหมือนกับบุคคลธรรมดา คือ

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

สำหรับการวิธีคิดภาษีร้านขายของชำ ร้านค้าปลีก ที่เปิดในนามบุคคลธรรมดา จะคิดตามอัตราภาษีก้าวหน้า มีอัตราตั้งแต่ 5 – 35% เพราะฉะนั้น หากเปิดร้านขายของชำแล้วอยากบริหารจัดการระบบของร้านค้าให้ดี แนะนำว่าให้ดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลให้เรียบร้อย แล้วใช้ระบบการบริหารจัดการร้านค้า เช่น POS จะดีมากกว่า เพราะตรวจสอบข้อมูลได้ มีหลักฐานชัดเจน

ที่สำคัญคือ บริหารสต็อกสินค้าของร้านค้าได้ (เฉพาะที่ SMEMOVE) และที่สำคัญคือ การจดทะเบียนนิติบุคคล ยังสามารถเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของทางรัฐได้ เช่น หากเป็นร้านค้าปลีกที่มีลูกค้าจำนวนเยอะมาก ๆ มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้าน ก็สามารถจดทะเบียน VAT และใช้ระบบ E-Tax Invoice & E-Receipt ได้อีกด้วย ทั้งยังได้รับสิทธิทางภาษีอีกเช่นกัน และไม่ต้องสุ่มเสี่ยงโดนสรรพากรตรวจสอบย้อนหลังอีกต่างหาก

อัตราภาษีของร้านขายของชำ หรือการเสียภาษีร้านค้าปลีก

การเปิดร้านขายของชำ ร้านค้าปลีก หรือร้านโชห่วย ก็มีทั้งการเปิดในนามบุคคลธรรมดา ที่จะคิดภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า ในขณะที่บางร้านก็อาจจะมีการจดทะเบียนพาณิชย์อย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์ทางภาษีและการบริหารจัดการร้านค้าที่ง่ายขึ้น โดยทาง SMEMOVE จะสรุปให้ดูง่าย ๆ ดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือบุคคลทั่วไปที่เปิดร้านค้าปลีก จะคิดภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า (5 – 35%) โดยหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากร้านค้ามีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท จะต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน ตามกฎหมาย โดยจะต้องนำยอดขายในแต่ละเดือนยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  • การจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นกาจดทะเบียนร้านค้าสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ใช้ได้กับธุรกิจค้าขายและบริการขนาดเล็ก มีเจ้าของเพียงคนเดียว ซึ่งปกติแล้วร้านค้าทุกร้านจะต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ตามที่กฎหมายกำหนด

หมายเหตุ : กฎหมายกำหนดอย่างชัดเจนว่า ธุรกิจขายสินค้าอย่างเดียวหรือหลายอย่าง ที่ขายได้ 20 บาทขึ้นไป/วัน หรือมีสต็อกสินค้าที่รวมมูลค่าทั้งหมดเป็นเงิน 500 บาทขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับจากวันเริ่มเปิดธุรกิจ (หากขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา ยาสูบ ทั้งแบบส่งและร้านค้าปลีก ต้องยื่นขอใบอนุญาตและเสียภาษีที่กรมสรรพามิตเช่นกัน)

อัตราภาษีของร้านขายของชำ หรือการเสียภาษีร้านค้าปลีก

เป็นเจ้าของธุรกิจไม่ใช่เรื่องยาก แค่ใช้โปรแกรมบัญชี SMEMOVE

สำหรับเจ้าของธุรกิจร้านค้าปลีก ร้านขายของชำ หรือทำธุรกิจ SMEs ทุกชนิด ที่อยากบริหารจัดการร้านค้าให้ง่ายและไม่ยุ่งยาก สามารถบันทึกรายรับ – รายจ่าย แบบง่าย ๆ ไม่ต้องยุ่งยากเรื่องการจัดการบัญชี สามารถใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ SMEMOVE ให้เป็นตัวช่วยให้ในการจัดการร้านค้า พร้อมดูแลสต็อกหลังบ้านให้ได้เลย และที่สำคัญคือ สามารถนำส่งข้อมูลให้กับทางกรมสรรพากรได้เลย เพราะโปรแกรมของเราออกแบบมาเพื่อให้คนทำธุรกิจขนาดเล็กใช้งานได้ง่าย ในราคาสบายกระเป๋า เริ่มต้นเพียงแค่เดือนละ 199 บาท เท่านั้น!

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE