ในช่วงปี 2560 ที่ผ่านมานั้นมีงานประชุมเกี่ยวกับการตลาดที่น่าสนใจในประเทศไทยค่อนข้างมากเลยทีเดียว ด้วยความที่รัฐบาลนั้นต้องการที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ได้อย่างราบรื่น ดังนั้น เราจึงได้เห็นการประชุมต่าง ๆ นี้มากมายกันเลยทีเดียว หนึ่งในการประชุมที่น่าสนใจ ซึ่งทางเราขอยกมารายงานให้ทุกคนได้ศึกษากันนั้นเป็นของ EcommerceIQ ที่จัดร่วมกับ Sasin SEC กับการอภิปรายในหัวข้อเรื่องโปรแกรมการเร่งความเป็นผู้นำทางด้านอีคอมเมิร์ซ หรือ LEAP (Leadership Ecommerce Accelerator Program) ซึ่งได้จัดแบ่งออกเป็นหลายสัปดาห์ แต่ละสัปดาห์จะเป็นอย่างไรนั้นไปติดตามกันได้เลย
การประชุมดังกล่าวนี้ไม่ได้เน้นเฉพาะในส่วนของประเทศไทยเท่านั้น ทว่า การประชุมดังกล่าวนี้มีจุดมุ่งหมายในการยกระดับเรื่องของการทำอีคอมเมิร์ซสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุน และเพื่อพัฒนาต่อยอดการค้าขายให้ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของโลก สำหรับวันแรกของการประชุมนั้นจะมีหัวข้อต่าง ๆ และใจความสำคัญในการประชุมดังต่อไปนี้
1. การบริโภครูปแบบดิจิทัลยุคใหม่ของประเทศไทย สุดยอดแอปพลิเคชันและแนวการตลาด
โดย PAUL SRIVORAKUL ผู้ดำรงตำแหน่ง CEO ของ ACOMMERCE GROUP และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ARDENT CAPITAL
ใจความหลักที่คุณ Paul ได้กล่าวถึงนั้นจะเป็นเรื่องของการเป็นผู้นำในด้านการทำการตลาดแบบองค์รวมผ่านพื้นที่อีคอมเมิร์ซ ซึ่งกลายเป็นที่จับตามองอย่างกว้างขวางในช่วงที่ผ่านมา เพราะการทำธุรกิจรูปแบบอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ได้อยู่เฉพาะบนแพลตฟอร์มรูปแบบสังคมอีกต่อไป แต่ได้ก้าวขึ้นไปดำเนินการผ่านในรูปแบบของแอปพลิเคชันแบบรวม (Super App) ซึ่งมีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนอย่าง LINE ที่มีทั้ง LINE@ สำหรับการโฆษณา, LINE SHOP สำหรับการขายแบบอีคอมเมิร์ซ และ LINE MAN สำหรับการตอบสนองความต้องการในการขนส่งสินค้า ซึ่งจากตัวอย่างดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่าทาง LINE มีการจัดการการขายแบบอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการอื่น ๆ ที่ขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จอย่างมากไม่ว่าจะเป็น Go-Jek, Lazada และ Tokopedia เป็นต้น ซึ่งบริษัทดังกล่าวนั้นต่างต่อสู้เพื่อแย่งฐานจำนวนผู้บริโภคที่มีมากกว่า 200 ล้านรายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา (เฉพาะผู้บริโภคที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้) แน่นอนว่าผู้ประกอบการ SMEs นั้นคงไม่สามารถที่จะลงทุนด้วยเงินมหาศาลเหมือนบริษัทใหญ่ ๆ ดังที่ยกตัวอย่างไปได้ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรจะมุ่งเน้นก็คือ
“ให้ความสำคัญอย่างมากในการสร้างชุมชนรวมกลุ่มในกลุ่มบริษัทย่อยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทผู้ผลิตไปจนถึงบริษัทขนส่งในการแบ่งสันปันส่วน ให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างประสบการณ์ในการซื้อผลิตภัณฑ์และบริการแก่ผู้บริโภคให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
2. เน้นย้ำในส่วนผลิตภัณ์ของคุณว่าคืออะไร
โดย BOUNTHAY KHAMMANYVONG ผู้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทยของบริษัท HONESTBEE
สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่คุณ BOUNTHAY ได้กล่าวเอาไว้ก็คือ การเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ของคุณว่าเป็นอะไร โดยหมายรวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ (ภาพแบรนด์) การให้ความสำคัญกับส่วนต่อประสาน (UX) ของหน้าเว็บไซต์ที่ควรจะมีการแสดงอย่างชัดเจนในส่วนของรูปแบบการใช้งานไม่ว่าจะเป็นส่วนของการแสดงสินค้า การสั่งสินค้า ฯลฯ ซึ่งต้องคำนึงถึงเรื่องการใช้งานง่ายสำหรับผู้บริโภค
อย่างที่บอกไปว่าคุณจำเป็นต้องเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณขายนั้นคืออะไรอย่างแท้จริงเพราะไม่เพียงแค่สามารถนำไปใช้ในการกำหนดกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายได้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คุณสามารถทำได้จากการมีความเข้าในในตัวผลิตภัณ์ของคุณก็คือการได้รู้ว่าคู่แข่งของคุณนั้นมีใครบ้าง ซึ่งในจุดนี้จะทำให้คุณหลีกเลี่ยงการก่อสงครามการตลาดกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
และอีกสิ่งหนึ่งที่ลืมไปไม่ได้เลย นั่นก็คือการค้าขายแบบอีคอมเมิร์ซจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคไม่สามารถหาซื้อทั่วไปแบบไม่ออนไลน์ได้ เพราะไม่อย่างนั้นแล้วโดยปกติทั่วไปผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเลือกการซื้อในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่สามารถจับต้องได้ (หรือสามารถทดสอบได้ก่อนจ่ายเงิน) มากกว่าที่จะซื้อผ่านเว็บไซต์
3. 10 กฎทองคำเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในการประกอบการธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซในฐานะแบรนด์
โดย PRAPONSAK (CAFAE) KUMPOLPUN ผู้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายอีคอมเมิร์ซของ L’OREAL
เนื่องจากการสร้างแบรนด์เป็นกลยุทธ์ดิจิทัลจากกลยุทธ์เริ่มแรก (ตั้งแต่การกำหนดโครงสร้างแผนการธุรกิจ เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจอย่างแท้จริงให้กับทีมอีคอมเมิร์ซภายในบริษัท เพื่อที่จะทำให้สามารถวัด KPIs ได้อย่างถูกต้อง) ซึ่งผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายอีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องถามคำถามที่สำคัญอย่าง
“คุณต้องการทำอะไร เพื่อที่จะทำให้การค้าขายประสบความสำเร็จ” และ “ทำไมคุณถึงต้องทำสิ่งดังกล่าวจากคำถามข้างต้น” ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่คุณดำเนินการตามกลยุทธ์การทำการตลาดแบบอีคอมเมิร์ซ 10 ลำดับต่อไป
สำหรับในส่วนของ L’Oreal เองนั้นได้ให้ความสำคัญในการสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางการมีอีคอมเมิร์ซในช่องทางออนไลน์หลายแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งนั้นจะต้องอยู่ในระดับเกณฑ์การดำเนินการที่ระดับ A+ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อคุณกำหนดหลักการดังกล่าวได้แล้ว คุณจะสามารถเดินหน้าธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซในช่องทางออนไลน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ที่มา : eIQ Insights
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE