สรรพากรตรวจเข้ม ธุรกิจเงินสด ต้องระวัง?

By posted on September 10, 2019 2:03PM

หากใครที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับกรมสรรพากรคงเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการตรวจสอบงบการเงิน หรือการบันทึกบัญชีของผู้ประกอบการที่จะเข้มงวดในตรวจสอบมากยิ่งขึ้น หลังจากวันที่ 30 มิ.ย. 2562 ว่าผู้ประกอบการมีการจัดทำบัญชี หรืองบการเงินที่ถูกต้องตรงกับข้อกำหนดของกรมสรรพากรหรือไม่ โดยจะคัดกรองตามระบบการคัดเลือกผู้เสียภาษีตามระดับความเสี่ยงของงบการเงิน ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ถูกจับตามองมากที่สุดคือกลุ่มธุรกิจที่ใช้เงินสดทำธุรกรรม

เนื่องจากผู้ประกอบการในลักษณะนี้มักใช้วิธีการรวบรวมเงินสดให้เป็นก้อน แล้วค่อยทำการใช้จ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการทำธุรกรรมทางการเงินลักษณะนี้ทางกรมสรรพากรจะเพ่งเล็ง และมองว่าเป็นลักษณะการทำธุรกรรมทางการเงินที่มีความเสี่ยง ที่จำเป็นจะต้องทำการตรวจสอบ โดยใช้มาตรการที่เข้มงวดหากพบว่ามีความผิดก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรงด้วยการคิดค่าปรับอย่างเต็มที่ (อัตราในการปรับจะคิดตามฐานความผิด มีทั้ง 1-2 เท่า ส่วนเงินเพิ่มจะคิดอัตรา 1.5% ต่อเดือน)

หากไม่ต้องการทำบัญชี หรืองบการเงินจะมีผลอย่างไร

อย่างที่ได้บอกไปก่อนหน้านี้แล้วว่าหากไม่ทำงบการเงิน หรือบัญชีให้ถูกต้องสิ่งแรกที่คุณจะต้องเจอเลยคือการตรวจสอบ หากมีความผิดจริงก็เสียค่าปรับ 1 – 2 เท่าและเงินเพิ่มจะถูกคิดในอัตรา 1.5% ต่อเดือน แต่นี่ก็เป็นแค่ผลกระทบเบื้องต้นเพราะนอกจากนี้ทางกรมสรรพากรยังได้จับมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ว่าด้วยการให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งพิจารณาการปล่อยเงินสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ ที่ทำการยื่นงบการเงิน หรือการบัญชีที่ยื่นต่อกรมสรรพากร (ใช้งบที่ยื่นให้กับกรมสรรพากร ยื่นกู้กับธนาคาร) โดยเป็นไปตามพระราชกำหนดการยกเว้น และสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 มาตรา 8 ที่กำหนดไว้ว่า ให้ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562 แน่นอนว่าหากงบการเงิน หรือการทำบัญชีของคุณไม่ถูกต้อง ไม่ผ่านการยื่นต่อกรมสรรพากรมาก่อนการยื่นกู้ต่อธนาคารก็เป็นเรื่องยากที่จะได้รับการอนุมัติ

4 กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้ธุรกิจของคุณ เข้าเกณฑ์หลีกเลี่ยงภาษี

1. สินทรัพย์

สินทรัพย์ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักที่เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรให้ความสนใจเป็นอย่างมาก หากเจ้าของธุรกิจคนใดดำเนินธุรกิจแล้วมีจำนวนสินทรัพย์ผิดปกติ ไม่เป็นธรรมชาติตามที่ผู้ดำเนินธุรกิจทั่วไปพึงกระทำทางกรมสรรพากรจะถือว่าธุรกิจของคุณจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเลี่ยงภาษี

2. หนี้สินและทุน

ภาระหนี้สิน และเงินทุนเป็นส่วนหนึ่งของกิจการที่จะต้องได้รับการจัดการทางบัญชีให้มีความสัมพันธ์กัน เพราะหากสรรพากรทำการตรวจสอบ และพบว่าตัวเลขของเงินทุนและหนี้สินมีความปกติ ธุรกิจของคุณจะได้รับการจับตามองจากกรมสรรพากรได้อย่างง่ายดาย

3. รายได้

ในส่วนของรายได้ปัญหาที่พบคือการบันทึกรายได้ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน สาเหตุหลักที่พบได้บ่อยครั้งจากความผิดพลาดในการบันทึกรายได้คือการขายสินค้า โดยไม่ออกใบกำกับภาษีเป็นต้น

4. ค่าใช้จ่าย

เมื่อธุรกิจของคุณมีรายได้ที่ไม่สมเหตุสมผล ทางกรมสรรพากรก็จะทำการจับตามองธุรกิจของคุณ โดยความไม่สมเหตุสมผลที่ว่านี้ก็จะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ ค่าใช้จ่ายที่สวนทางกับธุรกิจอื่นๆ ที่มีรูปแบบการดำเนินงานประเภทเดียวกัน ณ รอบบัญชีเดียวกัน

หากคุณไม่อยากให้ธุรกิจของคุณเป็นที่จับตามองจากกรมสรรพากรสิ่งที่จะช่วยคุณได้ดีที่สุดคือการจัดทำงบการเงิน และการบัญชีให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไรหากคุณมีตัวช่วยจัดทำบัญชีดีๆ อย่างโปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ SMEMOVE โปรแกรมบัญชีที่จะทำให้คุณบันทึกบัญชี คำนวณภาษี สร้างเอกสารเปิดการขาย ปิดการขายง่ายๆ จ่ายภาษีได้ในที่เดียว ทดลองใช้งานฟรีได้ที่ลิงก์ด้านล่างเลยค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE