รู้จัก ภ.ง.ด.1 คืออะไร ต้องยื่นเมื่อไหร่ พร้อมวิธียื่นแบบออนไลน์

By posted on July 14, 2025 8:24PM
รู้จัก ภ.ง.ด.1 คืออะไร ต้องยื่นเมื่อไหร่ พร้อมวิธียื่นแบบออนไลน์

เจ้าของธุรกิจทั้งมือใหม่และมือเก่า ต้องมีสิ่งที่ต้องทำประจำทุก ๆ เดือน นั่นก็คือ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก เพราะฉะนั้น เราจะพาคุณมา Check – List พร้อมทวนความทรงจำกัน ว่าการยื่น ภ.ง.ด.1 คืออะไร ต้องยื่นแบบไหน แล้วมีกฎระเบียบ หรือข้อบังคับอะไรบ้างที่ทางกรมสรรพากรกรกำหนด เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติในทิศทางเดียวกันทั้งหมด

ภ.ง.ด.1 คืออะไร

ภ.ง.ด.1 คืออะไร?

คำว่า ภ.ง.ด.1 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) กรณีที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ 40(2) ซึ่งการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 จะต้องยื่นเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเท่านั้น นั่นหมายความว่า ทุกบริษัทไม่จำเป็นต้องยื่น ภ.ง.ด.1 ให้กับพนักงานทุกคน จะยึดตามเกณฑ์ของรายและฐานเงินเดือนของพนักงานเท่านั้น และการหักภาษีเงินได้ จะยึดตาม “อัตราภาษีก้าวหน้า” ตั้งแต่ 5% ไปจนถึง 35%

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก

สำหรับ ภ.ง.ด.1 มี 3 ประเภท แต่ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนิติบุคคลหรือบริษัทโดยตรง จะมีเฉพาะ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก เท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย คือ ภ.ง.ด.1ก จะรวมไปถึงเงินอื่น ๆ ของพนักงานด้วย โดยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก จะยื่นในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป โดยต้องสรุปรายได้ทั้งหมดของพนักงานในหนึ่งปี แตกต่างจาก ภ.ง.ด.1 แบบปกติ ที่จะยื่นภายใน 7 วัน นับจากวันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน หรือก็คือนับจากวันที่จ่ายเงินเดือนของพนักงานนั่นเอง และการยื่น ภ.ง.ด.1 จะยื่นเฉพาะพนักงานที่ถึงเกณฑ์เสียภาษีเท่านั้น

“จำแบบง่าย ๆ เลยก็คือ ภ.ง.ด.1ก คือเงินได้ทั้งปี และยื่นแค่ครั้งเดียวเท่านั้น”

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก

กรมสรรพากรกำหนด ให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ทางออนไลน์

ในช่วงที่ผ่านมาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ทางกรมสรรพากรกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ให้นายจ้างหรือนิติบุคคลยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1 ก ทางออนไลน์เท่านั้น ทั้งผ่านทางระบบ e-Filing, e-Withholding Tax หรือสื่อฝากไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ แต่หากนิติบุคคลไหนก็ตามที่ยังต้องการยื่นแบบกระดาษ จะต้องแนบเอกสารประกอบ ว่ามีเหตุผลอะไรถึงไม่สามารถยื่นแบบออนไลน์ตามระเบียบแบบใหม่ได้

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังสามารถนำข้อมูลพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ที่มีเข้าโปรแกรม RD Prep ของทางกรมสรรพากรได้เช่นกัน ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ว่าให้สามารถโอนย้ายข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลในใบแนบแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผ่านทางโปรแกรมได้

การยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ทางออนไลน์

ขั้นตอนการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ทางออนไลน์

สำหรับผู้ที่ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ SMEMOVE สามารถนำส่ง ภ.ง.ด.1 พร้อมโอนย้ายข้อมูล File Text ในโปรแกรมบัญชีออนไลน์ได้ง่าย ๆ หลังจากติดตั้งโปรแกรม RD Prep ลงบนคอมพิวเตอร์แล้ว

  • ทำการดาวน์โหลดไฟล์ Text ของ ภ.ง.ด.1 จากโปรแกรมบัญชี SMEMOVE
  • เข้าสู่โปรแกรม RD Prep ที่ได้ดาวน์โหลดและติดตั้ง หลังจากนั้นให้กดที่คำว่า “โอนย้ายข้อมูล”
  • หลังจากนั้นให้เลือกการโอนย้ายข้อมูล ว่าต้องการยื่นแบบอะไร เช่น ภ.ง.ด.1 หรือ ภ.ง.ด.1ก
  • ให้กรอกข้อมูลของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย พร้อมกดเลือกไฟล์ที่ทำการดาวน์โหลดมาแล้ว และให้ดำเนินการตามขั้นตอนในหน้าโปรแกรมตามปกติ
  • เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นโปรแกรมจะมีการสรุปข้อมูลให้ หากไม่มีแก้ไขให้กด “ถัดไป” ได้เลย
  • นายจ้างจะเห็นข้อมูลของ “สรุปรายการภาษีที่นำส่ง” ทั้งหมด
  • ให้เลือกพิมพ์แบบ “บันทึกข้อมูล” หรือ “บันทึกไฟล์” หลังจากนั้นให้นำไปยื่นในเว็บไซต์ของกรมสรรพากรก็เป็นอันเสร็จสิ้น

หากยื่น ภ.ง.ด.1 ช้า มีบทลงโทษอย่างไร?

แน่นอนว่า หากลืมหรือยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ช้าเกินกำหนด จะมีค่าปรับตามกฎหมาย หากยื่นล่าช้าไม่เกิน 7 วัน จะมีค่าปรับทางอาญา 100 บาท แต่หากเกิน 7 วัน จะมีค่าปรับอยู่ที่ 200 บาท พร้อมกับเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน*ภาษี (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) เรียกง่าย ๆ ว่า หากลืมยื่นแบบหรือยื่นล่าช้า จะมีทั้ง “เบี้ยปรับ” และ “เงินเพิ่ม” เพราะฉะนั้น นายจ้างห้ามลืมและควรดำเนินการยื่นแบบให้ครบ ตามปฏิทินภาษีที่กรมสรรพากรกำหนดทุกครั้ง

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE