เราเชื่อว่าหลายคนคงได้ยินข่าวคราวของภาษีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง มาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ในตอนนี้คุณทราบหรือยังว่าข่าวคราวที่คุณได้ยินมานั้นได้มีการประกาศพระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ให้ถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว
โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้การจัดเก็บภาษีในวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ซึ่งจะมีสาระสำคัญที่คุณควรรู้ทั้งหมดดังนี้
1. ที่ดินสำหรับเกษตรกรรม (เพดานภาษีสูงสุด 0.15%)
ภาษีที่ดินสำหรับการทำเกษตรกรรมอย่างการทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และกิจการอื่นๆ ตามที่ได้ประกาศกำหนด โดยมีอัตราการเรียกเก็บภาษีดังนี้
มูลค่า | ฐานภาษี |
0-75 ล้านบาท | 0.01% |
75-100 ล้านบาท | 0.03% |
100-500 ล้านบาท | 0.05% |
500-1,000 ล้านบาท | 0.07% |
1,000 ล้านบาท | 0.10% |
สำหรับที่ดินที่มีมูลค่า 50 ล้านบาทแรกจะได้รับการยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดา และได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีกับบุคคลธรรมดาใน 3 ปีแรกที่กฎหมายมีผลบังคับใช้จริง
2. ที่พักอาศัย อสังหาริมทรัพย์ (เพดานภาษีสูงสุด 0.3%)
กรณีบ้านหลังหลัก โดยบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของทั้งที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
มูลค่า | ฐานภาษี |
ไม่ถึง 25 ล้านบาท | 0.03% |
25-50 ล้านบาท | 0.05% |
50 ล้านบาท | 0.10% |
กรณีบ้านหลังหลัก โดยบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
มูลค่า | ฐานภาษี |
ไม่ถึง 40 ล้านบาท | 0.02% |
40-65 ล้านบาท | 0.03% |
65-90 ล้านบาท | 0.05% |
90 ล้านบาทขึ้นไป | 0.10% |
กรณีบ้านหลังอื่นๆ
มูลค่า | ฐานภาษี |
ไม่ถึง 50 ล้านบาท | 0.02% |
50-75 ล้านบาท | 0.03% |
75-100 ล้านบาท | 0.05% |
100 ล้านบาทขึ้นไป | 0.10% |
3. ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรม สันทนาการ (เพดานภาษีสูงสุด 1.2%)
มูลค่า | ฐานภาษี |
0-50 ล้านบาท | 0.30% |
50-200 ล้านบาท | 0.40% |
200-1,000 ล้านบาท | 0.50% |
1,000-5,000 ล้านบาท | 0.60% |
เกิน 5,000 ล้านบาท | 0.70% |
4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า (เพดานภาษีสูงสุด 1.2%)
ในส่วนของที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ด้านใดเพดานภาษีจะถูกปรับสูงสุด 1.2% และจะเพิ่มอัตราภาษีขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี โดยอัตราภาษีจะเพิ่มอีก 0.3% ของทุกๆ ปีแต่จะไม่เกินอัตราภาษีสูงสุด 3% ต่อปี
มูลค่า | ฐานภาษี |
0-50 ล้านบาท | 0.30% |
50-200 ล้านบาท | 0.40% |
200-1,000 ล้านบาท | 0.50% |
1,000-5,000 ล้านบาท | 0.60% |
เกิน 5,000 ล้านบาท | 0.70% |
การเก็บภาษีแบบขั้นบันไดจะมีผลบังคับใช้ใน 2 ปีแรก (2563-2564) และในผีต่อๆ ไปจะพิจารณาเก็บภาษีตามอัตราเพดานสูงสุดอีกที
การซื้อขายบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์
การเก็บภาษีแบบขั้นบันไดจะมีผลบังคับใช้ใน 2 ปีแรก (2563-2564) และในผีต่อๆ ไปจะพิจารณาเก็บภาษีตามอัตราเพดานสูงสุดอีกที
เมื่อเกิดการซื้อขายบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ย่อมมีค่าใช้จ่ายในการขายอสังหาริมทรัพย์ โดยส่วนนี้ผู้ขายจะต้องทำการจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมด 4 ส่วนดังนี้
1. ค่าธรรมเนียม 2%
ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จำเป็นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมที่ทำการจดทะเบียนในการโอนกรรมสิทธิ์อัตราร้อยละ 2 จากราคาที่ได้ถูกประเมิน โดยไม่มีข้อยกเว้นหรือลดหย่อนใดๆ เพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ซื้อและผู้ขายทั้งสองฝ่ายมักทำการจ่ายค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง ซึ่งสามารถกำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย
2. ค่าอากร 0.5%
ค่าอากรแสตมป์จะต้องจ่ายในขั้นตอนของการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โดยพิจารณาจากราคาประเมิน และราคาตลาดร่วมกัน โดยเลือกใช้ราคาที่สูงกว่ามาคำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ซึ่งเท่ากับว่าทุก 200 บาทผู้ขายจ่ายจะต้องเสียค่าภาษีอากรแสตมป์ 1 บาท ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ส่วนการยกเว้นค่าอากรนั้นจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
ผู้ขายที่เป็นเจ้าของครอบครองอสังหาริมทรัพย์เป็นเวลาน้อยกว่า 5 ปี จะต้องทำการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3% จากราคาปกติที่ได้รับการประเมิน หรือราคาตลาดขึ้นอยู่กับว่าราคาใดมากกว่ากัน หากคุณครอบครองอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปี มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนานกว่า 1 ปี ถูกเวนคืนที่ดิน บ้าน อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากมรดกจะได้รับการยกเว้นภาษี
4. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
สังหาริมทรัพย์ที่ถูกขายจะนับว่าเป็นรายได้ของผู้ขาย ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ผู้ขายจะรับหน้าที่ในการจ่ายทั้งหมด โดยพิจารณาจากราคาประเมิน และจำนวนปีที่ถือครอง จำนวนปีที่ถือครองจะถูกนับตามรอบบัญชี
ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ถือครอง หรือผู้ขายที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ คุณก็มีหน้าที่เสียภาษีให้ถูกต้อง ดังนั้นอย่าลืมนำความรู้ดีๆ ที่ SMEMOVE นำมาฝากทุกท่านในวันนี้ไปใช้งาน
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE