เรื่องภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สร้างความวุ่นวายให้กับชีวิตของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะเจ้าของกิจการที่มักจะพบว่าปัญหาการจ่ายภาษีนี่มันช่างยุ่งยาก เยอะแยะไปหมดไม่รู้ภาษีอะไรเป็นอะไร ตัวไหนต้องจ่ายต้องยื่นบ้างก็ไม่แน่ใจ วันนี้ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเพราะ SMEMOVE จะพาทุกคนมาพบกับเรื่องราวของภาษี ที่คนทำธุรกิจควรมาทำความรู้จัก
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีที่มีรูปแบบในการเรียกเก็บจากนิติบุคคล หรือบุคคลที่กฎหมายสมมติให้มีสภาพบุคคล เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา สำหรับการเสียภาษีในประเภทนี้จะเก็บกับผู้ที่ทำธุรกิจแบบจดทะเบียนในรูปแบบของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน โดยกิจการมีหน้าที่ในการเสียภาษี ซึ่งสามารถทำการเสียภาษีได้ 2 รูปแบบคือแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ภาษีสำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดระบบบัญชี และแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ที่ต้องยื่นภายในสองเดือนหลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปี
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีนี้เราเชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นเคยกันไม่มากก็น้อย ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือภาษีที่ถูกหักไว้ “ล่วงหน้า” ที่สามารถทำการขอคืนได้ในภายหลัง โดยกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ในการจ่ายเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือผู้ที่จ่ายเงินให้กับกิจการ (ผู้ที่ซื้อสินค้า หรือบริการ) ส่วนผู้ที่มีหน้าที่หัก และนำส่งภาษีคือเจ้าของกิจการที่ทำการขายสินค้า หรือบริการออกไป โดยอัตราการหักก็เป็นไปตามประเภทของเงินได้แต่ละตัวที่มีความแตกต่างกัน
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
หนึ่งในภาษีที่ใกล้ตัวที่ทุกคนจะต้องเจอเพราะเพียงแค่คุณทำการซื้อสินค้ากินใช้ในชีวิตประจำวันภาษีประเภทนี้จะถูกหักจ่ายโดยอัตโนมัติ ในส่วนของเจ้าของธุรกิจภาษีนี้จะถูกเก็บจากมูลค่าเพิ่มจากคนทำธุรกิจ หรือผู้ให้บริการประเภทต่างๆ ส่วนผู้ที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือผู้ประกอบการ ผู้นำเข้าสินค้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ที่มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ไม่ว่ากิจการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีที่มีรูปแบบการเก็บแบบเฉพาะเจาะจงที่จะเก็บกับกิจการที่มีรูปแบบการดำเนินการเฉพาะตัวอย่าง กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ อสังหาริมทรัพย์ ส่วนใครที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจในลักษณะที่ได้บอกไปข้างต้นก็ข้ามภาษีในข้อนี้ไปได้เลย
5. อากรแสตมป์
สำหรับอากรแสตมป์นั้น ถือเป็นค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกจัดให้เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง โดยทำการเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน ตาม 28 ลักษณะที่ถูกกำหนดไว้ในบัญชีอากรแสตมป์ โดยจะใช้การขีดฆ่าเพื่อแสดงถึงการใช้แสตมป์ดังกล่าว
เมื่อธุรกิจมีหลากหลายประเภท และรูปแบบการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ธุรกิจแต่ละแบบจึงมีรูปแบบการเสียภาษีที่แตกต่างกันไปเช่น ธุรกิจที่จัดจำหน่ายขายสินค้า กับธุรกิจที่ขายบริการหากมองเผินๆ การเสียภาษีของธุรกิจทั้ง 2 รูปแบบอาจเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน อย่างภาษีที่เก็บกับธุรกิจที่ทำการขายสินค้าส่วนใหญ่จะต้องเสียภาษี 4 ประเภท ยกเว้นภาษีธุรกิจจำเพาะ (ภาษีธุรกิจเฉพาะ) แต่ในกรณีที่ธุรกิจขายสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ก็จะต้องเสียภาษีธุรกิจจำเพาะด้วย
ตัวอย่างกิจการที่ขายบริการ และต้องทำการเสียภาษีจำเพาะ
– การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ
– การประกอบธุรกิจประเภทหลักทรัพย์ เงินทุน เครดิตฟองซิเอร์
– การรับประกันชีวิต
– การรับจำนำของ
– การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่นการปล่อยให้กู้ยืม การแลกเปลี่ยนเงินตรา ออกตั๋ว ขายตั๋วเงิน การรับส่งไปต่างประเทศด้วยวิธีการต่างๆ
การเสียภาษีที่ถูกต้องจะต้องมีการจัดการงานด้านการบัญชีที่ดี การจัดทำบัญชีที่ดีจะต้องมีพนักงาน และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ SMEMOVE หนึ่งในเครื่องมือจัดการงานด้านบัญชีที่ดีที่สุด ที่คุณควรมีไว้ใช้ในงานการจัดการบัญชี ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเล็กหรือใหญ่ จะซื้อมาขายไป หรือขายบริการ SMEMOVE ก็สามารถช่วยคุณจัดการงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ จะเปิดการขายสร้างใบเสนอราคา ทำใบเสร็จรับเงิน สรุปงบบัญชี จ่ายเงินเดือนพนักงาน ครบจบที่ SMEMOVE ที่เดียว
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE