ในช่วงต้นๆ ปี 2561 ที่ผ่านมานี้บรรดาพ่อค้าแม่ขายออนไลน์ทั้งหลายคงจะได้ยินข่าวที่ทำให้ธุรกิจของตัวเองสั่นสะเทือนมาบ้างแล้ว เพราะทางกรมสรรพากรได้เตรียมตัวออก (ร่าง) กฎหมายเรียกเก็บภาษีจากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งหลาย โดยใช้ข้อมูลจากธนาคารที่เราทุกคนกำลังใช้งานอยู่
เป็นตัวช่วยในการตรวจสอบข้อมูลทางการเงิน หรือธุรกรรมทางการเงินทุกรายการที่เกิดขึ้นจริงภายในบัญชีของคุณไม่ว่าจะเป็นการฝาก การถอน การโอนเข้า ออก ทั้งหมดเพื่อนำมาวิเคราะห์ คัดแยกบุคคลธรรมดากับผู้ที่ค้าขายออนไลน์ ทำธุรกิจผิดกฎหมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อย่าเพิ่งตื่นตกใจกันไปมากนักเพราะตัวกฎหมายยังไม่มีการประกาศใช้งานจริง ที่มีข่าวคราวออกมาก็เป็นเพียงแค่การร่างกฎหมายออกมาเพื่อฟังประชาพิจารณ์ เมื่อเดือนเมษายน 2561 เท่านั้น ส่วนเนื้อหาสำคัญที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกคนต้องรู้ ก็คือ
กฎหมายกำหนดให้ธนาคารนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรในกรณีที่
- พบบัญชีที่มีรายการรับเงินมากกว่า 200 ครั้งต่อปี และมียอดรวมของการทำธุรกรรมฝากเงิน รับ โอน มากกว่า 2,000,000 บาทขึ้นไป (ยอดรวม)
- มีการทำการฝาก รับ โอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง
ซึ่งทางธนาคารจะต้องทำการรายงานกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของทุกปี เนื่องจากทั้ง 2 กรณีเข้าข่ายเป็นบัญชีของบุคคลที่มีการธุรกรรมลักษณะพิเศษหรือเพื่อการค้า หากจะถามว่ากฎหมายตัวนี้บังคับใช้กับคนที่ขายของออนไลน์เท่านั้นหรือ เราขอตอบเลยว่าไม่ เพราะกฎหมายตัวนี้จะบังคับใช้กับทุกคนที่เข้าข่ายตาม 2 กรณีที่ได้กล่าวไปข้างต้น
จะรับมืออย่างไรหากกฎหมายถูกนำมาใช้จริง
อย่างที่บอกไปข้างต้นกฎหมายตัวนี้จะถูกบังคับใช้กับผู้ที่มีธุรกรรมทางการเงินเข้าข่ายเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากใครที่กำลังรู้สึกกังวลใจ หรือรู้สึกว่าตัวเองเข้าข่ายทั้ง 2 กรณีข้างต้นแน่นอน เราขอแนะนำให้คุณทำบัญชีรายรับ รายจ่าย หากเกิดการตรวจสอบ คุณก็จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าเงินที่คุณได้รับมามีที่มาที่ไปอย่างไรเท่านี้คุณก็ผ่านการตรวจสอบแล้ว และสำหรับกรณีที่คุณเสียภาษีอย่างถูกต้อง คุณก็ควรจัดเก็บหลักฐานให้ครบถ้วนด้วย
หากกฎหมายผ่านก็คาดว่าจะถูกนำมาใช้จริงในปี 2563 โดยทางธนาคารจะนำส่งข้อมูลธุรกรรมการเงินให้กับกรมสรรพากร ซึ่งจะเป็นรายการทำธุรกรรมทางการเงินของปี 2562 ทั้งปี แต่ทั้งหมดที่เราได้กล่าวมายังเป็นการคาดการณ์ เพราะตอนนี้กฎหมายตัวนี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติเพื่อนำออกมาใช้งานแต่อย่างใด
ล่าสุดในปี 2562 นี้
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าภาษีขายออนไลน์ ที่เรากำลังติดตามข่าวคราวกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปีที่แล้ว ในปีนี้กฎหมายหรือร่างนี้ก็ได้มีผลบังคับใช้งานจริงแล้ว โดยกฎหมายนี้มีชื่อว่ากฎหมาย ภาษีอีเพย์เมนต์ หรือพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ซึ่งเงื่อนไขก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
- มีจำนวนครั้งในการทำธุรกรรมทางการเงิน การฝากเข้า การรับโอน ตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไปภายในระยะเวลา 1 ปี โดยไม่เกี่ยวกับจำนวนเงิน
- จำนวนรายการธุรกรรมทางการเงินการฝากเข้า หรือการรับโอนเข้าทุกบัญชีที่มีชื่อเจ้าของบัญชีเดียวกันตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป ภายในระยะเวลา 1 ปี และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไปภายในระยะเวลา 1 ปี โดยกฎหมายจะบังคับใช้เมื่อมีรายการธุรกรรมทางการเงิน และจำนวนเงินที่ตรงตามเงื่อนไขทั้งสองข้อ
สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ภาษีอีเพย์เมนต์
- ข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินที่จะถูกตรวจสอบ จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการฝากเข้า และการรับโอนเข้าเท่านั้น การถอน หรือการโอนออกจะไม่ถูกนับ
- ในกรณีที่เปิดบัญชีต่างธนาคารแต่มีชื่อเจ้าของบัญชีเดียวกัน ทางธนาคารแต่ละเจ้าจะทำการตรวจสอบ และส่งมอบข้อมูลเฉพาะที่ตรงตามเงื่อนไข ภายในธนาคารของตัวเองเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ธนาคารหมายเลข 1 ผู้เป็นเจ้าของบัญชีเปิดไว้ 3 บัญชี รายการที่เกิดขึ้นทุกบัญชี ภายในธนาคารเจ้านี้จะถูกนับรวมกัน หากเข้าตามเงื่อนไขก็จะถูกนำส่ง
- การนำส่งข้อมูลของแต่ละธนาคารจะถูกนับแยกกัน หากธนาคารใดมียอดการโอน ฝากเข้า ตรงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดก็จะต้องนำส่งข้อมูลให้กับสรรพากรตรวจสอบ
จากเงื่อนไข และข้อมูลทั้งหมดที่คุณได้อ่านมาคงจะพอทำให้คุณทราบได้ว่าการทำบัญชี การรับเงิน ควรมีหลักฐานที่มาที่ไปให้ชัดเจนมากที่สุด เมื่อถูกตรวจสอบจะได้ไม่เกิดความยุ่งยากในภายหลัง โดยเฉพาะการขายออนไลน์การทำบัญชีด้วยทุนเดิมนับว่ามีความสำคัญอยู่แล้ว เมื่อมีผลบังคับใช้กฎหมายนี้การทำบัญชีจึงถือได้ว่าเป็นส่งสำคัญยิ่ง
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่เชี่ยวชาญด้านการทำบัญชี โปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ SMEMOVE จะเข้ามาเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการช่วยทำบัญชีให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งคุณสามารถเรียกดูงบการเงินได้แบบ REAL-TIME และบันทึกบัญชีได้อัตโนมัติ เพียงแค่เปิดเอกสารซื้อ ขาย จ่าย ง่ายทั้งในเรื่องการทำบัญชีและง่ายทั้งในเรื่องการตรวจสอบต้องโปรแกรมบัญชีออนไลน์ของ SMEMOVE เท่านั้น
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE