เช็คใบกำกับภาษีให้ชัวร์ หากกลัวสรรพากรสอบ
ถ้าใครเคยไปซื้อของในโลตัสหรือเซเว่น มักจะมีกระดาษเล็กๆที่เรียกว่าสลิปติดมาด้วยตลอด เคยสงสัยกันมั๊ยว่ากระดาษใบเล็กๆนี้พนักงานขายของเขาให้มาทำไม และมีประโยชน์อะไรบ้าง
สลิปหรือใบเสร็จที่เห็นนี้คือใบกำกับภาษีนั่นเอง แต่มันคือใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงกับสรรพากรได้ ส่วนใบกำกับภาษีที่ใช้ยื่นเป็นหลักฐานแสดงค่าใช้จ่ายกับสรรพากรได้นั้นต้องอยู่ในรูปแบบของใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ สามารถนำไปยื่นขอคืนภาษีและบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้
ใบกำกับภาษีแบบเต็มนั้นเป็นเอกสารสำคัญที่จะมีขึ้นเมื่อเกิดการซื้อขายสินค้าหรือบริการ เป็นเอกสารทำหน้าที่แสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและภาษีที่คิดกับลูกค้า ใบกำกับภาษีแบบเต็มที่สามารถใช้เห็นหลักฐานกับสรรพากรได้นั้น ต้องมีกำหนดรูปแบบ ดังต่อไปนี้
- เห็นคำว่า”ใบกำกับภาษี” ชัดเจน
- มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รวมถึงชื่อที่อยู่ของผู้ขายสินค้าหรือบริการ
- กรณีที่ออกเอกสารอื่นประกอบชุดของใบกำกับภาษี จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “ต้นฉบับ” ในใบกำกับภาษี
- ชื่อหรือชื่อย่อและที่อยู่ของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ
- ชื่อหรือชื่อย่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
- ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ(โดยเฉพาะผู้ซื้อที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- ระบุ “สำนักงานใหญ่” หรือ “สาขาที่…”ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
- วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี
- เลขที่ เล่มที่(ถ้ามี) ของใบกำกับภาษี
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และจำนวนเงินมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
- จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คิดจากมูลค่าสินค้าหรือบริการ โดยแยกแสดงจำนวน vat แยกจากมูลค่าหรือบริการให้เห็นอย่างชัดเจน
ส่วนใบกำกับภาษีอย่างย่อนั้นให้สังเกตว่าจะมีข้อมูลน้อยกว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นใบกำกับภาษีในการซื้อสินค้าและบริการในคราวเดียวกัน แต่ใบกำกับภาษีแบบย่อนั้นไม่สามารถใช้แทนใบกำกับภาษีแบบเต็มเพื่อไปขอคืนภาษีหรือหักออกจากภาษีขายได้นะ ใบกำกับภาษีแบบย่อจะประกอบด้วยข้อมูลหลักๆดังต่อไปนี้
- เห็นคำว่า”ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” ชัดเจน
- ชื่อและที่อยู่และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้าหรือบริการ
- เลขที่ เล่มที่(ถ้ามี) ของใบกำกับภาษี
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และจำนวนเงินมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
- ราคาสินค้าหรือค่าบริการ ระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
- วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี
เอกสารตัวอย่าง
ปัญหาเกี่ยวกับใบกำกับภาษีที่มักจะเจอกันบ่อยๆคือใบกำกับภาษีปลอม นอกจากที่จะตรวจสอบให้มีข้อมูลครบ 11 ข้อตามด้านบนแล้ว จะต้องตรวจสอบข้อมูลอะไรอีกบ้าง
ตรวจสอบสิทธิของผู้ออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีนั้นต้องออกโดยธุรกิจที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเท่านั้น นอกจากนี้แล้วจะไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี หรือหากออกมาแล้วนั้นจะถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอมนั่นเอง
ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วน ใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นต้องมีข้อมูลครบถ้วนและข้อมูลต้องถูกต้องด้วย ดังนั้นเมื่อรับใบกำกับภาษีแบบเต็มมานั้น ก็ต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วน เพราะหากเกิดความผิดพลาดใดๆแล้วจะเสียเวลาในการขอใบกำกับภาษีกันใหม่ ซึ่งเป็นการเสียเวลามากๆ
ตรวจสอบความถูกต้องของเวลา การออกใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้านั้นจะออกก็ต่อเมื่อได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าและได้รับชำระราคาแล้วเท่านั้น ส่วนการออกใบกำกับภาษีสำหรับค่าบริการจะออกก็ต่อเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการแล้ว หากไม่ทำตามนี้ก็จะมีความผิดต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายกำหนด
อย่าลืมนะ เมื่อได้รับใบกำกับภาษีแล้ว ถ้าอยากได้ใบกำกับภาษีที่ถูกชัวร์ไม่มั่วนิ่ม ต้องเช็กข้อมูลให้ครบและถูกต้อง เช็กสิทธิ์ผู้ออกใบกำกับภาษี และเช็กความถูกต้องของเวลา เช็กให้ครบตามนี้จึงจะสบายใจได้ ไม่ต้องกลัวสรรพากรอีกต่อไป หรือถ้าอยากศึกษาเกี่ยวกับใบกำกับภาษีอื่น สามารถทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี SMEMOVE ได้เลย เพราะมีหน้าตาเอกสารให้ศึกษาได้เลย เน้นย้ำด้วยว่าทดลองใช้งานฟรีตลอดชีพ ถ้าสนใจสามารถกดตามลิงก์ด้านล่างได้เลย
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE