บทเรียนในการแสวงหาภูมิปัญญาโดย Peter Bevelin

By posted on August 16, 2019 11:08PM

เชื่อว่าการตัดสินใจอะไรสักอย่างที่สำคัญมาก ๆ นั้น ส่วนใหญ่แล้วเรา ๆ ท่าน ๆ มักจะต้องคิดหนักกันพอสมควรว่าควรจะทำอย่างไร และจำเป็นต้องใช้ปัจจัยอะไรเข้ามาร่วมบ้าง โดยปกติแล้วการตัดสินใจอะไรสักอย่างนั้นเรามักจะใช้ความรู้ที่เรามีอยู่พร้อมด้วยสัญชาตญาณการเป็นผู้ล่าของมนุษย์ (ที่พวกเรามีอยู่กันทุกคน) มาใช้ในการตัดสินใจ แน่นอนว่าเรื่องดังกล่าวนี้ถือเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อเสียอย่างรุนแรงของการใช้สัญชาตญาณมนุษย์มาตัดสินใจอะไรสักอย่างนั้น เราจะไม่มีวิวัฒนาการให้ก้าวทันกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ วัน

อย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็มีข้อดีอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือมนุษย์สามารถพัฒนาตัวเองได้ด้วยการศึกษา และเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้หรือภูมิปัญญาที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของเรานั้น ตอนแรกเราจะต้องหลีกเลี่ยงการหลอกตัวเองก่อน ซึ่งสิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยงตามที่คุณ Peter Bevelin เขียนไว้ในหนังสือ Seeking Wisdom นั้นน่าสนใจมาก ดังนี้

  1. มีอคติกับองค์กร
  2. ประเมินพลังแห่งผลตอบแทนและการลงโทษน้อยเกินไป
  3. ประเมินความลำเอียงจากความสนใจของตัวเองน้อยเกินไป
  4. ความลำเอียงตัวเองในเรื่องการแสดงตนโดยมองตัวเองแต่ในแง่ดี
  5. หลอกลวงและปฏิเสธตัวเอง โดยเอาแต่คิดตั้งความหวัง (โดยที่ไม่ทำ)
  6. มีอคติอยู่เสมอ
  7. คิดอคติอยู่แต่กับเรื่องเดิมและเป็นโรคไม่คิดจะทำอะไรเลย
  8. การขาดความอดทน
  9. มีอคติจากความอิจฉาริษยาผู้อื่น
  10. ตัดสินโดยการเปรียบเทียบแทนที่จะให้ค่ากับความสมบูรณ์เพื่อใช้ในการตัดสินมากกว่า
  11. มีความลำเอียงจากการยุติการกระทำและการปรับตัว
  12. มีความคิดอคติใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิตและพร้อมที่จะใช้มันในการตัดสินใจตลอดเวลา
  13. มีอคติใหม่ ๆ ที่พร้อมนำมาใช้อยู่ตลอดเวลา
  14. ทำตัวละเลยหรือแกล้งทำเป็นไม่เห็นผู้อื่นที่เขาไม่ได้พูดว่าอะไรเรา
  15. มีอคติจากแนวโน้มในทางกลับกันจากสิ่งที่ไม่ตรงกับที่ตัวเองต้องการ
  16. มีอคติจากอิทธิพลที่มากกว่าแนวโน้มความชอบที่เป็นของตัวเองจริง ๆ
  17. มีอคติจากอิทธิพลทางสังคม
  18. มีอคติจากอิทธิพลอำนาจ
  19. ชอบสร้างคำอธิบายที่เหมาะสมกับผลลัพธ์จากการกระทำของตัวเอง
  20. ยอมรับเหตุผลสำหรับการกระทำใด ๆ ที่คนอื่นยกเหตุผลนั้นมาบอกเอาไว้โดยไม่วิเคราะห์ก่อน
  21. เชื่อทันที่ที่มีอะไรเข้ามาแล้วไปสงสัยเอาในตอนหลัง
  22. สร้างข้อจำกัดการรับรู้ตนเองจากอิทธิพลของสิ่งที่ได้มาจากข้อเสนอแนะของผู้อื่น
  23. มีอคติในการที่จะลงมือทำอะไรสักอย่าง
  24. มีความสับสนทางจิตใจจากความรู้สึกจำเป็นต้องพูดอะไรบางอย่าง
  25. มีความสับสนทางจิตใจจากการโดนกระตุ้นอารมณ์
  26. มีความสับสนทางจิตใจจากความเครียดที่เกิดขึ้น
  27. มีความสับสนทางจิตใจจากความเจ็บปวดทางกายหรือจิตใจ รวมถึงอิทธิพลของรัฐ
  28. มีความลำเอียงจากการที่จะต้องทำอะไรบางอย่างในเวลาเดียวกัน หรือต้องทำงานใด ๆ ร่วมกันเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

อันที่จริงแล้วจะเห็นได้ว่าข้อห้ามที่ไม่ควรทำสำหรับการแสวงหาความรู้หรือภูมิปัญญาใหม่ ๆ ให้กับตัวเองนั้น โดยทั่วไปแล้วจะเกี่ยวข้องกับอคติและความลำเอียงของตัวเองทั้งนั้น สิ่งที่ทำให้เกิดอคติและความลำเอียงดังกล่าวนั้นเนื่องมาจากว่าในชีวิตเรานั้นอาจจะต้องพบเจอและผ่านประสบการณ์อะไรหลาย ๆ อย่าง ซึ่งต้องมีทั้งดีและไม่ดีแล้วเก็บมันอยู่ในความทรงจำของตัวเอง ทั้งนี้ การจะปรับให้เราเปิดรับกับสิ่งใหม่ ๆ ได้นั้น เราควรที่จะต้องเข้าใจสิ่งที่คุณ Peter Bevelin ยกไว้ว่าเป็นบาปของความทรงจำทั้ง 7 ข้อดังต่อไปนี้

  1. ความทรงจำของเราอ่อนตัวและเสื่อมลงเมื่อเวลาผ่านไป
  2. เรามัวแต่หมกมุ่นอยู่กับประเด็นที่ทำให้ไขว้เขวและไม่ได้มุ่งเน้นไปยังสิ่งที่ต้องจดจำ
  3. เรามัวแต่ค้นหาข้อมูลในสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่มองหาความรู้ใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มเติม
  4. เรากำหนดความทรงจำให้กับแหล่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
  5. ความทรงจำจะถูกฝังจากคำถาม คำติชม หรือข้อเสนอแนะ ซึ่งเมื่อเราจะดึงข้อมูลออกมาใช้ เราจะคิดถึงแต่เรื่องนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา
  6. ความรู้ในปัจจุบันของเราได้รับอิทธิพลมาจากวิธีการที่เราจำอดีตของเรา
  7. เรามักจะระลึกถึงเหตุการณ์ที่น่ารำคาญ (หรือที่เราประสบมาแล้วมันไม่ดี) ที่เราต้องการกำจัดออกจากจิตใจของเราทั้งหมด

คำกล่าวที่ว่าไม่มีใครแก่เกินเรียนนั้นถือได้ว่าเป็นความจริงที่แสนพิเศษของมนุษย์เราครับ แม้ว่าในอดีตเราอาจจะมีความทรงจำที่แย่ ๆ หรือผิด ๆ มามากมาย แต่ใช่ว่ามนุษย์เรานั้นจะไม่สามารถสร้างความทรงจำใหม่ ๆ ที่ดีหรือมีประโยชน์ได้ เราอาจจะเคยโดนใครหลายคนมาว่าเราเป็นคนโง่ ฯลฯ ที่เป็นการดูถูกเหยียดหยาม ทว่าทางคุณ Peter Bevelin ก็ได้ให้คำแนะนำในการก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองเอาไว้ 3 ข้อ ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  1. คุณสามารถเรียนรู้ที่จะทำผิดพลาดน้อยลงและแก้ไขปัญหาได้เร็วขึ้น และเรียนรู้วิธีจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ดีขึ้น ซึ่งบางครั้งคุณต้องยอมจากลากับสิ่งที่คุณรักมาก ๆ เพื่อเปิดตัวเองให้สามารถพบกับสิ่งใหม่ ๆ
  2. เราควรจะต้องมีการวิเคราะห์แบบสองทาง คือ 1. ปัจจัยที่ควบคุมความสนใจที่เกี่ยวข้องคืออะไร และ 2. สิ่งที่มีอิทธิพลต่อจิตใต้สำนึกซึ่งสมองกำลังทำสิ่งต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นอาจเป็นสาเหตุการตัดสินทางจิตวิทยาที่ทำให้เราตัดสินใจอะไรผิดไป
  3. ใช้แบบจำลองหลักทั้งหมดจากจิตวิทยาและใช้เป็นรายการตรวจสอบในการตรวจสอบผลลัพธ์ และคุณต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผลของ Lollapalooza แบบผสมผสาน

จิดใจของเรานั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้ามาช่วยทำให้เราเปิดหรือไม่เปิดตัวเองให้รับสิ่งใหม่ ๆ ได้ เพื่อให้เราควบคุมจิตใจเราให้เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ นั้น คุณควรหยุดความสนใจปัจจัยที่ทำให้คุณไขว้เขว และต้องไม่คิดว่าการตัดสินใจต่าง ๆ ของคุณนั้นจะทำให้ระบบการใช้ชีวิตของคุณเปลี่ยนแปลงไปอย่างใด ให้คุณเปิดใจให้กว้างแล้วมองดูว่าสิ่งใหม่ ๆ ต่าง ๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตของคุณนั้นมีประโยชน์ในด้านไหนกับการใช้ชีวิตของคุณได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม และที่สำคัญที่สุดก็คือให้พยายามคิดบวกเข้าไว้กับการรับสิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาในชีวิต

ที่มา : nateliason

แม้การเข้าใจสิ่งใหม่ ๆ อาจจะยากและใช้เวลา แต่ถ้าคุณยังยุ่งไม่มีเวลาทำสิ่งอื่นนอกจากสิ่งเดิม ๆ แล้วจะรับสิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นให้ SMEMOVE เป็นตัวช่วยคุณ ซึ่งจะช่วยให้เวลาในการทำงานนั้นสั้นลง เพิ่มโอกาสในการตัดสินใจจากการ REPORT แบบ REAL-TIME แถมยังราคาประหยัดอีกด้วย ถ้าสนใจสามารถกดตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลย

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE