ลาออกจากงานประจำ ควรรักษาสิทธิประกันสังคม ม.33 ต่อหรือไม่?

By posted on October 7, 2024 8:31PM
ลาออกจากงานประจำ ควรรักษาสิทธิประกันสังคม ม.33 ต่อหรือไม่?

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีแพลนอยากลาออกจากงานประจำ เพื่อไปประกอบอาชีพอิสระ เป็นฟรีแลนซ์ หรือว่าไปทำธุรกิจส่วนตัว หรืออยากลาออกไปพักแล้วค่อยหางานใหม่ทำ เชื่อว่าคำถามที่หลายคนสงสัยมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้น “หากลาออกจากงาน ประกันสังคมยังใช้ได้ไหม แล้วจะทำยังไงต่อดี?” เพราะฉะนั้น ทาง SMEMOVE จะมาไขทุกข้อสงสัยกัน ว่าหากพนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือนตัดสินใจลาออกจากงานแล้ว ประกันสังคมมาตรา 33 ที่มีอยู่จะทำอย่างไรได้บ้าง ต้องแจ้งลาออกประกันสังคมหรือไม่ แล้วหากส่งต่อจะดีหรือไม่ แล้วสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน?

รู้จักประกันสังคม คืออะไร ทำไมมนุษย์เงินเดือนต้องมี?

รู้จักประกันสังคม คืออะไร ทำไมมนุษย์เงินเดือนต้องมี?

ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตให้กับสมาชิกหรือผู้ที่มีรายได้ โดยจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น การเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร เสียชีวิต สงเคราะห์ ชราภาพ และการว่างงาน ซึ่งผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม จะได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลและมีการทดแทนรายได้ให้ตามมาตรานั้น ๆ

โดยลูกจ้างบริษัทเอกชน เป็นถือว่าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยนายจ้างจะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานประกันสังคมให้กับลูกจ้าง โดยสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองของประกันสังคมมาตรา 33 นั้น จะครอบคลุมมากที่สุด และการสมทบเงินเข้าสู่กองทุนประกันสังคม จะคิดเป็นอัตราส่วน 5% ของเงินเดือน โดยคำนวณฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยยอดสูงสุดที่ลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบ ม.33 คือเดือนละ 750 บาท

แน่นอนว่า ประกันสังคมนั้น ยังถือว่าเป็นการออมเงินภาคบังคับ ที่รัฐบาลสนับสนุนให้คนไทยทุกคนมีหลักประกันในการใช้ชีวิต มีความมั่นคงให้กับคนในครอบครัว ทั้งยังมีเงินเกษียณด้วย นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อีกหลายด้าน เช่น หากเจ็บป่วยก็สามารถเบิกได้ตามสิทธิ สามารถทำฟันได้ หรือหากว่างงานก็มีเงินสมทบให้ และที่ขาดไม่ได้คือ สามารถใช้ประกอบการลดหย่อนภาษีในการยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดาได้อีกด้วย ซึ่งก็ถือว่ามีบทบาทมาก ๆ ต่อพนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือนทุก ๆ คน

ลาออกจากงานประจำ ต้องทำยังไงกับประกันสังคม?

แต่กรณีที่ลูกจ้างต้องการลาออกจากงานประจำ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ สามารถเลือกได้ว่า จะทำประกันสังคมต่อ หรือว่าจะแจ้งออกจากกองทุนประกันสังคมก็ได้เช่นกัน เพราะการลาออกจากงานก็เหมือนกับการลาออกจากประกันสังคมมาตรา 33 ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น เพื่อให้เข้าใจการจัดการกับประกันสังคมให้ได้มากขึ้น เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะลาออกจากงาน ทาง SMEMOVE จะสรุปให้ดูแบบง่าย ๆ ว่าสามารถทำประกันสังคมต่อในมาตราไหนได้บ้าง

สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40

1. ประกันสังคมมาตรา 39

วิธีที่ 1 ที่ผู้ประกันตนที่ยังคงอยากรักษาสิทธิของประกันสังคมเอาไว้อยู่ สามารถเลือกทำประกันสังคมมาตรา 39 ต่อได้ แทนมาตรา 33 ที่มีอยู่ โดยวิธีการนี้ผู้ที่ลาออกมาประกอบอาชีพอิสระ หรือว่า Freelance จะต้องสบสมเงินเข้ากองทุนประกันสังคมด้วยตัวเอง โดยสมทบเดือนละ 432 บาท ซึ่งผู้ประกันตนสามารถยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานประกันสังคมได้ด้วยตัวเองภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ลาออกจากงาน

แน่นอนว่า ผู้ประกันตนมาตรา 39 นี้ หากสมทบเงินประกันสังคมครบ 60 เดือน ก็จะยังคงได้รับเงินคืนชราภาพเช่นเดิม แต่ว่าจะได้รับเงินบำนาญน้อยลงมาก หากเทียบกับประกันสังคมมาตรา 33 ส่วนสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ของมาตรา 39 ที่ได้รับ ก็ยังถือว่าเกือบเทียบเท่ากับมาตรา 33 แต่จะต่างกันเรื่องการรับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ที่จะมีเพียงผู้ประกันตนในมาตรา 33 ได้รับเท่านั้น

2. ประกันสังคมมาตรา 40

ส่วนถ้าใครที่ลาออกจากงานมาเป็นฟรีแลนซ์หรือว่าค้าขายเต็มตัว สามารถยื่นเป็นผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมมาตรา 40 ได้เช่นกัน ซึ่งมาตรานี้มีขึ้นมาเพื่อทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระหรือว่าค้าขาย ที่ไม่ได้มีนายจ้างสามารถเป็นผู้ประกันตนได้ โดยเงินสมทบของมาตรา 40 นี้ สามารถเลือกได้ว่าจะสมทบเท่าไหร่ โดยมีตั้งแต่ 70 บาท, 100 บาท และ 300 บาท หรือจะเลือกสมทบแบบรายปีก็ได้ โดยสามารถสมทบได้ตั้งแต่ปีละ 840 บาท, 1,200 บาท และ 3,600 บาท

โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับของผู้ประกันตนมาตรา 40 ก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่เลือกสมทบ ข้อดีของมาตรานี้คือสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้บางส่วน แต่กลุ่มค่ารักษาพยาบาลจะต้องไปใช้สิทธิบัตรทองหรือว่าชำระค่ารักษาพยาบาลด้วยตัวเอง

และถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับค่ารักษาพยาบาล แต่ว่าก็จะได้รับเป็นเงินชดเชยแทน ส่วนเงินคืนชราภาพของผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคมมาตรา 40 นี้ จะได้รับเงินจากมาตรา 33 คืนเหมือนเดิมตามที่เคยได้สมทบไป รวมกับมาตรา 40 อีกหนึ่งส่วน เพราะฉะนั้น หกใครที่ลาออกจากงานประจำแล้วมาต่อมาตรา 40 อาจจะต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมการรักษาพยาบาลมากขึ้น

3. ไม่ต่อประกันสังคม

สำหรับผู้ที่เลือกลาออกจากงานประจำและตัดสินใจแล้วว่า “จะไม่ต่อประกันสังคม” ก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรเลยจากกองทุนประกันสังคม แต่ว่าจะได้รับเงินจากกองทุนประกันสังคมมาตรา 33 ที่เคยสมทบไปกลับคืนมา ซึ่งข้อดีคือจะได้รับเงินคืนมาแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย สามารถนำเงินที่ได้หลังแจ้งลาออกประกันสังคมไปต่อยอดในด้านอื่น ๆ หรือว่าซื้อประกันสุขภาพเองได้

หมายเหตุ : ผู้ที่เป็นฟรีแลนซ์หรือประกอบอาชีพอิสระมาตั้งแต่แรก แล้วต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ หรือสมัครประกันสังคมออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th ก็ได้เช่นเดียวกัน

การรับเงินทดแทน เมื่อลากออกจากงาน

ลาออกจากงานประจำ จะได้รับเงินทดแทนเท่าไหร่?

นอกจากการเลือกว่าจะไปต่อกับประกันสังคมดีหรือไม่ เมื่อตัดสินใจลาออกจากงานประจำ อีกหนึ่งสิ่งที่ลูกจ้างควรรู้คือ การลาออกจากงานเราสามารถรับเงินทดแทน หรือเงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออก รวมถึงกรณีที่ว่างงานได้ เพราะการลาออกจากงานก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของการ “ว่างงาน” ซึ่งการพิจารณาให้เงินทดแทนก็จะเหมือนกับลูกจ้างที่ “สิ้นสุดสัญญาจ้าง” โดยเงินทดแทนกรณีว่างงานนี้ จะได้รับ 30% ของค่าจ้าง โดยจะคำนวณจากฐานค่าจ้างจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ไม่เกิน 90 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน

ลาออกมาเป็นฟรีแลนซ์ อย่าลืมทำเอกสารทางธุรกิจที่ SMEMOVE

สำหรับผู้ที่ลาออกจากงานประจำมาเป็นฟรีแลนซ์ หรือเป็น Outsource ให้กับบริษัท เพื่อความเป็นอิสระในการทำงานนั้น สิ่งที่ต้องรับผิดชอบแบบเต็มตัวหลังออกมารับงานด้วยตัวเองก็คือ การทำเอกสารทางธุรกิจ เช่น ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องจัดการและดำเนินการด้วยตัวเอง

เพราะฉะนั้น เพื่อให้การทำอาชีพอิสระหรือการเป็นฟรีแลนซ์แบบเต็มตัวกลายเป็นเรื่องง่าย อย่าลืมมาใช้บริการโปรแกรมบัญชีออนไลน์กับทาง SMEMOVE บอกเลยว่า จะเอกสารแบบไหนก็สามารถจัดการและออกเองได้ ที่สำคัญ ระบบใช้งานง่าย ออกเอกสารได้ไว และที่สำคัญคือ ถูกต้องตามมาตรฐานแน่นอน

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP 

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE