ทุกปีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจำเป็นต้องคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อที่จะเสียภาษีเงินได้ ซึ่งการคำนวณรายได้เพื่อนำมาหากำไรหรือขาดทุนสุทธินั้นจะมีตัวแปรอยู่หนึ่งอย่างที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการคำนวณ โดยถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่นำมาหักออกจากรายได้ นั่นก็คือ “ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน” ซึ่งค่าดังกล่าวนั้นเกิดจากการนำทรัพย์สินถาวรเข้ามาใช้ในกิจการ โดยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินนั้นเป็นตัวช่วยหนึ่งของผู้ประกอบการ SMEs
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทรัพย์สินถาวรทุกชนิดนั้นจะนำมาใช้ในการคำนวณเป็น “ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน” ได้ทั้งหมด เนื่องจากกรมสรรพากรได้แยกประเภททรัพย์สินไว้ด้วยกัน 3 ประเภท และแต่ละประเภทนั้นจะมีระยะเวลาในการคิดค่าเสื่อมเช่นเดียวกัน โดยทรัพย์สินที่นำมาคำนวณได้นั้นจะมีดังต่อไปนี้
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 5 ปี จะหักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้รับทรัพย์สินในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือ ทยอยหักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งมีสิทธิเลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปวิธีใดก็ได้
- โรงงาน (Plant) ระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 20 ปี ไม่รวมที่ดินและไม่เกิน 200 ล้านบาท โดยมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตรา 25% ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ไม่เกิน 5% ต่อปี
- เครื่องจักร (Machinery) ระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 5 ปี จะใช้คำนวณค่าเสื่อมราคาบื้องต้นได้ในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือ ทยอยหักภายในระยะเวลา 5 ปี
ทั้งนี้ มีข้อควรจำอย่างหนึ่งก็คือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้การหักค่าเสื่อมของทรัพย์สินได้นั้น จะต้องมีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจะต้องมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน เนื่องจากเป็นเกณฑ์สูงสุดที่ทางกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะนำทรัพย์สินถาวรมาใช้ในการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา
เห็นความสำคัญของค่าเสื่อมหรือยังล่ะ ถ้าอย่างนั้นลองใช้โปรแกรมบัญชี SMEMOVE ที่หักค่าเสื่อมได้อัตโนมัติ ถูกต้อง แถมยังราคาประหยัดอีกด้วยนะ ถ้าสนใจทดลองใช้งานตามลิงก์ด้านล่างได้เลย
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE