คุณทราบไหมคะว่าในการเสียภาษี เมื่อเสียไปแล้วคุณสามารถดำเนินการขอคืนได้หากการหักภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปีที่ได้จ่ายไปทั้งหมดถูกคำนวณภาษีแล้วมากเกินกว่าที่ตัวเองมีหน้าที่ในการจ่ายจริง แต่จะได้คืนน้อยหรือมากก็แตกต่างกันไปตามการถูกหักภาษี
การขอคืนภาษีสามารถทำได้อย่างไร
ในการขอคืนภาษีสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่คำนวณภาษีหากพบว่าตัวเองมีสิทธิได้รับเงินคืน ก็จัดการยื่นภาษีเพื่อขอเงินคืนได้ทันที การขอคืนภาษีนั้นหากเลยระยะเวลาที่ได้กำหนดสามารถขอคืนได้ด้วยการยื่นภาษี หรือยื่นเพิ่มเติมย้อนหลัง แต่จะต้องไม่เกิน 3 ปีนับจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นภาษี
ระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดคืนเงินให้ผู้เสียภาษีคือ 3 เดือนนับจากวันที่ยื่นแบบ หรือยื่นเอกสารประกอบขอคืนเงินภาษีเพิ่มเติม กรณีที่กรมสรรพากรคืนภาษีให้ล่าช้าคุณจะได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย 1% ต่อเดือนจนถึงวันที่ลงในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน โดยเริ่มคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็นต้นไป
เอกสารสำคัญในการขอเงินคืน
การขอเงินคืนจากกรมสรรพากรโดยปกติหากไม่มีข้อสงสัยหรือติดปัญหาใดๆ ทางกรมสรรพากรจะทำการอนุมัติเงินคืนภาษีทันที ในกรณีที่กรมสรรพากรต้องเหตุสงสัยบางอย่างอาจมีการร้องขอเอกสารประกอบ คุณก็มีหน้าที่ส่งมอบเอกสารสำคัญที่สรรพากรต้องการ หากตรวจสอบเรียบร้อยคุณก็จะได้เงินภาษีคืน
ช่องทางการรับเงินภาษีคืน
ในการรับเงินภาษีคืนคุณสามารถเลือกได้ 2 ทางคือ
1. รับเข้าพร้อมเพย์
2. รับเงินภาษีเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือบัตร e-Money/e-Wallet ของธนาคารกรุงไทย
วิธีการตรวจสอบสถานการณ์คืนเงิน
คุณสามารถทำการตรวจสอบสถานะการขอคืนเงินของตัวเองได้ที่ เว็บไซต์กรมสรรพากร กดเลือกไปที่คำสั่ง “สอบถามข้อมูลการขอคืนภาษี” ระบุข้อมูลส่วนตัวชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประชาชนเท่านี้คุณก็จะทราบแล้วว่าทำไมยังไม่ได้รับการคืนเงิน
การไม่ได้รับคืนเงินที่ล่าช้าเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยๆ มักจะเป็นกรณีที่สรรพากรต้องการเอกสารเพิ่มเติม แต่ก็ไม่มีการส่งเอกสารตามที่กรมสรรพากรร้องขอไป ดังนั้นขั้นตอนการขอเงินคืนจึงต้องหยุดชะงัก เพราะฉะนั้นใครที่รู้สึกว่าขั้นตอนการขอเงินคืนใช้เวลานานเกินไป ควรทำการตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงานที่สรรพากรอัพเดทเสมอ เพื่อความรวดเร็วในการขอเงินคืน
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE