รู้หรือไม่!? ทำธุรกิจหรือเป็น “หมอดู” รับดูดวง ต้องเสียภาษียังไงบ้าง?

By posted on October 21, 2024 9:18AM
รู้หรือไม่!? ทำธุรกิจหรือเป็น “หมอดู” รับดูดวง ต้องเสียภาษียังไงบ้าง?

การประกอบอาชีพเป็นหมอดู นักพยากรณ์ หรือนักโหราศาสตร์ ถือว่าเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมมากในเมืองไทย รวมถึงในสากลก็มาแรงไม่แพ้กัน เพราะหลาย ๆ คนที่เจอปัญหาชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การงาน ความรัก สุขภาพ ก็คงจะนึกถึงหมอดูเป็นอันดับแรก ๆ มากกว่าการคิดถึงจิตแพทย์หรือว่านักจิตบำบัดด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น ทาง SMEMOVE จะพาคุณมาเจาะลึกกันว่า การทำธุรกิจหมอดูหรือว่าดูดวงนั้น ตามกฎหมายต้องเสียภาษีอย่างไรบ้าง แล้วถ้าเปิดสำนักดูดวงเป็นกิจจะลักษณะ จะต้องเสียภาษียังไง แล้วถ้ารับดูดวงผิดจะกฎหมายไหม

เป็นหมอดูทำธุรกิจดูดวง จะต้องเสียภาษีหรือไม่?

เป็นหมอดูทำธุรกิจดูดวง จะต้องเสียภาษีหรือไม่?

การประกอบอาชีพทุก ๆ อาชีพนั้น ตามกฎหมายแล้วถือว่าเป็นผู้ที่มีเงินได้ทุกคน ไม่ว่ารายได้จะมากน้อย ก็หน้าที่ที่ต้องทำทุกคนอย่างเท่าเทียมกันก็คือ “การยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดา” เพราะฉะนั้น การประกอบอาชีพดูดวง เป็นหมอดู นักพยากรณ์ หรือนักโหราศาสตร์ จึงถือว่าเป็นอาชีพที่ให้บริการอย่างหนึ่ง มีสาระสำคัญคือ การรับทำงานให้ โดยจะคำนึงถึงผลสำเร็จของงาน เพราะฉะนั้น เมื่อหมอดูได้ดูดวงและทำนายทายทักกับลูกดวงเป็นอันเสร็จสิ้นแล้ว ก็ถือว่านี่คือผลสำเร็จของงานนั่นเอง

เพราะฉะนั้น รายได้จากการเปิดร้านรับดูดวง ไม่ว่าจะเป็น การนัดเจอกันแบบตัวต่อตัว การดูดวงผ่านทางออนไลน์ การให้บริการดูดวงผ่านทางโทรศัพท์ จึงถือว่าเป็นเงินได้ทั้งหมด และผู้ที่เป็นหมอดูหรือรับดูดวง จะต้องเสียภาษีทุกคน ตามเงินได้ประเภท 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และหากตัวหมอดูมีรายได้จากงานประจำอยู่แล้ว ก็ต้องยื่นควบคู่กับแบบ ภ.ง.ด.91 หรือก็คือเงินได้มาตรา 40(1) ด้วยเช่นกัน

รายได้จากธุรกิจหมอดู นักพยากรณ์

รายได้จากธุรกิจหมอดู นักพยากรณ์ มาจากช่องทางไหนบ้าง?

ในปัจจุบันนี้หมอดูหลาย ๆ คน ต่างก็มีช่องทางในการโปรโมตหรือการโฆษณาหลายช่องทางที่แตกต่างกัน ทั้งในรูปแบบของ Online และ Offline ซึ่งแต่ละช่องทางก็ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ด้วยกันทั้งนั้น และแต่ละช่องทางก็จะมีเงื่อนไขการเสียภาษีที่แตกต่างกัน

1. ดูดวงทางออนไลน์ แอปฯ และทางมือถือ

โดยส่วนมากแล้วหมอดูจะเลือกให้บริการรับดูดวงผ่านทางออนไลน์เป็นหลัก เพราะง่ายและเข้าถึงลูกดวงได้อย่างรวดเร็ว เช่น การดูดวงผ่าน Line หรือบางคนก็อาจจะโทรศัพท์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือว่าช่องทางที่หมอดูให้บริการ โดยรายได้จากช่องทางนี้จะถือว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) เพราะจะเน้นที่ผลสำเร็จของงาน เมื่อดูดวงเสร็จสิ้นแล้วก็ถือว่างานที่รับทำให้เสร็จสิ้นนั่นเอง

2. การเปิดร้านรับดูดวง มีสำนักดูดวงเป็นกิจจะลักษณะ

นอกจากการรับดูดวงทางออนไลน์แล้ว หมอดูหลาย ๆ คน ก็ยังมีการเปิดสำนักดูดวงอย่างเป็นกิจจะลักษณะอย่างชัดเจน มีที่ตั้ง และสถานที่ที่ลูกดวงสามารถเข้ามาใช้บริการได้ ด้วยการเปิดรับดูดวงที่ลูกดวงสามารถ Walk In เข้ามาใช้บริการได้เลย หรืออาจจะมีการนัดหมายมาแล้วล่วงหน้า ซึ่งการเปิดร้านรับดูดวงในรูปแบบนี้ จะถือว่ามีรายได้จากการประกอบธุรกิจ มีการลงทุนและจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน กรณีนี้จะนับว่าเป็นเงินได้มาตรา 40(8)

3. รายได้จากการทำคลิป ทำช่อง YouTube

บางครั้งหมอดูหลายคนนอกจากจะรับดูวงทางออนไลน์และแบบ Walk In แล้ว ก็มักจะมีคลิปการพยากรณ์มาให้ลูกดวงได้ติดตามกัน หรือบางคนก็อาจจะทำเพจ Facebook แล้วอัปเดตการทำนายดวงแบบรายวัน รายเดือน และรายปี ซึ่งในส่วนนี้หากมีรายได้จากการโฆษณา การรับรีวิวสินค้า ฯลฯ ก็จะถือว่าเป็นรายได้ตามมาตรา 40(8) เช่นกัน

“หมอดูที่รับดูดวง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือว่าจุดธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้าน/ปี จะต้องยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% ด้วยเช่นกัน เพราะการดูดวงถือเป็นการให้ ‘บริการ’ อย่างหนึ่ง ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร”

การยื่นภาษีเงินได้ของหมอดู เสียภาษียังไงบ้าง

การยื่นภาษีเงินได้ของหมอดู เสียภาษียังไงบ้าง

1. การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • เงินได้ประเภท 40(2) หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เงินได้ประเภท 40(8) หักค่าใช้จ่ายตามจริง

โดยหมอดูที่ทำธุรกิจดูดวง เมื่อมีรายได้แล้วต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษีนั้น ๆ และหากใครที่มีรายได้จากงานประจำร่วมด้วย ก็ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ควบคู่กัน โดยจะหักค่าใช้จ่ายเหมือนกับผู้ที่มีรายได้หลายทางในการยื่นภาษีทุก ๆ ปี โดยการยื่นทางออนไลน์ของปีถัดไป ซึ่งตามกำหนดแล้วสามารถยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – มีนาคม ของทุกปี

2. การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

แต่กรณีที่ธุรกิจหมอดูที่ทำนั้นรุ่งเรืองมาก ๆ จนทำให้มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้าน อันเนื่องมากจากรายได้ช่องทางอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ เป็นหมอดูที่สามารถทำพิธีทางโหรราศาสตร์ หรือว่าพิธีกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การบวงสรวง ลงนะหน้าทอง ฯลฯ หรือแม้แต่การขายเครื่องรางต่าง ๆ เมื่อมีการคิด VAT 7% เพราะมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้าน/ปี ผู้ให้บริการหรือหมอดูจะต้องทำการออก “ใบกำกับภาษี” ทุกครั้งที่มีการให้บริการและการชำระเงิน และจะต้องทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย โดยจะต้องนำส่งด้วยแบบ ภ.พ.30 ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไปด้วยเช่นกัน

เป็นหมอดูต้องยื่นภาษี อย่าลืมมาทำเอกสารทางบัญชีที่ SMEMOVE!

จะเห็นได้เลยว่าการทำอาชีพหมอดู นักพยากรณ์ หรือแม้แต่นักโหราศาสตร์เอง ก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีเงินได้และต้องยื่นภาษีทุกปีตามกฎหมาย ไม่เช่นนั้นก็อาจจะโดนภาษีย้อนหลังได้ โดยเฉพาะกรณีที่มีลูกดวงมาดูดวงเยอะมาก ๆ แล้วไม่นำรายได้จากการทำธุรกิจดูดวงไปยื่นกับทางกรมสรรพากร และหากใครที่เป็นหมอดูแล้วไม่อยากจะมีปัญหาเรื่องภาษีย้อนหลัง ก็สามารถมาทำเอกสารทางธุรกิจได้ที่ SMEMOVE เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน และยังสามารถนำไปประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้อีกด้วย

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE