มีรายได้หลายทาง ต้องยื่นภาษียังไง เตรียมตัวไว้มีชัยไปกว่าครึ่ง!

By posted on October 15, 2024 7:48PM
มีรายได้หลายทาง ต้องยื่นภาษียังไง เตรียมตัวไว้มีชัยไปกว่าครึ่ง!

การเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีรายรับเป็นประจำทุก ๆ เดือนอยู่แล้ว บางครั้งก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตหรือว่าค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่แบกรับอยู่ เพราะฉะนั้น การมีรายได้หลายทาง จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่อยากจะเพิ่มช่องทางในการหารายได้อื่นเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ ดังนั้น เราจะพาคุณมาดูกันว่า การจัดการกับภาษีเมื่อมีรายได้หลายทางต้องยื่นภาษีอย่างไร แล้วมีเอกสารอะไรบ้างที่ต้องเตรียมให้พร้อม?

มนุษย์เงินเดือน มีรายได้หลายทาง ต้องจัดการยื่นภาษีอย่างไร?

ในปัจจุบันนี้มนุษย์เงินเดือนหลาย ๆ คน นอกจากการรับเงินเดือนในทุก ๆ เดือนแล้ว ก็มีหลายคนที่มีอาชีพเสริม เพื่อให้ตัวเองมีรายได้หลายทางมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การรับเงินเดือน 2 บริษัท หรือว่าการรับงานเสริมในสายงานที่ตัวเองถนัด นอกจากนี้ บางคนก็อาจจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ แน่นอนว่า การมีรายรายได้หลายทางก็ต้องพ่วงมากับการยื่นภาษีด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น สิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมคือ “ข้อมูลการเงิน” เพื่อนำไปใช้ประกอบการยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษีนั่นเอง

สำหรับการเตรียมความพร้อมเรื่องภาษีนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่ารายได้เสริมที่มีนั้น เป็นรายได้มากจากช่องทางใด เช่น หากได้เงินเดือน 2 บริษัท ไปพร้อม ๆ กัน ก็จะยื่นอีกแบบหนึ่ง แต่หากอาชีพเสริมที่ทำอยู่นั้น คือการประกอบธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย หรือว่าเป็นฟรีแลนซ์ ก็จะมีการยื่นภาษีที่ต่างออกไป เพราะการยื่นภาษีแต่ละครั้ง จะต้องยึดตามรูปแบบของงานที่ทำ และการหักค่าใช้จ่ายตามประเภทของเงินได้

มนุษย์เงินเดือน มีรายได้หลายทาง ต้องจัดการยื่นภาษีอย่างไร

เงินได้แต่ละแบบ สำหรับการยื่นภาษีของผู้มีเงินได้

  • เงินได้ประเภท 40(1) หรือ เงินได้ประเภทที่ 1 ซึ่งเป็นเงินได้จากการจ้างแรงงาน อาทิ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ของมนุษย์เงินเดือนแบบทั่วไป
  • เงินได้ประเภท 40(2) หรือ เงินได้พึงประเภทประเภทที่ 2 หรือรายได้ที่ได้จากการรับจ้างทั่วไป อาทิ การรับงานอิสระ ฟรีแลนซ์ ค่าคอมมิชชั่น ค่าตอบแทนจากการทำงาน โดยเงินได้ประเภทนี้จะไม่ได้อยู่ในสถานะ “เจ้านาย” และ “ลูกน้อง” แต่เป็นการรับเงินจากสถานประกอบการอื่น ๆ เช่น นาย ก เป็นฟรีแลนซ์ช่วยทำงานด้าน Production ให้กับบริษัท A เป็นต้น
  • เงินได้ประเภท 40(8) คือ เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์, การเกษตร, อุตสาหกรรม, ขนส่ง ฯลฯ เรียกง่าย ๆ ว่า หากทำงานที่เป็นอาชีพเสริมกลุ่มค้าขาย เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ หรือนักร้องนักแสดง จะจัดอยู่ในหมวดหมู่นี้ หรือก็คือ เป็นเงินได้ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม 40(1) – 40(7) นั่นเอง

การหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้แต่ละประเภท

  • มาตรา 40(1) หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • มาตรา 40(2) หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • มาตรา 40(8) หักเหมา 60% หรือหักตามจริง (มีเอกสารหลักฐาน)

มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้มากกว่า 2 ทาง คือ มาตรา 40(1) และ 40(2) การยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดาแต่ละครั้ง จะนำรายได้มารวมกัน แล้วหักค่าใช้จ่ายเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

หมายเหตุ: การยื่นภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้หลายทาง หากเป็นคนโสดสามารถยื่นได้ปกติตามมาตราต่าง ๆ แต่หากเป็นผู้ที่สมรสแล้ว สามารถเลือกได้ว่าจะรวมรายได้แล้วยื่นพร้อมกันทั้งหมด หรือจะแยกยื่นเฉพาะเงินเดือน ส่วนรายได้อื่น ๆ สามารถรวมยื่นได้ เช่น คู่สามี-ภรรยา ทำกิจการหรือขายของออนไลน์ร่วมกัน โดยคนที่มีคู่สมรส ยื่นรวมกันได้เมื่อมีรายได้รวมกันมากกว่า 120,000 ปี

วิธีคิด การยื่นภาษี ของมนุษย์เงินเดือน ที่มีรายได้หลายทาง

มีรายได้หลายทาง ยื่นภาษีอย่างไร แล้วยื่นช่วงไหนบ้าง?

การยื่นภาษีสำหรับผู้ที่มีเงินได้ จะมี 2 ช่วงที่สามารถยื่นภาษีตามประเภทเงินได้ของตัวเอง โดยรอบแรกจะยื่นภาษีในช่วงกลางปี หรือ ก็คือช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. ของปีนั้น ๆ (ภ.ง.ด. 94) ซึ่งจะเป็นการยื่นภาษีในช่วงครึ่งปีแรกโดยนับจากรายได้ช่วง ม.ค. – มิ.ย. โดยค่าลดหย่อนสามารถใช้ได้ครึ่งหนึ่ง

ส่วนการยื่นภาษีรอบสอง จะเป็นการยื่นภาษีสิ้นปี หรือก็คือการยื่นในช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. ของไปถัดไป (ภ.ง.ด. 90) ซึ่งจะเป็นการนำเงินได้ทุกประเภทที่นับตั้งแต่เดือน ม.ค. – ธ.ค. ของปีนั้น มาคำนวณแล้วนำภาษีที่ชำระไปแล้วตาม ภ.ง.ด. 94 มาเป็นเครดิตภาษีหักลบกันได้

ทั้งนี้ หากเป็นผู้ที่ทำงานหลายที่ เช่น เป็นมนุษย์เงินเดือน แล้วมีรายได้จากบริษัทอื่น ๆ ที่เป็นฟรีแลนซ์อยู่ ก็สามารถรวบยอดในการยื่นช่วงต้นปีก็ได้เช่นกัน เพียงแค่ต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น ใบ 50 ทวิ หรือก็คือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่จะได้รับจากบริษัทหรือนิติบุคคล ซึ่งเราสามารถนำใบ 50 ทวิ เป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีได้ส่วนบุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 91/90) เมื่อต้องยื่นภาษีได้เลย

การยื่นภาษีเงินได้ ของผู้ที่มีรายได้หลายทาง

นอกจากนี้ หากคุณมีรายได้จากช่องทางอื่น ๆ โดยเฉพาะจากการขายสินค้าต่าง ๆ อาจต้องจ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วยเช่นกัน ซึ่งกรณีที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายเกิน 1.8 ล้าน/ปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือก็คือ VAT โดยจะเสียภาษีอยู่ที่ 7% ของรายได้ และจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน หลังจากที่มียอดขายเกิน 1.8 ล้าน

เพราะฉะนั้น หากใครที่มีรายได้หลายทางเกิน 1.8 ล้าน ก็จะต้องไปจดทะเบียน VAT ด้วยเช่นกัน เพราะการมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้าน จะต้องยื่นภาษีในทุก ๆ เดือน และภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยจะต้องออก ใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้าหรือว่าผู้ที่มาใช้บริการด้วย ดังนั้น ผู้ที่เป็นทั้งมนุษย์เงินเดือนและเป็นเข้าของธุรกิจ ที่มีรายได้หลายทาง โดยเฉพาะเงินได้ประเภท 40(2) และ 40(8) จะต้องเช็กทุกครั้ง ว่ารายได้นั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

การยื่นภาษีเงินได้ หรือยื่นภาษี ของผู้ที่มีรายได้มากกว่า 2 ทาง

จบทุกปัญหาเรื่องภาษี ด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์ SMEMOVE

แน่นอนว่า ผู้ที่มีรายได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนที่รับงานหลายที่ มีรายได้อื่นนอกจากเงินเดือน หรืออาจจะเป็นฟรีแลนซ์ให้บริษัทต่าง ๆ รวมไปถึงการมีธุรกิจและกิจการเป็นของตัวเอง สิ่งที่สำคัญมากที่สุดไม่แพ้การทำงานก็คือการจัดการเรื่องเอกสารทางธุรกิจ ที่นอกจากจะมีความสำคัญในการจัดการบัญชีแล้ว ยังมีผลต่อการใช้ประกอบการยื่นภาษีด้วย

เพราะฉะนั้น หากใครที่ไม่อยากปวดหัวกับเอกสารเหล่านี้ เพียงเลือกใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์จาก SMEMOVE ก็จะช่วยให้การจัดการเรื่องเอกสารกลายเป็นเรื่องง่าย ด้วยระบบที่ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย มีรูปแบบเอกสารที่ครบครัน จะใช้ในการทำงานกับนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ก็สามารถออกแบบและปรับเปลี่ยนข้อมูลเองได้

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE