ใบกำกับภาษีคืออะไร

By posted on September 10, 2019 5:27PM

ใบกำกับภาษีเอกสารสำคัญในการทำธุรกิจ ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ซื้อ หรือผู้ขายก็จำเป็นจะต้องทำความรู้จักกับเอกสารใบกำกับภาษีด้วย เพราะผู้ที่มีหน้าที่ออก หรือจัดทำใบกำกับภาษีคือเจ้าของกิจการ ส่วนผู้รับก็เป็นผู้ที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการ ใบกำกับภาษีมีประโยชน์อย่างมากในด้านของการนำมาเป็นหลักฐานทางการบัญชี แต่กิจการที่มีสิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจะถูกคิดจากราคาขาย ซึ่งในส่วนของผู้ที่มีหน้าที่ขายหรือให้บริการภาษีส่วนนี้จะถูกเรียกว่า ภาษีขาย (Output VAT) ในส่วนของผู้ซื้อที่ถูกคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้รับเอกสารใบกำกับภาษี จะเรียกภาษีในส่วนนี้ว่า ภาษีซื้อ (Input VAT)

ใบกำกับภาษีควรออกตอนไหน

หากคุณเป็นเจ้าของกิจการที่ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มช่วงเวลาที่คุณต้องทำหน้าที่ในการออกใบกำกับภาษีคือ

– ช่วงเวลาที่คุณขายสินค้าออกไปแล้ว คุณจะต้องทำหน้าที่ออกใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อที่รับสินค้าทันที แม้ว่าการซื้อขายในครั้งนี้ผู้ซื้อจะยังไม่ชำระค่าสินค้าก็ตาม

– ช่วงเวลาที่คุณให้บริการ ผู้ที่ให้บริการจะต้องทำหน้าที่ออกใบกำกับภาษีหลังจากได้รับชำระค่าบริการ ซึ่งจะแตกต่างกับกรณีการซื้อขายสินค้าที่จะต้องออกใบกำกับภาษีทันทีแม้ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระเงิน เนื่องจากการบริการนั้นไม่สามารถจับต้องได้ เกณฑ์การออกใบกำกับภาษีจึงเป็นหลังจากได้รับชำระค่าบริการแทน

เมื่อใดที่กิจการจะต้องทำหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

อย่างที่เราได้อธิบายไปข้างต้นว่าผู้ที่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีจะต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ใครหลายๆ คนก็คงรู้สึกสงสัยอยู่ว่า แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เราขอบอกเลยค่ะว่า เมื่อคุณมีรายได้ที่มาจากการขายสินค้า และบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณก็สามารถทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรได้ นับจากวันที่มีรายได้ 1.8 ล้านบาท ซึ่งจะต้องไม่เกิน 30 วันนับจากวันมีรายได้

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นสิ่งที่คุณต้องทำ และให้ความสำคัญไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา หรือแบบนิติบุคคล หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีคุณมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจที่มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือธุรกิจที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มคุณก็สามารถเลือกได้ว่าจะจด หรือไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

ประเภทของใบกำกับภาษี

1. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ เป็นใบกำกับภาษีที่สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ เมื่อทำการซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้า

2. ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ เป็นรูปแบบการออกภาษีที่สามารถใช้เป็นเอกสารสำหรับแสดงหลักฐานสำคัญในการยื่นภาษี

อ่านเพิ่มเติม ใบเสร็จรับเงินแบบเต็มและแบบย่อ

ตัวอย่างใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ

ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ

วิธีการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ในกรณีที่คู่ค้า หรือลูกค้าของคุณไม่ได้เป็นผู้ที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มการออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบจำเป็นจะต้องมีชื่อ และที่อยู่ให้ครบถ้วน หากข้อมูลทั้งสองส่วนนี้ไม่ครบถ้วนจะถือว่าโดนโทษปรับ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยคุณจะต้องจำให้ขึ้นใจว่าข้อมูลที่ขาดไม่ได้สำหรับการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มคือชื่อ และที่อยู่

ถึงแม้จะเป็นแค่การออกใบกำกับภาษี แต่ก็นับว่าเป็นขั้นตอนที่ดูยุ่งยากรายละเอียดมากมายพอสมควร จะดีกว่าไหมหากคุณสามารถทำงานส่วนนี้ได้รวดเร็ว และง่ายดายมากยิ่งขึ้น

การออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบจากโปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ SMEMOVE

วิธีการออกใบกำกับภาษีกับ SMEMOVE สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนคุณก็จะได้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบที่ถูกต้อง ครบถ้วน เพียงแค่ออกเอกสารการขายใบ “วางบิล” ตามรายการสินค้าที่คุณได้ทำการขายออกไป ทางโปรแกรมก็จะจัดทำเอกสารใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ใบวางบิล ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขาย

ตัวอย่างใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบที่ออกโดยโปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ SMEMOVE

ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อที่ออกโดยโปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ SMEMOVE

เป็นอย่างไรกันบ้างหลังจากที่ได้อ่านเรื่องใบกำกับภาษีกันไปแล้ว เราหวังว่าทุกคนคงจะเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับใบกำกับภาษีมากยิ่งขึ้น หากใครที่มองว่าการทำใบกำกับภาษีดูยุ่งยาก ให้ลองใช้โปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ของ SMEMOVE แล้วคุณจะรู้ว่าการออกเอกสารทางการบัญชีไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE