ผู้ประกอบการมือใหม่ ที่มีความคิดอยากเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง ห้ามพลาดเด็ดขาด! กับบทความนี้ ที่ทาง SMEMOVE จะมาสรุปข้อมูลให้แบบง่าย ๆ สำหรับใครที่อยากจะ “เปิดบริษัทเป็นของตัวเอง” หรืออยาก “เปิดบริษัทคนเดียว” ซึ่งการมีบริษัทนั้นไม่ใช่แค่การจดทะเบียนบริษัท และการทำเอกสารเรื่องการยื่นภาษีเท่านั้น แต่ยังมีดีเทลอื่น ๆ อีกมาก มาดูกันว่า 5 สิ่งที่ควรรู้ของการเปิดบริษัทใหม่ มีอะไรบ้างสำหรับผู้ประกอบการ
1. เปิดบริษัทเป็นของตัวเอง ต้องเลือกสิ่งที่เป็นตัวเอง
สิ่งสำคัญในการเลือก เปิดบริษัทเป็นของตัวเอง นั้น หลัก ๆ คือ ควรเลือก เปิดบริษัท ตามกระแส หรือเลือกธุรกิจที่ไม่ถนัด เพราะในการทำธุรกิจ ควรเลือกจากสิ่งที่ชอบและเป็นตัวของตัวเอง เพราะการเป็นเจ้าของธุรกิจจะต้องอยู่กับสิ่งนั้นตลอดเวลา และหากเรามีความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ ก็จะสามารถสำรวจตลาด และวางแผนแนวทาง ในการทำงานของบริษัทได้ดี หรือหากเกิดปัญหาใด ๆ ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ดังนั้น หากอยากรู้ว่าเปิดบริษัทอะไรดี หรืออยาก เปิดบริษัทของตัวเอง ก็ควรเริ่มต้นจากสิ่งที่ชอบและถนัด
Tip: ผู้ประกอบการสามารถ เปิดบริษัทออนไลน์ ได้ง่าย ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมการพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ครอบคลุมตั้งแต่การจองชื่อบริษัท ไปจนถึงการชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ หลังจากจดทะเบียนบริษัทออนไลน์แล้ว ก็จะได้รับเอกสารการจดทะเบียนบริษัทตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในเอกสารยื่นจดทะเบียน
2. การเปิดบริษัทต้องรู้ว่าควรมีพนักงานตำแหน่งไหนบ้าง
ในการเปิดบริษัท ไม่จำเป็นต้องมีพนักงานทุกตำแหน่งเสมอไป เพราะในการดำเนินธุรกิจ สามารถใช้บริการ Outsource ข้างนอกได้ เพื่อลดต้นทุนในองค์กร เช่น บางสโคปงานที่ไม่จำเป็นต้องมีพนักงานประจำ ที่คอยสแตนด์บายตลอดเวลา ก็อาจจะลดคอร์สมาจ้าง Outsource เป็นงาน ๆ ไปดีกว่า
เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจ จึงต้องวางแผนเรื่องพนักงานองค์กรให้ดี ไม่ว่าจะเป็นกเารจ้างพนักงานประจำ การจ้าง Freelance หรือแม้แต่ Outsource เองก็ตาม เช่น ในกรณีที่ เปิดบริษัทใหม่ หรือ เปิดบริษัทของตัวเอง แล้วต้องการทำบัญชีเอง ก็สามารถใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ของ SMEMOVE ในการทำ เอกสารทางธุรกิจ แทนได้ โดยที่ยังไม่ต้องจ้างพนักงานฝ่ายบัญชี มาเป็นพนักงานประจำในช่วงแรก เป็นต้น
3. หากเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง ต้องมีแผนธุรกิจที่พร้อม
ในการเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง คนที่เป็นเจ้าของบริษัท ต้องมีแผนธุรกิจที่พร้อม เพราะถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้กำหนดทิศทางของบริษัทได้ จะเห็นได้เลยว่า บริษัทไหนที่ประสบความสำเร็จ มักจะมีแผนธุรกิจที่ครอบคลุม ในขณะที่บริษัทไหนหรือองค์กรไหน ไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน วางแนวทางขององค์กรไม่ได้ มักจะแป้กมากกว่ารุ่ง เผลอ ๆ อาจต้องปิดบริษัทไปด้วยซ้ำ
4. ศึกษาเรื่องกฎหมายให้ดี มีความสอดคล้องกับกฎระเบียบบริษัท
เรื่องที่เจ้าของบริษัทหลาย ๆ คนอาจมองข้าม คือเรื่องกฎหมายแรงงาน รวมถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ซึ่งคนที่เป็นเจ้าของควรศึกษากฎหมายต่าง ๆ ให้ดี หากมีกำลังทรัพย์ หรือสามารถจ้างทนายที่ปรึกษาได้ ก็สามารถจ้างทนายไว้ด้วยก็ได้ เพื่อให้วางแนวทางต่าง ๆ ในการดำเนินงานขององค์กร ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย อย่างเช่น การตั้งกฎระเบียบบริษัท ก็ควรสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน สวัสดิการ และการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจก็ต้องศึกษาเรื่องภาระผูกพัน ในการทำธุรกิจด้วยเช่นกัน อาทิ การปิดงบการเงินเมื่อถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชี โดยจะต้องนำส่งงบการเงิน ให้กับทางกรมสรรพากร และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า รวมถึงการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องมีการนำส่งภาษีในทุก ๆ เดือน ดังนั้น เรื่องบัญชีและข้อกฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้จึงสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเอกสารทางธุรกิจ ที่มีบทบาทต่อภาระผูกพันเหล่านี้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. มีความชัดเจนเรื่องเงินลงทุนในการเปิดบริษัท และเงินทุนสำรอง
นอกเหนือจากกฎหมายและการทำแผนธุรกิจที่รัดกุมในการเปิดบริษัทแล้ว ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ ก็ต้องมีการวางแผนทางการเงินให้ดี โดยเฉพาะเงินทุนของบริษัท ว่าต้องใช้มากน้อยแค่ไหน ในการดำเนินงานส่วนต่าง ๆ รวมถึงค่าเช่าสถานที่ เงินเดือนของพนักงานหรือ Outsource และที่ขาดไม่ได้คือ ต้องมีเงินทุนสำรองของบริษัท เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมา ก็สามารถใช้เงินทุนสำรองที่มี ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อนได้
เปิดบริษัทเป็นของตัวเอง ต้องเลือกจัดตั้งแบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจ
ในการเปิดธุรกิจหรือเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง ก็มีรูปแบบบริษัทที่ต่างกันออกไป เพราะฉะนั้น ก่อนดำเนินการ จดทะเบียนบริษัท เรามาดูก่อนว่าควรเลือกรูปแบบบริษัทแบบไหน ให้เหมาะสมที่สุด และตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณ
1. เปิดบริษัทคนเดียว หรือมีเจ้าของคนเดียว
เป็นการเปิดบริษัทคนเดียว หรือก็คือบริษัทที่มีเจ้าของธุรกิจเพียงคนเดียว โดยจะต้องเป็นผู้ที่แบกรับความรับผิดชอบแบบ 100% ซึ่งทางกฎหมายจะเรียกว่าเป็น “บุคคลธรรมดา” เพราะฉะนั้น หากจดทะเบียนบริษัทแล้ว จะต้องยื่นภาษีในรูปแบบของ “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา”
นอกจากนี้ หากเลือกเปิดบริษัทที่มีเจ้าของคนเดียว ในทางกฎหมายคือ สามารถจดทะเบียนได้เพียงบริษัทเดียวเท่านั้น และยังไม่สามารถจดทะเบียนบริษัท 1 คนได้ ตามร่างพระราชบัญญัติที่ได้ระบุว่า ในการจดทะเบียนต้องใช้คำว่า “บริษัท….จำกัด (คนเดียว)” จะต่างจากบริษัทจำกัด ที่ยังไม่สามารถจดทะเบียนได้ หากมีเจ้าของเพียงคนเดียวนั่นเอง
เพราะฉะนั้น หากต้องการเปิดบริษัทคนเดียว ผู้ที่เป็นเจ้าของสามารถจดทะเบียนการค้า เพื่อใช้สำหรับการยืนยันการประกอบธุรกิจที่ถูกต้องได้เลย และเมื่อไหร่ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ก็ให้ไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นลำดับถัดไป
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ในการจดทะเบียนแบบห้างหุ้นส่วนสามัญ จะต้องมีบุคคล 2 คนขึ้นไป ในการร่วมกันลงทุน ซึ่งรูปแบบของการลงทุนสามารถใช้ได้ทั้งสินทรัพย์ แรงงาน หรือจะใช้เงินก็ได้ โดยที่ยังคงมีสถานะการเป็น “บุคคลธรรมดา” และในการเสียภาษีก็ยังคงเสียแบบ “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” แต่หากห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ก็จะแปรสภาพเป็นนิติบุคคล และ “ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล” แทน
3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
- หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
- หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดไม่เกินจำนวนเงิน ที่ตนเองรับว่า จะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
4. บริษัทจำกัด
ในการจดทะเบียนบริษัทจำกัด จะมีหุ้นส่วนจำนวน 2 คนขึ้นไป โดยแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าที่เท่ากัน ส่วนผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องถือจำนวนที่เท่ากัน โดยจะได้ส่วนแบ่งกำไร จากสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ ซึ่งการเปิดบริษัทในรูปแบบนี้ จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า และที่สำคัญคือ อัตราภาษีเงินได้ขั้นสูงสุดจะต่ำกว่าแบบบุคคลธรรมดา
จะเห็นได้เลยว่า การเปิดบริษัทเป็นของตัวเองนั้น ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพราะโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การจดทะเบียนบริษัท สามารถดำเนินการได้ง่าย ๆ และสามารถวางแผนในการดำเนินการในองค์กรได้ ตามแผนธุรกิจที่วางไว้
ส่วนผู้ประกอบการคนไหนที่อยากรู้ว่าการ เปิดบริษัท ต้องทำอะไรบ้าง? ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ จากบทความที่ทางเราได้สรุปไว้ให้ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมือใหม่ สามารถเอาไปเป็นแนวทางได้เลย หรือหากผู้ประกอบการคนไหน ต้องการทำบัญชีด้วยตัวเอง ก็สามารถใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ by SMEMOVE ได้เช่นกัน การันตีความง่ายและสะดวกสบาย ตอบโจทย์ผู้ประกอบการและ SME มือใหม่แน่นอน
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE