การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือน ของพนักงานในองค์กรนั้น จะมีการคำนวณรูปแบบการจ่ายเงินที่แตกต่างออกไปจากการจ่ายเงินประเภทอื่น ๆ เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ในการรับทำของกหรือบริการ ที่เหล่าฟรีแลนซ์จะรู้จักกันดี แต่การคำนวณเพื่อหา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือน จะเป็นการหาภาษีแล้วนำมาเฉลี่ยเป็นรายเดือน เพราะฉะนั้น มาดูกันว่าหลักการคำนวณใช้วิธีคิดอย่างไรบ้าง?
การหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากเงินเดือนของพนักงาน
ในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินเดือน เป็นส่วนหนึ่งของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่พนักงานทุกคนจะต้องยื่นภาษีด้วยตัวเองในทุก ๆ ปี ตามกำหนดของกรมสรรพากร โดยบริษัทจะเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินเดือนของพนักงานให้กับทางกรมสรรพากรในทุก ๆ เดือน แต่หากพนักงานคนไหนที่อยากได้เงินเดือนแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็สามารถแจ้งบริษัทได้เช่นกันว่าไม่ต้องการให้หักภาษีในแต่ละเดือน
ซึ่งการหักภาษีจากเงินเดือนของพนักงานนั้น ก็เหมือนกับการยื่นภาษีล่วงหน้าให้กับพนักงาน ที่มีรายได้รวมทั้งหมดถึงเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี ซึ่งการหักแบบรายเดือนแบบล่วงหน้า จะช่วยลดภาระทางภาษีให้กับพนักงานได้ เพราะเวลาไปยื่นภาษีหากมีค่าลดหย่อนอื่น ๆ ก็สามารถขอคืนภาษีที่จ่ายเกินกลับมาได้เช่นกัน
วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือนพนักงาน
ในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากเงินเดือนของพนักงาน จะใช้เงินได้ตามมาตรา 40(1) เท่านั้น โดยจะนำเงินเดือนที่ได้มาคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า โดยจะเป็นการคำนวณแบบทั้งปี แล้วหักด้วยค่าลดหย่อนเบื้องต้นที่พนักงานได้แจ้งไว้กับทางบริษัทหรือว่าฝ่าย HR หลังจากนั้นจะนำฐานเงินได้สุทธิมาคิดตามขั้นบันไดแล้วนำเงินมาคูณกับอัตราก้าวหน้า
สูตรคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือน
- เงินเดือนทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิ
- รายได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
- ภาษีที่ต้องจ่าย / 12 = ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินเดือน
ตัวอย่างการคำนวณ
- นาย A มีรายได้ 35,000 บาท ต่อเดือน ทำงาน 12 เดือน จะมีรายได้ต่อปี 35,000 x 12 = 420,000 บาท
- นาย A หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด 100,000 บาท และค่าลดหย่อน จะได้ 420,000 – 100,000 – 69,000 = 251,000 บาท
- ภาษีที่ต้องจ่าย (ได้รับการยกเว้น 150,000 แรก) จะได้ 101,000 x 5% = 5,050 บาท
- หลังจากนั้นนำมาหาร 12 เพื่อหักรายเดือน จะได้ 5,050 / 12 = 420.33 บาท/เดือน
เพราะฉะนั้น นาย A ที่มีฐานเงินเดือนอยู่ที่ 35,000 บาท เมื่อหักค่าลดหย่อนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว จะมีฐานภาษีตามอัตราก้าวหน้าที่ต้องชำระอยู่ที่ 5,050 บาท หากหักภาษี ณ ที่จ่าย เงินเดือนในทุก ๆ เดือน ก็จะถูกหักอยู่ที่เดือนละ 420.33 บาท/เดือน
หักภาษี ณ ที่จ่ายเงินเดือนแล้ว ต้องยื่นภาษีไหม?
ตามกฎหมายแล้วผู้มีเงินได้ทุกคนต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกคน ไม่ว่าจะมีรายได้สุทธิที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม เพราะในการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินเดือนพนักงาน เป็นเพียงแค่การคำนวณภาษีเบื้องต้นเท่านั้น เพราะสุดท้ายแล้วในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ในแต่ละปี ผู้มีเงินได้ต้องระบุค่าลดหย่อนกลุ่มอื่น ๆ เพิ่มเติม หรือหากมีรายได้หลายทาง เช่น ทำฟรีแลนซ์ควบคู่กับงานประจำ ก็ต้องยื่นรายได้ทุกรายการให้คร[
คิดภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือนแบบง่าย ๆ ด้วยโปรแกรมบัญชี SMEMOVE
สำหรับ HR หรือฝ่ายบัญชี ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำเงินเดือนให้กับพนักงานในบริษัท ที่ต้องการความสะดวกในการทำเอกสารเงินเดือน รวมถึงการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากเงินเดือนพนักงานแต่ละคนแบบง่าย ๆ สามารถใช้งานโปรแกรมเงินเดือนจากทาง SMEMOVE ได้เลย ซึ่งเราไม่ได้มีเพียงแค่การทำเอกสารทางบัญชีเท่านั้น แต่เรายังพัฒนาโปรแกรมคิดเงินเดือนที่ใช้งานง่าย ละเอียด และดำเนินการเองได้ง่าย ๆ มาเพื่อคนทำธุรกิจโดยเฉพาะอีกด้วย
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE