เมื่ออาชีพการขายของออนไลน์เป็นที่นิยม เพราะสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ลงทุนได้อย่างงดงามไม่ว่าจะเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักก็สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำรับกำไรเต็มๆ จนลืมไปเลยว่านอกจากการขายแล้วยังจะต้องทำการ “เสียภาษี” อย่างถูกต้องด้วย
สำหรับใครที่ยังไม่รู้ หรือไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเสียภาษี แค่การขายของออนไลน์ แล้วถ้าจะเสียภาษีให้ถูกต้องจะต้องทำอย่างไร มาหาคำตอบไปพร้อมกันกับบทความดีๆ ของ SMEMOVE ที่จะทำให้คุณเข้าใจเรื่องราวของ ภาษีขายของออนไลน์ ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ใน 5 นาที
การขายของออนไลน์จะต้องเสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง
ก่อนอื่นเลยคุณจะต้องทำความเข้าใจให้ได้เสียก่อนว่าการขายของออนไลน์จะต้องเสียภาษี แม้ว่ากิจการของคุณจะไม่ได้ทำการจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท โดยจะเสียภาษีในลักษณะของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 ซึ่งเป็นเงินได้ที่มาจากการค้าขาย การเสียภาษีสำหรับพ่อค้า แม่ออนไลน์ที่ถูกต้องนั้นจะต้องทำการยื่นภาษีใน 2 ช่วงเวลาต่อไปนี้
– ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) การยื่นในลักษณะนี้จะยื่นในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม การยื่นในขั้นตอนนี้จะเป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นใน 1 ปีที่ผ่านมา
– ยื่นภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) การยื่นในลักษณะนี้จะทำการยื่นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน การยื่นในขั้นตอนนี้เป็นการยื่นสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรก หรือรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา การยื่นภาษีกลางปีค่าลดหย่อนภาษีบางรายการจะถูกหักเหลือเพียงแค่ครึ่งเดียวอย่างเช่นค่าลดหย่อนค่าใช้จ่ายส่วนตัว 30,000 บาท จะถูกหักเหลือ 15,000 บาท
แล้วการคำนวณภาษีที่ถูกต้องจะต้องทำอย่างไร??
วิธีการคำนวณภาษีสำหรับการยื่นภาษีจากการขายของออนไลน์สามารถเลือกทำได้ทั้งหมด 2 วิธีการ วิธีการแรกคือการเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการเสียภาษีแบบนิติบุคคล วิธีการเสียภาษีตามแบบที่ 2 นั้นจะเป็นวิธีการสำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท
ว่าด้วยเรื่องของการลดหย่อนภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์
ในการยื่นภาษีรายได้ทั้งหมดของคุณจะต้องผ่านการหักค่าลดหย่อนเพื่อให้ทราบถึงรายได้สุทธิ ซึ่งการลดหย่อนจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สรรพากรประกาศให้นำมาหักลบกับรายได้ ที่คุณจะต้องนำไปเปรียบเทียบคิดอัตราภาษี โดยจะต้องยื่นจ่ายแบบอัตราภาษีขั้นบันได (รายได้น้อยจ่ายน้อย รายได้มากจ่ายมาก) ตามตัวอย่างด้านล่างนี้เลย
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ||
เงินได้ต่อปี | อัตราการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | |
0 – 150,000 บาท | ยกเว้น | |
150,000 – 300,000 บาท | 5% | |
300,000 – 500,000 บาท | 10% | |
500,000 – 750,000 บาท | 15% | |
750,000 – 1,000,000 บาท | 20% | |
1,000,000 – 2,000,000 บาท | 25% | |
2,000,000 – 5,000,000 บาท | 30% | |
5,000,000 บาทขึ้นไป บาท | 35% |
รูปแบบการหักค่าใช้จ่ายที่จะนำมาใช้ในการคิดภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์ถูกแบ่งออกมาเป็น 3 รูปแบบคือ
1. สำหรับผู้ที่ทำการค้าออนไลน์ในลักษณะของการซื้อมาขายไป ไม่ได้ทำการผลิตเองจะมีรูปแบบการหักค่าใช้จ่ายที่ถูกคิดตามอัตรา 60%
2. การหักค่าใช้จ่ายตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง วิธีการนี้จำเป็นจะต้องมีเอกสารที่ใช้ยืนยันค่าใช้จ่ายทุกตัว การหักค่าใช้จ่ายในลักษณะนี้หากมีวิธีการจัดการที่ดีจะเป็นการหักค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพมาก ถึงแม้ว่าวิธีการนี้อาจดูยุ่งยากในการจัดการด้านเอกสารไปสักหน่อย
แต่ถ้าหากว่ามีวิธีการจัดการงานด้านเอกสารในส่วนนี้ดีๆ อย่างการใช้โปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ของ SMEMOVE บันทึกรายการเข้า ออกต่างๆ ภายในกิจการรับรองได้เลยว่าการทำงานในส่วนนี้จะสะดวกสบายไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
3. เมื่อคุณมีรายได้ในการขายสินค้าออนไลน์มากกว่า 1,000,000 บาทต่อปี วิธีการหักค่าใช้จ่ายที่คุณจะต้องนำมาใช้งานคือการหักแบบเหมา
เมื่อเข้าใจแล้วว่าการจ่ายภาษีสำหรับการค้าขายแบบออนไลน์คืออะไร สามารถคิดภาษีได้อย่างไร คุณก็อย่าลืมหาเครื่องมือจัดการงานด้านบัญชีมาใช้งาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้เมื่อเกิดปัญหาในการยื่นภาษี
อย่างโปรแกรมบันทึกบัญชีของออนไลน์ของ SMEMOVE ดูนะคะ เพราะโปรแกรมบันทึกบัญชีของเราใช้งานง่าย สามารถบันทึกรายการบัญชี รายการสินค้าเข้าออก ค่าใช้จ่ายรายได้ต่างๆ สะดวกทั้งจัดการ และตรวจสอบ ดีขนาดนี้พลาดไม่ได้แล้วนะคะ
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE