จดบริษัทเพิ่มสิทธิหรือสร้างข้อจำกัด

By posted on August 16, 2019 9:47AM

เวลาหมุนไป ใครเลยจะคิดว่าสมัยนี้การเป็นเจ้าของธุรกิจมันจะง่ายดาย ถึงขนาดที่ใครก็ได้สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์ได้ บริษัทจำกัด(Company Limited) หรือ องค์การธุรกิจ จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จัดตั้งขึ้นโดยมีบุคคลอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ตกลงเข้าร่วมทุนโดยกำหนดทุนเป็นหุ้น โดยแต่ละหุ้นนั้นจะมีมูลค่าเท่ากัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ

เหตุใดผู้ประกอบการถึงให้ความสำคัญกับการจดทะเบียนบริษัทเป็นอันดับแรกๆ เมื่อคิดเริ่มทำธุรกิจ

  1. ระดมทุนและเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายกว่า บริษัทจำกัดเกิดจากผู้ถือหุ้น 3 คนขึ้นไป ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องเงินลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับการทำธุรกิจที่มีเพียงเจ้าของเดียว บริษัทจำกัดจะมีเงินลงทุนจำนวนมากจากเงินของหุ้นส่วนของแต่ละคน หากทุนของผู้ถือหุ้นไม่เพียงพอยังสามารถใช้วิธีการขายหุ้นของบริษัทเพื่อเรียกระดมทุนเพิ่มได้อีก หรือกรณีเป็น SMEs หรือ Startup ช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันทางการเงินที่ภาครัฐเปิดโอกาสให้อีกทางหนึ่ง
  2. การบริหารโดยมืออาชีพ การเป็นบริษัทจำกัดไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถของผู้ถือหุ้นในการบริหารเท่านั้น เพราะเงินทุนที่มีจำนวนมาก สามารถว่าจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาช่วยบริหารงานแทนผู้ถือหุ้นได้ เพื่อให้บริษัทเกิดผลตอบแทนมากที่สุด
  3. ความน่าเชื่อถือ การทำธุรกิจภายใต้รูปแบบบริษัทนั้นต้องอยู่ภายใต้กรอบและกฎหมาย ดังนั้นจึงสร้างความน่าเชื่อถือให้บริษัทมากกว่าการทำธุรกิจแบบเจ้าของเดียว
  4. เสียภาษีในอัตราต่ำกว่า เมื่อเทียบการทำธุรกิจในรูปแบบบริษัทกับรูปแบบเจ้าของธุรกิจคนเดียวนั้น อัตราการจ่ายภาษีของบริษัทจะมีอัตราสูงสุดอยู่ที่30% ซึ่งต่ำกว่าการเรียกเก็บภาษีของธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียวที่มีอัตราสูงสุดอยู่ที่ 37%
  5. จำกัดผลกำไรและภาระหนี้สิน จำนวนผลกำไรและภาระหนี้สินจะคิดตามจำนวนหุ้นที่ถือในบริษัท ต่างจากธุรกิจเจ้าของคนเดียว ที่เมื่อเกิดภาวะขาดทุนจะต้องรับผิดชอบส่วนเกินด้วยทรัพย์สินส่วนตัว

แต่การจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทไม่ได้มีเฉพาะข้อดีที่กล่าวมา การดำเนินงานในแบบบริษัทมีข้อเสียหลายอย่าง

  1. มีข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันเอง หลายคนหลายความคิด ยิ่งมีผู้ถือหุ้นมากก็จะทำให้เกิดความคิดต่าง ระหว่างการดำเนินงานจึงมักจะเกิดปัญหาการทะเลาะและข้อพิพาทขึ้น เพราะความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันเอง
  2. อำนาจการตัดสินใจต้องขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นทั้งหมด ยิ่งบริษัทมีผู้ถือหุ้นจำนวนมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเกิดความยุ่งยากในการตัดสินใจ เพราะต้องผ่านการรับรู้และตัดสินใจของผู้ถือหุ้นบริษัททั้งหมด ทำให้กระบวนการตัดสินใจช้ากว่าการเป็นธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว
  3. การดำเนินการยุ่งยาก การทำธุรกิจในรูปแบบบริษัทถูกควบคุมโดยกฎหมาย ที่กำหนดให้บริษัทมีหน้าที่ต้องทำหลายอย่าง เป็นต้นว่า ต้องทำงบการเงิน จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จัดให้มีการประชุมใหญ่ จัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้น  จัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เป็นต้น ขั้นตอนเหล่านี้ทำให้บริษัทต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นในการจัดหาบุคลากรเข้ามาทำหน้าที่เหล่านี้
  4. อำนาจบริหารผูกขาดโดยผู้ถือหุ้นมากที่สุด การกำหนดทิศทางบริษัทมักถูกกำหนดโดยผู้ที่ครองจำนวนหุ้นสูงสุด เรียกได้ว่าผู้ถือหุ้นน้อยจะไม่ค่อยมีสิทธิ์ในการกำหนดรูปแบบการทำธุรกิจตามแบบที่ต้องการ

แม้การจดทะเบียนบริษัทจะเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจ เข้าถึงแหล่งเงินทุน และภาครัฐจัดระบบระเบียบบริษัทได้ รวมถึงให้ความช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น แต่ผู้ประกอบการเองควรพิจารณาข้อเสียไปพร้อม ๆ กันด้วย เพราะโครงสร้างบริษัทจะมีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของธุรกิจ

และอย่าลืมว่าการธุรกิจแบบไหนก็ตาม แต่การทำบัญชียังเป็นเรื่องสำคัญ เราจึงขอนำเสนอโปรแกรมบัญชีที่จะช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น นั่นก็คือ โปรแกรมบัญชีอัตโนมัติ SMEMOVE ที่ดู REPORT ได้แบบ REAL-TIME แถมยังราคาประหยัดอีกด้วย

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE