กองทุนเงินทดแทน กท.25 ค นายจ้างควรรู้?

By posted on September 10, 2019 5:30PM

สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นทำกิจการ หรือทำกิจการมาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจนปัจจุบันนี้กำลังมองหาพนักงาน หรือผู้ช่วยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ ในฐานะเจ้าของกิจการที่มีลูกจ้างเข้ามาเพิ่มคุณก็จะต้องทำหน้าที่เจ้านายที่ดีอย่างการขึ้นทะเบียนให้ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน ซึ่งงานในส่วนนี้คุณจำเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจสักเล็กน้อยก่อนลงมือทำจริง ดังนี้

1. กองทุนประกันสังคม

เมื่อมีการจ้างงานเกิดขึ้นภายในกิจการของคุณสิ่งแรกที่คุณต้องทำคือการขึ้นทะเบียนนายจ้าง และขึ้นทะเบียนลูกจ้างให้เป็นหนึ่งในผู้ประกันตนเองของกองทุนประกันสังคมภายในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันที่มีการจ้างงานตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อทำการขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้วหน้าที่ของนายจ้างก็คือการหักเงินสมทบจากเงินเดือนของพนักงานในอัตรา 5% ของค่าจ้างต่อเดือนแต่ใน 1 เดือนจะทำการหักเงินสมทบไม่เกิน 750 บาทตามที่กฎหมายกำหนด

วิธีการนำส่งคือการนำส่งเงินที่หักเข้ากองทุน พร้อมแนบเอกสาร สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ สปส. 1-10 ส่วนที่ 2 ยื่นส่งได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือยื่นแบบออนไลน์พร้อมแนบเอกสารชำระเงินจากธนาคารที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดไว้ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อเข้าสู่กองทุนประกันสังคมคือสิทธิ์ในการรักษาพยาบาล สิทธิ์ในการดูแลช่องปาก (ทำฟัน) และอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อลูกจ้าง

2. กองทุนเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทน เป็นกองทุนที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเจ็บป่วย จนถึงแก่ความตายหรือสูญหายระหว่างการทำงานให้กับนายจ้าง ซึ่งกองทุนในส่วนนี้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายเพียงฝ่ายเดียวให้สำนักงานประกันสังคม โดยจ่ายเป็นรายปีเงินสมทบส่วนเอกสารที่จะต้องยื่นส่งก็เป็นเอกสาร สปส. 1-01 ชุดเดียวกับกองทุนประกันสังคม

จำนวนเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน

นายจ้างมีหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทนแบบรายปี โดยจ่ายปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจำชำระตามแบบ กท.26 ก ที่ทางประกันสังคมได้ทำการประเมินตัวเลขไว้ และครั้งที่ 2 ทำการชำระตามยอดใบแจ้งการประเมิน กท.25 ค โดยตัวเลขจะถูกประเมินมาจากการคำนวณตามแบบ กท.20 ก ที่ได้นำส่งไปก่อนหน้า

วิธีการจ่ายชำระเข้ากองทุนเงินทดแทน

การจ่ายชำระเข้ากองทุนเงินทดแทนในครั้งแรกที่มีลูกจ้าง หรือทำการขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่จะต้องจัดทำภายใน 30 วันในปีแรก ส่วนในปีถัดไปจะต้องทำการจ่าย 2 รอบตามกระบวนการในช่วง 3 เดือนแรกของปีอย่างในช่วงเดือนมกราคมยอดที่คุณต้องทำการชำระเข้ากองทุนจะถูกคิดมาจากเงินค่าจ้างที่สำนักงานประกันสังคมประเมินไว้ให้ล่วงหน้า หากในระหว่างปีเกิดมีการเพิ่ม หรือลดจำนวนลูกจ้างเข้ามาภายในกิจการ ปรับเงินเดือน นายจ้างจำเป็นจะต้องจัดทำรายงานค่าจ้างที่จ่ายจริงในเดือนกุมภาพันธ์ส่งให้กับสำนักงานประกันสังคมอีกครั้ง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ

หากจำนวนค่าจ้างจริงของปีที่ผ่านมามีอัตราสูงกว่าที่ได้ประมาณไว้ ก็ต้องทำการจ่ายเงินทดแทนเพิ่มในเดือนมีนาคม แต่ในกรณีที่จำนวนค่าจ้างจริงของปีที่ผ่านมาต่ำกว่าค่าจ้างที่ได้ทำการประมาณไว้ นายจ้างก็สามารถขอรับเงินทดแทนส่วนที่จ่ายเกินคืนได้

ในกรณีที่นายจ้างจ่ายเงินทดแทนล่าช้าเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด หรือจ่ายเงินทดแทนไม่ครบจำนวนนายจ้างมีหน้าที่ในการจ่ายค่าปรับ 3% ของเงินที่ต้องทำการจ่ายต่อเดือน

การจัดการเอกสาร และการจัดการเงินในส่วนนี้อาจจะดูยุ่งยากไปสักเล็กน้อย แต่หากว่าคุณมีโปรแกรมบัญชีดีๆ อย่าง SMEMOVE การจัดการงานเอกสาร และการเงินในส่วนนี้จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพราะโปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ของ SMEMOVE นั้นสามารถจัดทำเอกสารเงินเดือน หักประกันสังคมได้ง่ายๆ จนคุณแทบไม่ต้องเสียเวลาในการทำงานด้านนี้เลย

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE