กรมสรรพากรเตรียมปั๊มรายได้ในไทย พร้อมผ่อนเกณฑ์ภาษีเงินได้จาก ตปท.

By posted on May 26, 2025 7:45PM
The Revenue Department News and Tax

ในช่วงที่ผ่านมาประเด็นข่าวของกรมสรพากร ถือว่ามีหลายประเด็นให้ติดตามกันมาก ๆ หนึ่งในนั้นคือ กรมสรรพากรอาจเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้า พร้อมกับการชงไอเดียเก็บภาษีและการจัดการภาษีใหม่ เพราะฉะนั้น ทาง SMEMOVE จะมาอัปเดตให้ครบทุกประเด็นกัน ว่าข่าวของทางกรมสรรพากรในช่วงนี้ มีประเด็นข่าวภาษีอากรอัปเดตล่าสุดอะไรบ้าง

นายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร

กรมสรรพากรคาดปี 2568 เก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้า

ทางด้าน นายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2568 ที่จะสิ้นสุดปีภาษีในวันที่ 30 ก.ย.2568 กรมสรรพากรมีเป้าจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 2.372 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 82% ของรายได้รัฐบาล ซึ่งการจัดเก็บภาษีในสิ้นปีงบประมาณ อาจต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งคาดว่าอาจต่ำกว่าเป้าอยู่ที่ 3.6 หมื่นล้านบาท แต่ทางกรมสรรพากรก็จะพยายามทำให้การจัดเก็บภาษีไม่ให้ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านอย่างแน่นอน

โดยทางกรมสรรพากรก็จะมีการหาภาษีตัวใหม่ เพื่อสร้างรายได้ให้กับกรมสรรพากร เนื่องจากภาษีปิโตรเลียม และ ภ.ง.ด.50 เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งก็ยังคงต้องรอการจัดเก็บภาษี ภ.ง.ด.51 ที่ยังไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วจะต่ำกว่าเป้าเท่าไหร่บ้าง แต่หากเทียบกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ จะพบว่าดัชนีปรับตัวลงมากกว่า 10%

มาตรการทางภาษี และแนวทางการบริหารจัดการภาษีใหม่

มาตรการทางภาษี และแนวทางการบริหารจัดการภาษีใหม่

จากประเด็นที่ทางกรมสรรพากรคาดแล้วว่า จะเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้า จึงนำมาสู่การจัดการภาษีใหม่เข้ามา โดยแนวทางที่คิดอยู่ ณ ตอนนี้ มีทั้งหมด 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่น่าสนใจ คือ

1. ออกผลิตภัณฑ์ภาษีตัวใหม่

อย่างเช่น ภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร หรือการท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งหากมีการจัดเก็บก็ต้องแก้กฎหมาย ให้เก็บนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยเช่นกัน รวมถึงการเก็บภาษีการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

2. ภาษีที่มีอยู่เดิมต้องขยับขึ้นภาษี

อย่างเช่น ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่อาจจะมีการปรับฐานภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น ซึ่งก่อนหน้าก็มีประเด็นการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มมาหลายรอบเช่นกัน อาทิ การปรับ VAT 15% ซึ่งก็เป็นไปตามการเก็บภาษีนิติบุคคลระดับโลกขั้นต่ำ (Global Minimum Tax – GMT) โดยประเทศไทยศึกษาการจัดเก็บภาษีจาก 20% เป็น 15% ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อาจจะปรับจาก 35% เหลือ 15% เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานในประเทศไทย เป็นต้น

3. ภาษีที่เกี่ยวกับตลาดหุ้น Capital Gain Tax

สำหรับภาษี Capital Gain Tax ทางกรมสรรพากรก็ได้ศึกษามาแล้วถึง 2 ปี ซึ่งเบื้องต้นอาจทำเรื่องเสนอกระทรวงการคลัง เพื่อเก็บเฉพาะคนที่ได้หุ้นจากข้างนอกแล้วมาจดทะเบียน (มือแรก) หรือก็คือ กลุ่มที่ก่อตั้งบริษัทแล้วเอาหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยจะเก็บจากหุ้นมือแรกเท่านั้น ช่วงเปลี่ยนมือจากการเสนอขายหุ้นให้แก่สาธารณชน (Initial Public Offering : IPO) แต่ก็ยังเป็นเพียงไอเดียเท่านั้น ยังไม่ได้มีการเสนอกระทรวงการคลังแต่อย่างใด

สรรพากรพร้อมผลักดันการลงทุนในไทย เปิดช่องไม่ต้องเสียภาษี

สรรพากรพร้อมผลักดันการลงทุนในไทย เปิดช่องไม่ต้องเสียภาษี

และอีกหนึ่งประเด็นที่น่าติดตามกันก็คือ การที่ทางกรมสรรพากรอยู่ระหว่างการพิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกา เพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์จัดเก็บภาษีเงินได้จากต่างประเทศ โดยจะกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้กับคนไทยที่มีรายได้ในต่างประเทศ ที่เมื่อนำเงินกลับเข้ามาในปีที่เกิดรายได้หรือปีถัดไป จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

อย่างเช่น มีรายได้ในปี 2568 แล้วนำเงินกลับเข้ามาในประเทศไทยปี 2568 – 2569 บุคคลธรรมดาจะไม่ต้องเสียภาษี แต่หากนำเข้ามาหลังจากนั้น จะมีการจัดเก็บภาษีในอัตราขั้นบันได ตั้งแต่ 5 – 35% ซึ่งมาตรการนี้จะถูกแก้ไขในรัฐบาลที่แล้ว มีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567

โดยรายได้จะถูกคำนวณในฐานภาษีของปีที่นำเข้ามา ทำให้คนไทยที่ลงทุนหรือว่าทำงานในต่างประเทศไม่อยากนำเงินกลับเข้ามา เพราะว่าจะมีภาระภาษี แต่มาตรการนี้อาจจะทำให้คนไทยที่มีรายได้จากต่างประเทศนำเงินกลับเข้ามาได้เช่นกัน ซึ่งนักลงทุนหรือคนที่ทำงานในต่างประเทศ ก็น่าจะได้เห็นการยกร่างกฎหมายเก็บภาษีในเร็ว ๆ นี้ก็ได้

แน่นอนว่า มาตรการและกฎหมายนี้ สอดคล้องกับแนวคิดการจัดเก็บภาษีของ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ) ที่หลาย ๆ ประเทศใช้กันอยู่ ซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยนหรือยกร่างกฎหมาย ก็อาจจะส่งผลต่อแนวทางการเสียภาษีจากกำไรในสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Cryptocurrency เช่นกัน

สรรพากรเตรียมดันแนวทางเสียภาษี จากสินทรัพย์ดิจิทัล และ Cryptocurrency

สรุป

จะเห็นได้ว่า ข่าวภาษีอากรและมาตรการทางภาษีของกรมสรรพากรในช่วงนี้ มีหลายประเด็นให้ติดตามกันมาก ๆ โดยเฉพาะการออกผลิตภัณฑ์ภาษีตัวใหม่ ที่ก็น่าจะมีให้เห็นกันแน่นอน รวมถึงการศึกษาภาษีในกลุ่ม Capital Gain Tax ที่ก็น่าจะทำให้กรมสรรพากรมีแนวทางในเร็ว ๆ นี้ และที่ขาดไม่ได้คือ หากมีการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7% ก็น่าจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนหรือผู้ประกอบการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE