นอกเหนือจากการยื่นภาษีประจำปี อีกหนึ่งภาษีที่ต้องรู้จักก็คือ “ภาษีครึ่งปี” หรือ “ภาษีเงินได้ครึ่งปี” ซึ่งเป็นหนึ่งในภาษีที่มีผลโดยตรงทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือประกอบอาชีพอิสระ (ฟรีแลนซ์) ที่ต้องดำเนินการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีด้วยเช่นกัน ไม่ต่างจากนิติบุคคลที่ต้องดำเนินการด้วย ซึ่งทาง SMEMOVE จะมาสรุปให้ดูกัน ว่าภาษีครึ่งปีที่ว่านี้คืออะไร แล้วภาษีครึ่งปี ยื่นเมื่อไหร่
รู้จัก ภาษีครึ่งปี คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ?
ภาษีครึ่งปี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษีเงินได้ครึ่งปี ที่จะยื่นภาษีจากเงินได้ ค่าใช้จ่าย รวมถึงค่าลดหย่อนมาประกอบการยื่น โดยเป็นนำรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน มายื่นภาษีครึ่งปี โดยรูปแบบการยื่นจะคล้ายกับการยื่นภาษีประจำปี แต่การยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี จะมีกฎเกณฑ์ในการยื่นที่ต่างกันออกไปจากภาษีประจำปี โดยที่ยังคงใช้หลักการเดียวกันในการยื่นนั่นเอง
ภาษีครึ่งปี ใครบ้างที่ต้องยื่น?
หลังจากที่พอเข้าใจความหมายและความสำคัญของ ภาษีครึ่งปี กันไปบ้างแล้ว เราจะมาดูกันว่าใครบ้างที่มีหน้าที่ต้องยื่น ภาษีเงินได้ครึ่งปี แล้วเกณฑ์ในการยื่นมีอะไรบ้าง?
1. ภาษีครึ่งปี บุคคลธรรมดา หรือ ภ.ง.ด. 94
หรือก็คือบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ แต่จะต่างกันที่รายได้ของครึ่งปีแรกของปีปฏิทินนั้น ๆ จะต้องรวมกันมากกว่า 60,000 บาท เช่น หากยื่น ภาษีครึ่งปี 2565 แสดงว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2565 จะต้องมีรายได้รวมกันแล้วมากกว่า 60,000 บาท ถึงจะต้องยื่นภาษีครึ่งปี 2565 เช่นเดียวกับปี 2566 นี้ ที่ก็จะใช้หลักการเดียวกันในการดูเงินได้สุทธิ
สำหรับรายได้ครึ่งปีที่ถูกนำมาคิด หรือนำมาคำนวณประกอบการ ยื่นภาษีครึ่งปี บุคคลธรรมดา จะอยู่ในกลุ่มรายได้พึงประเมินประเภทที่ 40(5) – 40(8) ได้แก่
- เงินได้มาตรา 40(5) คือรายได้ที่มาในรูปแบบของค่าเช่าที่ได้รับจากทรัพย์สิน เช่น เงินจากค่าเช่าบ้าน คอนโด หรือที่ดิน
- เงินได้มาตรา 40(6) เงินที่ได้จากอาชีพอิสระ มีทั้งหมด 6 อาชีพ ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ, นักกฎหมาย, วิศวกร, สถาปนิก, นักบัญชี และช่างประณีตศิลป์
- เงินได้มาตรา 40(7) หรือรายได้ที่มารูปแบบของค่ารับเหมา ที่ผู้เสียภาษีได้ทำหน้าที่ในการจัดหาเองทั้งหมด อาทิ ค่าเครื่องมือ ค่าของต่าง ๆ เรียกง่าย ๆ ว่ารายได้จากค่าจ้างรับเหมาก็ได้
- เงินได้มาตรา 40(8) เงินประเภทอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวมา อาทิ การขายของออนไลน์, เปิดร้านอาหาร, เงินที่ได้จากกองทุน, การเป็น Content Creator หรือแม้แต่อินฟลูเอนเซอร์ โดยต้องยื่นภาษีครึ่งปี บุคคลธรรมดา ทั้งหมด
2. ภาษีครึ่งปี นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 51)
การยื่นน ภาษีครึ่งปี นิติบุคคล บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน จะเป็นการยื่นภาษีในช่วงปีแรกของปฏิทินเช่นกัน โดยวิธีการคำนวณคือการใช้ “ฐานกำไรสุทธิ” โดยเงื่อนไขคือ ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งและจดทะเบียนในประเทศไทย มีรอบบัญชีครบ 12 เดือน และจะต้องดำเนินกิจการอยู่ในปีนั้น เช่น การยื่นภาษีครึ่งปี นิติบุคคล 2566 ก็ต้องดำเนินกิจการอยู่ในปี 2566 นี้เช่นกัน เรียกง่าย ๆ ว่า หากมีรายได้ครบ 6 เดือน ก็ต้องยื่นแบบ ภาษีครึ่งปี นิติบุคคล นั่นเอง
วิธีการคำนวณและการยื่น ภาษีครึ่งปี สำหรับบุคคลธรรมดา
สำหรับวิธีการคำนวณ ภาษีครึ่งปี บุคคลธรรมดา หลักการจะเหมือนกับการยื่นภาษีแบบรายปี แต่จะต่างกันคือค่าลดหย่อนบางตัว ที่จะใช้คำนวณและประกอบการยื่นได้แค่ครึ่งเดียวเท่านั้น เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ซึ่งบุคคลธรรมดาจะใช้แบบ ภ.ง.ด. 94 ในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
และเมื่อถึงปลายปีที่คำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 อีกครั้ง โดยจะสามารถนำยอด ภาษีครึ่งปี ที่ได้ชำระไว้แล้วจากมาหักออกได้เลย นอกจากนี้ โดยสามารถยื่นแบบฯ ออนไลน์ หรือยื่น ภาษีครึ่งปี บุคคลธรรมดา ผ่านทางเว็บไซต์ www.rd.go.th หรือที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ
วิธีการคำนวณ และการยื่นภาษีครึ่งปี นิติบุคคล
โดยการยื่นแบบ ภาษีครึ่งปี นิติบุคคล จะใช้แบบ ภ.ง.ด. 51 ในการแสดงภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี โดยวิธีการคำนวณเงินได้จะมี 2 วิธี คือ
1. ประมาณการกำไรสุทธิ
เป็นการประมาณการกำไรสุทธิจากรายได้และรายจ่าย ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาบัญชี แล้วนำกึ่งหนึ่งของการประมาณการกำไรที่ได้ไปคำนวณภาษีครึ่งปี
2. กำไรที่เกิดขึ้นจากรอบครึ่งหนึ่งของระยะเวลาบัญชี
บริษัทหรือนิติบุคคลที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศใช้ โดยหลักการคือ ให้นำรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในรอบระยะเวลาบัญชีแรก มาคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิ เมื่อได้กำไรสุทธิประกอบการยื่นภาษีครึ่งปีแล้ว ก็ให้นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษี ก็จะได้ยอดสุทธิของภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการยื่นภาษีครึ่งปี นิติบุคคล
ภาษีครึ่งปี บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ยื่นเมื่อไหร่บ้าง?
- การยื่นภาษีครึ่งปี บุคคลธรรมดา จะต้องยื่นภายในวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี
- ภาษีครึ่งปี นิติบุคคล ต้องยื่นภายใน 2 เดือน หลังจากวันครึ่งของระยะเวลาบัญชีแรก
สิทธิลดหย่อนภาษีครึ่งปี บุคคลธรรมดา ที่สามารถใช้ได้
1. กลุ่มที่สามารถลดหย่อนได้ตามปกติ
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่
- ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
- กองทุน SSF
- กองทุน SSF ลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคลดหย่อนภาษี
- ค่าลดหย่อนกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
- ค่าลดหย่อนช้อปดีมีคืน (1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์)
- เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
- เงินบริจาคพรรคการเมือง
2. กลุ่มที่ลดหย่อนได้น้อยกว่าปกติ
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส
- ค่าลดหย่อนบุตร
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา
- ค่าลดหย่อนผู้พิการ หรือทุพพลภาพ
- ค่าเบี้ยประกันชีวิต
- ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน
- ค่าลดหย่อนประกันสังคม
เรียกได้เลยว่า การยื่น ภาษีครึ่งปี 2566 นี้ เป็นสิ่งที่ทั้งนิติบุคคล และบุคคลธรรมดาจะต้องยื่นตามกฎหมาย หากไม่ยื่นถือว่ามีโทษตามกฎหมาย โดยหากบุคคลธรรดาไม่ยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ก็จะมีโทษปรับไม่ยื่น 2,000 บาท และเงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) จากภาษีอัตรา 1.5% ต่อเดือน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2566 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ทั้งการยื่น ภาษีครึ่งปี นิติบุคคล และบุคคลธรรมดา สามารถยื่นแบบฯ ออนไลน์ ผ่านทาง www.rd.go.th หรือที่สำนักงานสรรพากรได้เลย โดยผู้ที่ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ของทาง SMEMOVE สามารถใช้เอกสารทางธุรกิจของเราประกอบการยื่นภาษีครึ่งปีได้ตามกฎหมาย
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE