ในปัจจุบันนี้นอกจากอาชีพ Sale หรือพนักงานขายในบริษัท ที่จะได้รับ “ค่าคอมมิชชั่น” แล้ว ต้องยอมรับเลยว่า อาชีพในสายงานนี้ยังมีอีกหลายรูปแบบ ที่จะได้รับค่านายหน้าจากการจัดซื้อ-ขาย เพราะฉะนั้น เราจะพาคุณมาเจาะลึกทุกข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับการเป็นพนักงานขาย นายหน้า หรือเอเจนต์ ว่าสายงานเหล่านี้มีรายได้จากอะไร แล้วค่าคอมมิชชั่นที่ได้มา ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์กันแน่ มีรูปแบบการคิดอย่างไรบ้าง?
ทำความรู้จัก “ค่าคอมมิชชั่น” หรือ “ค่านายหน้า”
คำว่า ค่าคอมมิชชั่น (Commission) หรือ ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม จะเรียกกันสั้น ๆ ว่า “ค่าคอม” ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่นักลงทุนหรือผู้ปรุะกอบการจะต้องจ่ายค่าบริการหรือค่าตอบแทน ให้กับพนักงานหรือลูกจ้างที่ให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งค่าคอมมิชชั่นก็คือเงินตอบแทนการขาย ที่ช่วยสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างช่วยกันพัฒนาการบริการให้แก่ลูกค้าให้ดีและน่าประทับใจมากขึ้น รวมถึงการขายสินค้าให้ได้จำนวนมากที่สุด โดยค่าคอมที่ได้รับจะเป็นเงินพิเศษที่แยกออกมาจากค่าจ้างปกติ จะไม่ถูกนำมาคิดรวมกันกับรายได้ส่วนอื่น ๆ เช่น ฐานเงินเดือน
ค่านายหน้า หรือค่าคอมมิชชั่น หักภาษี ณ ที่จ่าย กี่เปอร์เซ็นต์?
โดยทั่วไปแล้วภาษีหัก ณ ที่จ่าย เวลาจ่ายค่าคอมมิชชั่น หรือว่าค่านายหน้านั้น ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือพนักงาน จะถือว่าค่าคอมมิชชั่นที่ได้ถือเป็นเงินได้ประเภท 40(2) โดยจะหักภาษีตามอัตราก้าวหน้า แต่กรณีที่เป็นนิติบุคคลจะต้องหัก ณ ที่จ่าย ในอัตรา 3%
- นิติบุคคลที่ได้รับค่านายหน้าจากนิติบุคคล ผู้จ่ายเงินจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แล้วนำส่งด้วย ภ.ง.ด. 53
- นิติบุคคลจ่ายค่านายหน้าให้กับบุคคลธรรมดา จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 0 – 35% แต่หากบุคคลธรรดาอยู่ในไทยไม่ถึง 183 ปี ในปีภาษี ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%
ทั้งนี้ บางกรณีที่นายหน้าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% จะเป็นการหักสำหรับบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่พนักงานหรือลูกจ้างโดยตรง และท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าจะถูกหักกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม ผู้ที่เป็นนายหน้าหรือพนักงานขายก็ต้องนำเอกสารในการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ ใบ 50 ทวิ ไปใช้ประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรดาเช่นเดิม และหากนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการบางประเภทตามที่กฎหมายกำหนดเป็นพิเศษ เช่น การขายอสังหาริมทรัพย์ ก็จะต้อง “ยื่นภาษีธุรกิจเฉพาะ“ ด้วยเช่นกัน
อัตราภาษีเมื่อต้องคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย เมื่อได้ค่าคอม!
การได้ค่าคอมมิชชั่นของพนักงานขายที่มีฐานะเป็นเจ้านายและลูกน้อง จะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามอัตราก้าวหน้าหรือก็คือ หากเงินได้สุทธิมากกว่า 150,000 บาท/ปี จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตั้งแต่ 5% ขึ้นไป จึงเป็นที่มาว่า ทำไมเมื่อได้ค่านายหน้าหรือค่าคอมแล้ว ถึงโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% นั่นเอง โดยอัตราภาษีของเงินได้สุทธิจะคิดตั้งแต่ 5 – 35% ดังนี้
- 0 – 150,000 บาท = ยกเว้น
- 150,000 – 300,000 = 5%
- 300,000 – 500,000 = 10%
- 500,000 – 750,000 = 15%
- 750,000 – 1,000,000 = 20%
- 1,000,000 – 2,000,000 = 25%
- 2,000,000 – 5,000,000 = 30%
- มากกว่า 5,000,000 = 35%
เพราะฉะนั้น การหักภาษี ณ ที่จ่าย ของพนักงานขายทุกคน หากอยู่ในฐานะเจ้านายและลูกน้อง จะต้องยึดตามอัตราภาษีด้านบนเป็นหลัก ซึ่งโดยปกติแล้วฝ่ายบัญชีหรือผู้ที่ต้องจัดทำเอกสารดังกล่าว จะคำนวณการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ละเดือนให้อยู่แล้ว เพราะจะยึดตามการประมาณการรายได้ของพนักงานแต่ละคนนั่นเอง
สาระน่ารู้! เป็นนายหน้าฟรีแลนซ์ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายยังไง?
สำหรับเอเจนต์หรือนายหน้าที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น นายหน้าขายอสังหาริมทรัพย์ ซื้อ – ขายคอนโด หรือปล่อยเช่าให้ชาวต่างชาติ ค่าคอมมิชชั่นจะขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างเจ้าของทรัพย์และนายหน้า ซึ่งโดยส่วนมากแล้วค่าคอมจะอยู่ที่ 3% ของราคาขาย โดยรูปแบบการจ่ายเงินก็มีทั้งเงินสดและแคชเชียร์เช็ก
โดยในกรณีนี้ หากผู้ว่าจ้างเป็นนิติบุคคล จะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 3% จากค่าคอมมิชชั่นอีกที เพื่อใช้ประกอบการยื่นให้กับทางกรมสรรพากร เช่น หากค่าคอมมิชชั่นที่ได้คือ 90,000 บาท จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 2,700 บาท
ทั้งนี้ การยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ หรือนายหน้าที่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล หรือเป็นผู้ที่ได้รับค่าคอมโดยที่ไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านายและลูกน้อง การหักค่าใช้จ่ายเงินได้ประเภทที่ 2 นี้ จะใช้วิธีเดียวคือ ‘การหักแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท’
หมายเหตุ : หากมีเงินได้ทั้งประเภทที่ 1 เช่น เงินเดือน และเงินได้ประเภทที่ 2 รวมกัน จะหักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมาเพียงวิธีเดียว โดยจะหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกัน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ SMEMOVE จบทุกปัญหาเรื่องเอกสารทางธุรกิจ!
จะเห็นได้เลยว่า การทำเอกสารทางธุรกิจ โดยเฉพาะใบ 50 ทวิ ที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับพนักงานหรือลูกจ้างที่เป็นพนักงานขายนั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างหลากหลาย เพราะค่าคอมมิชชั่นจะไม่ได้ถูกนำมานับรวมกับฐานเงินเดือน หรือว่าค่าจ้างตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้น คนที่ทำเอกสารภายในองค์กรหรือฝ่ายบัญชี จะต้องมีความรอบคอบเรื่องการจัดทำเอกสารและการคำนวณการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากค่านายหน้า
ทั้งนี้ ในกรณีที่จัดทำเอกสารผ่านทางโปรแกรมบัญชีออนไลน์ SMEMOVE นั้น ตัวระบบจะมีการประมาณการรายได้รวมทั้งปีให้โดยอัตโนมัติ ทั้งในส่วนของเงินเดือน โบนัส และค่าคอมมิชชั่น พร้อมนำมาหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว ตามเงินได้ประเภท 40(1) หากเงินได้สุทธิไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดา หรือไม่เกิน 150,000 บาท/ปี ก็จะไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่หากพนักงานคนไหนที่เงินได้สุทธิในปีภาษีมากกว่า 150,000 บาท/ปี ระบบก็จะคำนวณการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ ตามอัตราก้าวหน้าเช่นกัน
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE