สิทธิลาคลอด ปี 2568 คุณแม่ตั้งครรภ์ลาได้กี่วัน เบิกได้เท่าไหร่บ้าง?

By posted on May 2, 2025 2:01PM
สิทธิลาคลอด ปี 2568 คุณแม่ตั้งครรภ์ลาได้กี่วัน เบิกได้เท่าไหร่บ้าง?

เชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คน ก็คงอยากจะรู้ว่า สิทธิลาคลอด ปี 2568 นี้ มีอะไรบ้าง แล้วการเบิกแต่ละรายการ ตามสิทธิประกันสังคมนั้น สามารถเบิกได้เท่าไหร่ เพราะฉะนั้น ทาง SMEMOVE จะพาว่าที่คุณแม่มือใหม่มาอัปเดตกัน ว่าปีนี้กฎหมายแรงงานเรื่องการลาคลอดบุตรสามารถลาได้กี่วัน แล้วประเด็นเวลาการขยายวันลาคลอด 120 วัน มีแนวโน้มอย่างไรบ้างในปีนี้

สิทธิลาคลอด ปี 2568 ตามกฎหมายแรงงาน

สิทธิลาคลอด ปี 2568 ตามกฎหมายแรงงาน

ในปัจจุบันนี้กฎหมายแรงงานที่กำหนดให้พนักงานหญิงมีสิทธิลาคลอดได้นั้น สามารถลาคลอดได้ 98 วัน โดยแบ่งเป็น 45 วันก่อนคลอด และ 45 วันหลังคลอด โดยเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน นอกจากนี้ หากคุณแม่มือใหม่ป้ายแดงเป็นสมาชิกประกันสังคม ยังจะได้รับเงินชดชยในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยนานสูงสุดถึง 90 วัน

โดยเงื่อนไขการลาคลอด 98 วันนี้ จะต้องเป็นการลาต่อเนื่องกัน โดยนับรวมกับวันหยุดราชการ รวมถึงวันหยุดนัตฤกษ์ด้วย โดยการลาคลอดนี้ก็อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างตามข้อบังคับ หรือว่าสัญญาจ้างของแต่ละองค์กรที่สังกัดอยู่ เพราะบางบริษัทก็อาจจะมีสวัสดิการลาคลอดที่มากกว่า 98 วันตามกฎหมายแรงงานด้วย ซึ่งคุณแม่จะต้องทำการวางแผนการคลอดให้ดี ทั้งเรื่องสวัสดิการของบริษัท และสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวันลา

และอีกหนึ่งประเด็นที่ห้ามมองข้ามนอกเหนือจาก สิทธิลาคลอดตามกฎหมาย คือ การวางแผนการคลอด ทั้งแบบปกติและการวางแผนผ่าคลอด เพราะว่าต้องเตรียมร่างกายและนอนโรงพยาบาลเตรียมคลอดด้วย ส่วนการลาคลอดก็ควรแจ้งล่วงหน้า 30 วัน เพื่อให้บริษัทหรือทีมที่ทำงานด้วยสามารถวางแผนในการจัดการงานต่อได้นั่นเอง

รวมสิทธิลาคลอด และสิทธิประกันสังคม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

รวมสิทธิประกันสังคม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

1. สิทธิการรับเงินช่วยเพิ่มเติมค่าฝากครรภ์

โดยสิทธินี้คุณแม่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามีอยู่ แต่จริง ๆ แล้ว สิทธิประกันสังคมจะมีเงินช่วยเพิ่มเติมสำหรับค่าฝากครรภ์ให้กับคุณแม่ด้วยเช่นกัน โดยเป็นเงินจำนวนทั้งหมด 1,500 บาท โดยจะรวมทั้งค่าอัลตราซาวด์ วัคซีน และค่ายาต่าง ๆ ที่สามารถยื่นเบิกได้ทั้งก่อนและหลังคลอด โดยแบ่งการจ่ายเงินออกเป็น 5 ครั้ง คือ

  • ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 500 บาท
  • ครั้งที่ 2 อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 300 บาท
  • ครั้งที่ 3 อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 300 บาท
  • ครั้งที่ 4 อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 200 บาท
  • ครั้งที่ 5 อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 40 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 200 บาท

2. สิทธิลาคลอดและค่าเบิกจ่ายหลังคลอด

  • ค่าคลอดบุตร วงเงิน 15,000 บาท/ครั้ง
  • เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอด 50% ของเงินเดือนเฉลี่ย (ไม่เกิน 15,000 บาท)
  • ค่าชดเชยกรณีแท้งบุตร โดยต้องมีอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์
  • เงินช่วยเหลือเพื่อเลี้ยงดูบุตร 800 บาท/เดือน (ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี) หากเป็นครรภ์แฝดสามารถเบิกได้ 1,200 บาท/เดือน

รวมสิทธิประกันสังคม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

การคิดเงินเดือนของบริษัทเอกชน เมื่อพนักงานลาคลอด

การคิดเงินเดือนเมื่อพนักงานลาคลอดนั้น เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่ก็คงอยากรู้ว่า บริษัทจ่ายเท่าไหร่? โดยตามกฎหมายแล้ว นายจ้างต้องจ่ายค้าจ่างให้พนักงานไม่น้อยกว่า 45 วันแรก ตามอัตราค่าจ้างปกติ โดยต้องนำฐานเงินเดือนมาคิด
วิธีคิดเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเมื่อพนักงานลาคลอด คือ (เงินเดือน / 30 วัน) x 45 วัน

ตัวอย่าง: พนักงานหญิงเงินเดือน 35,000 บาท เมื่อลาคลอด จะได้รับค่าจ้าง (35,000 / 30) x 45 = 52,500 บาท

การจ่ายค่าชดเชยลาคลอด จากประกันสังคม

สำหรับการสมทบเงินของประกันสังคม จะมีการจ่ายเงินชดเชยให้ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน (หากเป็นบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้สิทธิ์นี้) ส่วนผู้ที่มีสิทธิได้รับการชดเชยและสามารถเบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากประกันสังคมได้ ต้องจ่ายประกันสังคมมาแล้วมากกว่า 12 เดือน ภายในเวลา 36 เดือน

อัปเดต! สิทธิลาคลอดของฟรีแลนซ์ หรืออาชีพอิสระ

สำหรับกลุ่มอาชีพฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มอาชีพอิสระ ที่ไม่มีนายจ้างลาคลอดนั้น สามารถใช้สิทธิบัตรทอง หรือสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้เช่นกัน โดยสามารถเข้าถึงบริการการดูแลครรภ์และการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กฟรี และหากเป็นฟรีแลนซ์ที่มีประกันสังคม เช่น ลาออกมาประกอบอาชีพอิสระ และส่งประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค้าจ่างเฉลี่ย สูงสุด 15,000 บาท นาน 90 วัน พร้อมกับเงินช่วยเหลือบุตร 800 บาทต่อเดือน รวมถึงค่าคลอดบุตรอีก 15,000 บาท

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน เตรียมขยายวันลาคลอด 120 วัน

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน เตรียมขยายวันลาคลอด 120 วัน

อีกหนึ่งประเด็นที่เชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อยากรู้คือ การลาคลอด 120 วัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังเป็นเพียงแค่ร่าง พ.ร.บ. เห็นชอบขยายวันลาคลอดจาก 98 วัน เป็น 120 วัน ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ จะต้องเข้าลำดับพิจารณากฎหมายต่อไป
โดยทางนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานได้ผลักดันกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยการเพิ่มสิทธิวันลาเพื่อคลอดบุตรของลูกจ้างหญิง 120 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 60 วัน และให้ลูกจ้างชาย หรือผู้ชายก็มีสิทธิลา 15 วัน เพื่อช่วยเหลือคู่สมรสที่คลอดบุตร โดยได้รับค่าจ้าง 100%

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงกฎหมายประกันสังคม เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากการหยุดงานเพื่อคลอดบุตร จาก 90 วัน เป็น 98 วัน พร้อมกับการจัดตั้งศูนย์ที่ปรึกษาแรงงานหญิงนำร่อง 10 จังหวัด ในพื้นที่อุตสาหกรรม เพื่อแนะนำและให้ความช่วยเหลือแรงงานหญิงที่ประสบปัญหาในการทำงาน

และถึงแม้ว่าในตอนนี้กฎหมายลาคลอด 120 วัน จะยังไม่ได้อนุมัติหรือว่าบังคับใช้ แต่ก็น่าจะมีการผลักดันกันในเร็ว ๆ นี้ และหากมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิลาคลอดตามกฎหมายของแรงงานแล้ว ทาง SMEMOVE ก็จะมาอัปเดตให้กับชาวลูกจ้างและนายจ้างกันแบบ Real Time อย่างแน่นอน

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

 

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE