การทำบัญชีมีหลายสิ่งที่คุณต้องเรียนรู้ และเข้าใจว่าคุณไม่อาจหลีกเลี่ยงมันได้ โดยเฉพาะเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่องราวสุดลึกล้ำที่มีอะไรมากมายให้คุณได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจยิ่งเป็นมือใหม่ที่กำลังเรียนรู้เรื่องราวของการทำบัญชี หรือกำลังเริ่มต้นงานการทำบัญชีอยู่ก็ยิ่งไม่ควรพลาดเรื่องราวเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ SMEMOVE นำมาให้ทุกคนได้อ่านในวันนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร
ภาษีมูลค่าเพิ่มคือภาษีที่ถูกเก็บจากการซื้อขายหรือการให้บริการ และสินค้านำเข้า โดยผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีนี้ ก็คือกรมสรรพากร โดยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในการเรียกเก็บจะอยู่ที่ 10% แต่ปัจจุบันมีการออกกฎหมายพิเศษจึงทำให้อัตราภาษีที่ถูกเรียกเก็บลดลงมาเหลือ 7% และใช้วิธีต่ออายุแบบรายปี
ใครต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT)
หากจะถามว่าใครมีหน้าที่ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อพูดกันตามกฎหมายแล้วผู้ที่มีหน้าที่ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคือผู้ขายสินค้า หรือให้บริการที่มีรายได้จากการขายสินค้า หรือการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาท / ปี โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบบริษัท เพราะไม่ว่าคุณจะประกอบกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลหากมีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาท การจดภาษีมูลค่าเพิ่มคือสิ่งที่คุณต้องทำ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ใครเป็นผู้เสีย
ถึงแม้ว่าผู้ที่ให้บริการ หรือขายสินค้าจะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากจะให้ตอบว่าใครมีหน้าที่ในการเสียภาษีในส่วนนี้จริงๆ แล้วนั่นก็คือตัวของ ”ผู้บริโภค” นั่นเอง เพราะคนขาย หรือผู้ให้บริการไม่ได้มีหน้าที่ในการจ่าย VAT และหากจะถามต่ออีกว่าใครล่ะคือผู้บริโภค ตอบอย่างง่ายๆ อีกครั้งเลยว่าคือคนที่ไม่ได้จด VAT ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไป พนักงานบริษัท รวมไปถึงบริษัทห้างร้านที่ไม่ได้จด VAT ก็ถือว่าเป็นผู้บริโภคที่มีหน้าที่ในการจ่าย VAT เช่นกัน ส่วนผู้ที่มีหน้าที่ในการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็คือผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่จด VAT
ภาษีขายคืออะไร
ภาษีขายคือ VAT ที่เก็บจากลูกค้า และกิจการ ต้องถูกนำส่งให้กรมสรรพากร โดยกิจการจะเรียกเก็บ VAT รวมกับค่าสินค้าหรือบริการ (ราคารวมภาษี) หรือจะแยกเก็บภาษี (ราคาแยกภาษี) ก็ได้ ซึ่งการคิด VAT รวมกับค่าสินค้าหรือบริการมักถูกนำมาใช้ในธุรกิจที่ทำการค้าขาย หรือให้บริการในธุรกิจแบบ B2C (ธุรกิจที่ขายสินค้า หรือบริการระหว่างเจ้าของธุรกิจ และผู้บริโภครายบุคคล) ซึ่งจะแตกต่างกับการซื้อขาย หรือให้บริการแบบแยกภาษีที่มักจะถูกนำมาใช้กับธุรกิจแบบ B2B (ธุรกิจที่ขายสินค้า หรือบริการระหว่างเจ้าของธุรกิจ กับเจ้าของธุรกิจ)
ภาษีซื้อ คือ
ภาษีซื้อคือ VAT ที่ผู้ขายสินค้า หรือให้บริการเก็บจากเรา (กิจการผู้ซื้อ) และสามารถนำไปขอคืน หรือนำไปหัก กับภาษีขายได้
VAT ยื่นอย่างไร และต้องทำการยื่นภายในเมื่อไร
การยื่น VAT สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการจัดทำเอกสาร ภ.พ. 30 หรือที่รู้จักกันในชื่อแบบแสดงรายการสรุปสำหรับภาษีซื้อและภาษีขาย โดยระยะเวลาในการนำส่งจะต้องทำภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการยื่นแบบออนไลน์ หรือการนำส่งด้วยตนเองที่กรมสรรพากร ทั้งนี้การยื่นแบบ ภ.พ. 30 จะเป็นการรวบรวมกิจกรรมการซื้อขายทุกอย่างที่เกิดขึ้นภายในเดือนแต่ละเดือน ซึ่งถ้าหากไม่มียอดซื้อขายเลย ก็สามารถนำส่งแบบเปล่าได้
การคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ต้องนำจ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งให้กับสรรพากรคือ “ภาษีขายที่ถูกหักด้วยภาษีซื้อ” หรือก็คือจำนวนที่เราต้องนำส่ง (ภาษีขาย) หักด้วยจำนวนที่เราต้องขอคืนจากสรรพากร (ภาษีซื้อ) สามารถคำนวณได้ง่ายๆ คือ
– หาก “ภาษีขาย” มากกว่า “ภาษีซื้อ” ให้คุณนำส่งภาษีให้สรรพากร เท่าส่วนต่างระหว่างภาษีขาย กับภาษีซื้อ
– หาก “ภาษีซื้อ” มากกว่า “ภาษีขาย” คุณสามารถขอคืนส่วนต่างระหว่างภาษีขาย กับภาษีซื้อได้ (ขอคืน) หรือจะนำภาษีที่สามารถขอคืนนี้ไปใช้ได้ในเดือนถัดไปก็ได้ (ไม่ขอคืน)
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว SMEMOVE เชื่อว่าทุกคนคงจะเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วว่ามันคืออะไร? แล้วใครกันล่ะที่เป็นคนจ่ายภาษีนี้ สำหรับใครที่อ่านแล้วรู้สึกว่ากิจการของตัวเองก็น่าจะต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ก็อย่าลืมว่าการทำบัญชีจะเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องใส่ใจมากยิ่งขึ้น ดังนั้นคุณก็ควรมีมีตัวช่วยดีๆ ในการจัดการงานบัญชีอย่างโปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ SMEMOVE ไว้ใช้งานด้วยนะคะ
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE