หากใครที่ติดตามบทความดีๆ จาก SMEMOVE อยู่อย่างต่อเนื่อง คงจะได้เห็นเรื่องราวเกี่ยวกับเงินกรรมการกู้ยืม หรือเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ที่ทางกิจการนำเงินภายในมาให้กรรมการกู้ยืมมาบ้างแล้ว วันนี้ SMEMOVE ก็จะขอกลับมาพูดถึงเรื่องราวของเงินกรรมการกู้ยืมอีกครั้ง โดยครั้งนี้จะเป็นเรื่องราวของการคำนวณดอกเบี้ย และภาษีในการยื่น ภ.ธ. 40
ทำความเข้าใจกับเงินกู้ยืมกรรมการ
หลายคนมักเข้าใจว่าหากมีกิจการเป็นของตัวเอง มีตัวเองเป็นคนบริหารจัดการงาน หากกิจการขาดเงินก็สามารถควักเงินส่วนตัวไปช่วยได้ หรือหากตัวเองขาดเงินหมุนในชีวิตประจำวันก็สามารถนำเงินกำไรในกิจการมาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องทำเอกสารหรือจัดการเงินส่วนนี้ให้เป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งนั่นก็คือความเข้าใจผิดอันใหญ่หลวง
เพราะในทางบัญชีแล้ว การโอนเงินจากบริษัทเข้ากระเป๋าตัวเองแบบทันทีไม่มีหลักฐานอะไรนั้นไม่สามารถทำได้ ตามที่กฎหมายตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร หากมีการเบิกเงินออกจากกิจการ ทางกฎหมายจะถือว่าเป็นการกู้ยืมเงินขึ้นมาทันที ซึ่งเงินในส่วนนี้ที่หายไปกิจการจะต้องทำการคิดดอกเบี้ยจากกรรมการด้วย เพื่อให้บริษัทมีรายได้ที่มาจากการให้กู้ยืมตามกฎหมาย และในการคิดดอกเบี้ยหลายคนคงจะสงสัยว่าจะคิดเท่าไหร่ และจ่ายคืนอย่างไรให้ถูกต้องตามมาดูกันเลยค่ะ
คิดดอกเบี้ยเงินให้กู้กรรมการอย่างไร
การคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมแก่กรรมการมักจะทำกันแบบง่ายๆ คือถ้าหากกิจการไม่มีเงินกู้ก็ให้คิดตามดอกเบี้ยเงินฝากประจำ แต่ถ้าหากกิจการมีเงินกู้ก็ให้คิดตามดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของกิจการ หรือสรุปได้ง่ายๆ ว่าการคิดดอกเบี้ย ให้คิดดอกเบี้ยตามแหล่งที่มาของเงิน ว่าทางกิจการรับเงินมาจากทางไหน และการคำนวณตามระยะเวลาในการกู้ยืมด้วย
จ่ายเงินกู้ยืมกรรมการอย่างไรให้ถูกต้อง
การจ่ายเงินกู้ยืมกรรมการหากได้ทำการจ่ายจริงตามจำนวนที่กู้ยืมไป และมีการชำระดอกเบี้ยกันตามที่ตกลงไว้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากว่าไม่มีการจ่ายชำระจริงปัญหาด้านการทำบัญชีจะตามมาแน่นอน และคำถามที่ว่าจะจ่ายเงินกู้ยืมกรรมการอย่างไรให้ถูกเมื่อไม่เคยจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่กิจการเลย ต้องขอบอกเลยว่ามีอยู่ 2 ทางเลือกคือ
1. ถือว่ามีการจ่ายเสมือนจริง ถึงแม้จะไม่จ่ายจริงก็ตาม วิธีการทำก็คือบันทึกรายการเข้าไปในงบแสดงฐานะทางการเงิน และงบกำไรขาดทุน เมื่อถึงช่วงสิ้นปีก็ทำการปรับปรุงรายการให้เป็นรายการค้างรับ (รับรู้ว่าเป็นรายได้ดอกเบี้ย แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง) ดังนั้นรายได้จะถูกนำมาคำนวณภาษี ส่วนเงินที่ค้างไว้จะเป็นดอกเบี้ยรอจ่าย สรุปง่ายๆ ก็คือ การบันทึกรายการเหมือนว่าเกิดขึ้นจริง
ในกรณีที่เลือกใช้วิธีการนี้จะเหมือนกับการถูกบังคับให้รับรู้ว่ารายการได้เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะต้องมีการทำรายการจ่ายจริง และเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (เมื่อมีการจ่าย) อีกทอดหนึ่ง
2. ถือเป็นการปรับปรุงรายการโดยไม่ลงบันทึกรายการในงบการเงิน และไม่ทำการปรับปรุงบัญชี แต่เลือกที่จะปรับปรุงในแบบแสดงภาษีแทน โดยการทำก็ให้ระบุไปในแบบแสดงภาษีในช่อง “รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้” หากทำตามวิธีนี้คุณก็ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่เสียแค่ภาษีเงินได้เท่านั้น
แต่การเลือกทำตามวิธีนี้อาจมีปัญหาเล็กน้อย เพราะในบางครั้งกรมสรรพากรก็ไม่ยินยอมให้ใช้วิธีการนี้ เพราะทางกรมสรรพากรคุ้นเคยกับการทำตามแบบที่ 1 (ถือว่ามีการจ่ายเสมือนจริง) มากกว่า
พออ่านมาถึงตรงนี้แล้วเราเชื่อว่าคุณจะเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับเงินกรรมการกู้ยืมมากยิ่งขึ้น และเรายังมั่นใจว่าคุณจะสามารถจัดการบัญชีเงินกรรมการกู้ยืมได้เป็นอย่างดี แต่จะดีกว่าไหมหากคุณสามารถดูแลจัดการงานบัญชีได้ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ด้วยโปรแกรมบันทึกบัญชีออนไลน์ SMEMOVE ที่ไม่ว่าคุณจะรับเงิน จ่ายเงิน ให้กรรมการกู้ยืม ก็สามารถบันทึกได้ง่ายๆ
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE