ยื่นภาษีอย่างไร เมื่อซื้อโฆษณา Facebook หรือ Google
ต้องยอมรับว่ากฎหมายไทยยังก้าวตามไม่ทันเทคโนโลยี โดยเฉพาะกฎหมายภาษีด้านอีคอมเมิร์ชนั้น ปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมธุรกรรมทั้งหมดของการค้าขายออนไลน์
การค้าขายออนไลน์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น แยกออกเป็นการซื้อขายสินค้าและบริการในประเทศ และธุรกรรมการซื้อขายสินค้าและบริการในต่างประเทศ กฎหมายการจัดเก็บภาษีธุรกิจอี-คอมเมิร์ซภายในประเทศนั้น กรมสรรพากรสามารถจัดการได้โดยการติดตามการซื้อขายสินค้าจากช่องทางการชำระเงิน ส่วนการซื้อขายสินค้าและบริการในต่างประเทศนั้น กำลังเป็นปัญหาที่กรมสรรพากรยังไม่สามารถดำเนินการจัดเก็บภาษีได้ เพราะการส่งมอบสินค้าและบริการนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะภายในประเทศ ส่วนการชำระเงินนั้นธนาคาพาณิชย์ของไทยทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในการชำระเงินเท่านั้น
โซเชียลมีเดียข้ามชาติก็เป็นอีกธุรกิจที่สร้างปัญหาเรื่องการจัดเก็บภาษีในประเทศที่เข้าไปให้บริการไม่น้อย เพราะหากมองกันให้ดีแล้ว สามารถเทียบโซเชียลมีเดียนี้เป็นธุรกิจเหมือนผู้ประกอบการรายอื่นๆในประเทศ และควรที่จะเสียภาษีให้กับประเทศนั้นๆ ด้วย และสำหรับพ่อค้าแม่ค้าก็ยังมีข้อกังขาว่าหากซื้อโฆษณา Facebook หรือ Google จะต้องยื่นภาษีกับกรมสรรพากรอย่างไร
หลักฐานค่าใช้จ่าย
อย่างแรกเลยหากต้องการยื่นภาษีค่าโฆษณาเป็นค่าใช้จ่ายธุรกิจ จะต้องหาหลักฐานค่าใช้จ่าย ในที่นี้คือต้องขอใบกำกับภาษีรูปแบบเต็มของค่าโฆษณาที่จ่ายให้กับ Facebook หรือ Google นั่นเอง ทั้งนี้ Facebook และ Google มีบริการนี้รองรับอยู่แล้ว
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
มักมีคำถามว่ารายจ่ายค่าโฆษณา FaceBook หรือ Google นำมาเป็นรายจ่ายเคลมภาษีของธุรกิจได้หรือไม่ คำตอบคือถ้าเป็นในธุรกิจในฐานะของบุคคลธรรมดานั้น หากต้องการนำค่าโฆษณามาเป็นค่าใช้จ่ายธุรกิจนั้น ทำได้โดยเลือกหัก “ค่าใช้จ่ายตามจริง” โดยจะต้องขอใบกำกับภาษีรูปแบบเต็มจาก FaceBook หรือ Google เพื่อเป็นหลักฐานยื่นสรรพากรได้ แต่หากเลือกหัก “ค่าใช้จ่ายเหมา” นั้นก็ไม่จำเป็นต้องขอหลักฐานใบกำกับภาษีมายื่นสรรพากรแล้ว เพราะค่าใช้จ่ายคิดเหมาไปเรียบร้อยแล้ว
หากทำธุรกิจในฐานะของนิติบุคคล ก็สามารถนำค่าโฆษณามาเป็นค่าใช้จ่ายได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องยึดหลักว่า เป็นการจ่ายจริง เกี่ยวข้องกับกิจการ และมีหลักฐานการจ่ายครบถ้วน โดยขอใบกำกับภาษีรูปแบบเต็มจาก Facebook หรือ Google ในชื่อของบริษัท โดยไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ก็เพราะเพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสรรพากรให้น้อยที่สุด
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ตามหลักแล้วนั้น Facebook หรือ Google นั้นต้องมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทย แต่เนื่องด้วยปัญหากฎหมายยังไม่ครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้าและบริการต่างประเทศ กฎหมายจึงผลักภาระการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ให้แค่ผู้ที่จ่ายค่าโฆษณาแทน นั่นหมายความว่า ผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.พ.36 โดยคิดยอด 7% ของค่าโฆษณาที่จ่ายไป เช่น ถ้าโฆษณา 15,000 บาท จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,050 บาท
อย่างไรแล้วมีบางคนที่คิดจะยื่นค่าโฆษณาเป็นค่าใช้จ่ายธุรกิจเพียงอย่างเดียว โดยไม่ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบด้วย ทั้งนี้แนะนำว่า อย่างไรแล้วก็ให้ยื่นคู่ทั้งภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มจะดีกว่า เพื่อป้องกันปัญหาการตรวจสอบของย้อนหลังของกรมสรรพากร เพราะหากเจอสอบย้อนหลัง อาจจะต้องเจอเงินเพิ่ม 1.5%ต่อเดือน เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาอีก
หวังว่าความรู้นี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจในการจัดการภาษีเกี่ยวกับค่าโฆษณา Facebook หรือ Google ได้มากขึ้นนะ
เห็นไหมว่าภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเป็นเรื่องยิบย่อย แต่คุณสามารถทำเรื่องพวกนี้ให้ง่ายขึ้นโดยการใช้โปรแกรมบัญชี SMEMOVE ที่สะดวก ง่าย และราคาประหยัด เริ่มสนใจแล้วใช่ไหมล่ะ ถ้าอย่างนั้นตามมาทดสอบฟรีตลอดชีพตามลิงก์ด้านล่างได้เลย
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE