มาตรการสู้ Covid-19 ขยายเวลายื่นภาษีถึง 31 ส.ค.63

By posted on April 16, 2020 1:19PM

อีกหนึ่งมาตรการสู้ Covid-19 ขยายเวลายื่นภาษีที่ทางคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตของไวรัส Covid-19 ไปได้ โดยมีจุดประสงค์คือการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับประชาชน และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการปิดกิจการแบบชั่วคราวจากคำสั่งของรัฐบาลตามมาตรการที่ออกมา เพื่อป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดให้ลดน้อยลง โดยมีมาตรการดังนี้

1. ยืดระยะเวลาในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563

เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดาทุกคนทาง ครม. จึงมีมติให้ยืดระยะเวลาในการยื่นภาษีเพิ่มเติมจากเดิม ที่ได้กำหนดให้เลื่อนยืนได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็นวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ทั้งการยื่นแบบกระดาษ และการยื่นแบบออนไลน์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

– การยื่นแบบกระดาษที่สำนักกรมสรรพากรในพื้นที่ ระยะเวลาการยื่นเดิม 1 มกราคม – 31 มีนาคม 263 เป็นระยะเวลาการยื่นภาษี 2562 (ยื่นต้นปี 2563 อัปเดทล่าสุด) 1 มกราคม – 31 สิงหาคม 263 แทน

– การยื่นภาษีออนไลน์ การยื่นเดิม 1 มกราคม – 8 เมษายน 263 เป็นระยะเวลาการยื่นภาษี 2562 (ยื่นต้นปี 2563 อัปเดทล่าสุด) 1 มกราคม – 31 สิงหาคม 263 แทน

ระยะเวลาในการผ่อนจ่ายภาษี

กำหนดผ่อนชำระภาษีระยะเวลาผ่อนจ่ายภาษีเดิม (ยื่นแบบกระดาษ)ระยะเวลาผ่อนจ่ายภาษีเดิม (ยื่นออนไลน์)ยื่นต้นปี 2563 อัปเดทล่าสุด
งวดที่ 131 มี.ค. 25638 เม.ย. 256331 ส.ค. 2563
งวดที่ 230 เม.ย. 25638 พ.ค. 256330 ก.ย. 2563
งวดที่ 331 พ.ค. 25638 มิ.ย. 256331 ต.ค. 2563

*ในกรณีที่ผู้เสียภาษีมีสิทธิในการขอเงินคืนภาษีก็สามารถทำการขอคืนภาษีได้ทันที โดนไม่ต้องรอให้ถึงกำหนดยื่นภาษีวันสุดท้ายแต่อย่างใด

2. เพิ่มสิทธิในการลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ

จากเดิมผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพได้ 15,000 บาทต่อการยื่นเสียภาษี จะสามารถหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันได้เพิ่มมากขึ้นเป็น 25,000 บาท โดยจะมีผลย้อนหลังไปถึงเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายไปตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 แต่ทั้งนี้การหักค่าลดหย่อนจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท เมื่อรวมค่าเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และเงินฝากแบบมีประกันชีวิต

3. ค่าเสี่ยงภัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ได้รับการยกเว้นภาษี

เงินค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขนอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 2563 จะได้รับการยกเว้นภาษี ไม่ต้องนำเงินพิเศษเหล่านี้มาทำการคำนวณภาษีเพิ่ม ส่วนเงินเดือนก็ทำการยื่นภาษี และเสียภาษีตามปกติ ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ในข้อนี้ไม่ได้จำกัดผู้รับผลประโยชน์เพียงแพทย์ และพยาบาลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เทคนิคการแพทย์ หรือแม้แต่คนขับรถพยาบาลก็ได้รับสิทธิการลดหย่อนนี้เช่นกัน

4. ขยายเวลาในการยื่นภาษีสำหรับนิติบุคคลทุกประเภท

อีกหนึ่งมาตรการทางภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องปิดกิจการ จากคำสั่งของรัฐบาลจะได้รับสิทธิในการเลื่อนจ่ายภาษี และชำระแบบภาษีทุกประเภทจากเดิมออกไป 1เดือน เช่นกำหนดเดิมจ่ายภาษีวันที่ 15 เมษายน เป็น 15 พฤษภาคม และสำหรับผู้ประกอบการอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบทางกระทรวงจะทำการพิจารณาเป็นรายกรณีไป

นอกจากนี้เพื่อเป็นการลดภาระทางภาษี และเพิ่มสภาพคล่องให้แก่นิติบุคคลทางครม. จึงได้มีมติเห็นชอบขยายเวลาในการยื่นภาษีประจำปี ภ.ง.ด. 50 และภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด. 51 ของบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลดหลักทรัพย์ดังนี้

– ภ.ง.ด. 50 (ประจำปี) ที่ต้องยื่นภาษีในเดือน เม.ย.- ส.ค. 2563 (ส่วนใหญ่จะยื่นภายใน 29 พ.ค. 2563) จะขยายเวลาในการยื่น และชำระภาษีได้จนถึงวันที่ 31 ส.ค. 63

– ภ.ง.ด. 51(ครึ่งปี) ที่ต้องยื่นภาษีในเดือน ก.ค. – ก.ย 2563 (ส่วนใหญ่จะยื่นภายใน 29 พ.ค. 2563) ให้สามารถยื่นได้จนถึง 30 มิ.ย. 63

5. ยกเว้นภาษี และค่าธรรมเนียมให้กลุ่ม Non-Bank สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้

ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้มีมาตรการยกเว้นภาษี และค่าธรรมเนียมสำหรับสถาบันการเงินสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปแล้ว ครั้งนี้ทางรัฐบาลจะขยายสิทธิประโยชน์ให้กลุ่มเจ้าหนี้ Non-Bank ด้วยเช่นธุรกิจเช่าซื้อ ลิสซิ่ง บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ก่อให้เกิดภาระทางภาษี หรือค่าธรรมเนียมใดๆ โดยจะได้รับการยกเว้นภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์

ภายใต้เงื่อนไขผ่อนปรนเกณฑ์หนี้สูญแก่เจ้าหนี้ปรับปรุงโครงสร้างลูกหนี้ บัตรเครดิต, สินเชื่อส่วนบุคคล, เช่าซื้อ และลีสซิ่ง ลูกหนี้เจ้าอื่นที่ทำสัญญาประนอมหนี้ หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร โดยการปรับโครงสร้างหนี้ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

และนี่ก็เป็นมาตรการภาษีที่ทางรัฐบาลได้ออกมารอบที่ 2 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางด้านการเงิน บรรเทาภาระทางภาษีแก่ผู้เสียภาษี ที่ผู้เข้าข่าย หรือประกอบการที่เกี่ยวข้องสามารถรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีได้ทันที หากมีมาตรการใหม่ๆ ออกมาก็สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ WWW.SMEMOVE.COM เช่นเดิมนะคะ

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE