เชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คน ก็คงอยากจะรู้ว่า สิทธิลาคลอด ปี 2568 นี้ มีอะไรบ้าง แล้วการเบิกแต่ละรายการ ตามสิทธิประกันสังคมนั้น สามารถเบิกได้เท่าไหร่ เพราะฉะนั้น ทาง SMEMOVE จะพาว่าที่คุณแม่มือใหม่มาอัปเดตกัน ว่าปีนี้กฎหมายแรงงานเรื่องการลาคลอดบุตรสามารถลาได้กี่วัน แล้วประเด็นเวลาการขยายวันลาคลอด 120 วัน มีแนวโน้มอย่างไรบ้างในปีนี้
สิทธิลาคลอด ปี 2568 ตามกฎหมายแรงงาน
ในปัจจุบันนี้กฎหมายแรงงานที่กำหนดให้พนักงานหญิงมีสิทธิลาคลอดได้นั้น สามารถลาคลอดได้ 98 วัน โดยแบ่งเป็น 45 วันก่อนคลอด และ 45 วันหลังคลอด โดยเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน นอกจากนี้ หากคุณแม่มือใหม่ป้ายแดงเป็นสมาชิกประกันสังคม ยังจะได้รับเงินชดชยในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยนานสูงสุดถึง 90 วัน
โดยเงื่อนไขการลาคลอด 98 วันนี้ จะต้องเป็นการลาต่อเนื่องกัน โดยนับรวมกับวันหยุดราชการ รวมถึงวันหยุดนัตฤกษ์ด้วย โดยการลาคลอดนี้ก็อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างตามข้อบังคับ หรือว่าสัญญาจ้างของแต่ละองค์กรที่สังกัดอยู่ เพราะบางบริษัทก็อาจจะมีสวัสดิการลาคลอดที่มากกว่า 98 วันตามกฎหมายแรงงานด้วย ซึ่งคุณแม่จะต้องทำการวางแผนการคลอดให้ดี ทั้งเรื่องสวัสดิการของบริษัท และสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวันลา
และอีกหนึ่งประเด็นที่ห้ามมองข้ามนอกเหนือจาก สิทธิลาคลอดตามกฎหมาย คือ การวางแผนการคลอด ทั้งแบบปกติและการวางแผนผ่าคลอด เพราะว่าต้องเตรียมร่างกายและนอนโรงพยาบาลเตรียมคลอดด้วย ส่วนการลาคลอดก็ควรแจ้งล่วงหน้า 30 วัน เพื่อให้บริษัทหรือทีมที่ทำงานด้วยสามารถวางแผนในการจัดการงานต่อได้นั่นเอง
รวมสิทธิประกันสังคม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
1. สิทธิการรับเงินช่วยเพิ่มเติมค่าฝากครรภ์
โดยสิทธินี้คุณแม่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามีอยู่ แต่จริง ๆ แล้ว สิทธิประกันสังคมจะมีเงินช่วยเพิ่มเติมสำหรับค่าฝากครรภ์ให้กับคุณแม่ด้วยเช่นกัน โดยเป็นเงินจำนวนทั้งหมด 1,500 บาท โดยจะรวมทั้งค่าอัลตราซาวด์ วัคซีน และค่ายาต่าง ๆ ที่สามารถยื่นเบิกได้ทั้งก่อนและหลังคลอด โดยแบ่งการจ่ายเงินออกเป็น 5 ครั้ง คือ
- ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 500 บาท
- ครั้งที่ 2 อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 300 บาท
- ครั้งที่ 3 อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 300 บาท
- ครั้งที่ 4 อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 200 บาท
- ครั้งที่ 5 อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 40 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 200 บาท
2. สิทธิลาคลอดและค่าเบิกจ่ายหลังคลอด
- ค่าคลอดบุตร วงเงิน 15,000 บาท/ครั้ง
- เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอด 50% ของเงินเดือนเฉลี่ย (ไม่เกิน 15,000 บาท)
- ค่าชดเชยกรณีแท้งบุตร โดยต้องมีอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์
- เงินช่วยเหลือเพื่อเลี้ยงดูบุตร 800 บาท/เดือน (ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี) หากเป็นครรภ์แฝดสามารถเบิกได้ 1,200 บาท/เดือน
การคิดเงินเดือนของบริษัทเอกชน เมื่อพนักงานลาคลอด
การคิดเงินเดือนเมื่อพนักงานลาคลอดนั้น เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่ก็คงอยากรู้ว่า บริษัทจ่ายเท่าไหร่? โดยตามกฎหมายแล้ว นายจ้างต้องจ่ายค้าจ่างให้พนักงานไม่น้อยกว่า 45 วันแรก ตามอัตราค่าจ้างปกติ โดยต้องนำฐานเงินเดือนมาคิด
วิธีคิดเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเมื่อพนักงานลาคลอด คือ (เงินเดือน / 30 วัน) x 45 วัน
ตัวอย่าง: พนักงานหญิงเงินเดือน 35,000 บาท เมื่อลาคลอด จะได้รับค่าจ้าง (35,000 / 30) x 45 = 52,500 บาท
การจ่ายค่าชดเชยลาคลอด จากประกันสังคม
สำหรับการสมทบเงินของประกันสังคม จะมีการจ่ายเงินชดเชยให้ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน (หากเป็นบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้สิทธิ์นี้) ส่วนผู้ที่มีสิทธิได้รับการชดเชยและสามารถเบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากประกันสังคมได้ ต้องจ่ายประกันสังคมมาแล้วมากกว่า 12 เดือน ภายในเวลา 36 เดือน
อัปเดต! สิทธิลาคลอดของฟรีแลนซ์ หรืออาชีพอิสระ
สำหรับกลุ่มอาชีพฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มอาชีพอิสระ ที่ไม่มีนายจ้างลาคลอดนั้น สามารถใช้สิทธิบัตรทอง หรือสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้เช่นกัน โดยสามารถเข้าถึงบริการการดูแลครรภ์และการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กฟรี และหากเป็นฟรีแลนซ์ที่มีประกันสังคม เช่น ลาออกมาประกอบอาชีพอิสระ และส่งประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค้าจ่างเฉลี่ย สูงสุด 15,000 บาท นาน 90 วัน พร้อมกับเงินช่วยเหลือบุตร 800 บาทต่อเดือน รวมถึงค่าคลอดบุตรอีก 15,000 บาท
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน เตรียมขยายวันลาคลอด 120 วัน
อีกหนึ่งประเด็นที่เชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อยากรู้คือ การลาคลอด 120 วัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังเป็นเพียงแค่ร่าง พ.ร.บ. เห็นชอบขยายวันลาคลอดจาก 98 วัน เป็น 120 วัน ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ จะต้องเข้าลำดับพิจารณากฎหมายต่อไป
โดยทางนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานได้ผลักดันกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยการเพิ่มสิทธิวันลาเพื่อคลอดบุตรของลูกจ้างหญิง 120 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 60 วัน และให้ลูกจ้างชาย หรือผู้ชายก็มีสิทธิลา 15 วัน เพื่อช่วยเหลือคู่สมรสที่คลอดบุตร โดยได้รับค่าจ้าง 100%
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงกฎหมายประกันสังคม เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากการหยุดงานเพื่อคลอดบุตร จาก 90 วัน เป็น 98 วัน พร้อมกับการจัดตั้งศูนย์ที่ปรึกษาแรงงานหญิงนำร่อง 10 จังหวัด ในพื้นที่อุตสาหกรรม เพื่อแนะนำและให้ความช่วยเหลือแรงงานหญิงที่ประสบปัญหาในการทำงาน
และถึงแม้ว่าในตอนนี้กฎหมายลาคลอด 120 วัน จะยังไม่ได้อนุมัติหรือว่าบังคับใช้ แต่ก็น่าจะมีการผลักดันกันในเร็ว ๆ นี้ และหากมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิลาคลอดตามกฎหมายของแรงงานแล้ว ทาง SMEMOVE ก็จะมาอัปเดตให้กับชาวลูกจ้างและนายจ้างกันแบบ Real Time อย่างแน่นอน
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE