ภาษีป้ายแบบง่าย ๆ เข้าใจได้ใน 5 นาที

By posted on August 16, 2019 2:39PM

ป้าย หรือป้ายโฆษณาที่ทุกคนได้พบเห็นอยู่ทั่วไปไม่ว่าจะข้างทาง ตามตึก หน้าร้านค้า ตลอดจนสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่านซึ่งมักจะเต็มไปด้วยป้ายโฆษณา แต่คุณรู้ไหมว่าป้ายโฆษณาที่คุณเห็นๆ กันอยู่ทุกวันนี้ บางป้ายก็จะต้องทำการจ่ายภาษีด้วยนะ

คำถามนี้อาจทำให้ใครหลายๆ คนรู้สึกสงสัยว่านี่เป็นเรื่องจริงหรือ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ที่มักจะไม่ทราบว่าป้ายโฆษณาที่ตัวเองติดตั้งไว้จะต้องทำการเสียภาษีด้วย จึงทำให้เกิดการกระทำผิดกฎหมายได้โดยไม่รู้ตัว และแน่นอนว่าการทำผิดกฎหมายหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีทั้งตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจเป็นสิ่งที่ผิด และอาจทำให้คุณโดนเรียกปรับย้อนหลังได้

 ติดป้ายแบบใดถึงจะต้องเสียภาษี

ขอบอกเลยว่าการติดป้ายที่เป็นโฆษณาภาพ หรืออักษร ตามตึก ตามทางด่วน ป้ายแบบผ้าใบ ป้ายไฟ หรือแม้กระทั่งป้ายแผ่นเล็กๆ หน้าร้านก็จำเป็นจะต้องเสียภาษีป้าย ยกตัวอย่างเช่น คุณมีร้านซักรีดแห่งหนึ่งหน้าร้านมีป้ายไฟที่เป็นชื่อร้าน และบนตัวตึกมีป้ายโฆษณาผ้าใบขนาดใหญ่แขวนอยู่ คุณก็ต้องเสียภาษีทั้งสองป้าย โดยอัตราภาษีนั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดของป้าย

ติดป้ายแบบใดถึงไม่ต้องเสียภาษี

ตามกฎหมายแล้วการตั้งป้ายที่แสดงถึงตราสินค้า หรือป้ายที่แสดงยี่ห้อเพื่อการทำโฆษณา หารายได้บนวัตถุต่างๆ จะต้องถูกจัดเก็บภาษี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีข้อยกเว้นเลย ซึ่งป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีจะมีความแตกต่างจากการติดป้ายแบบปกติทั่วไปด้วยวิธีการดังนี้

  1. ป้ายที่จัดแสดงไว้ที่โรงมหรสพ และบริเวณใกล้เคียงของโรงมหรสพ เพื่อโฆษณามหรสพ
  2. ป้ายสำหรับแสดงบนสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ของสินค้า
  3. ป้ายการจัดงานแบบชั่วคราว
  4. ป้ายสำหรับคนหรือสัตว์
  5. ป้ายที่จัดแสดงในอาคาร หรือที่รโหฐานเพื่อหารายได้ ซึ่งแต่ละป้ายต้องมีขนาดไม่เกิน 3 ตารางเมตรตามที่กฎหมายของกระทรวงได้กำหนดไว้
  6. ป้ายของราชการ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
  7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลอย่างเช่นป้ายของธนาคารออมสิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  8. ป้ายของโรงเรียนเอกชน
  9. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรที่ทำการค้าขายผลิตผลที่เกิดจากการทำการเกษตรด้วยตนเอง
  10. ป้ายของวัด หรือผู้ที่ดำเนินกิจการเพื่อศาสนา และการกุศลโดยเฉพาะ
  11. ป้ายมูลนิธิ หรือป้ายสมาคม
  12. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (กฎกระทรวงฉบับที่ 2 พ.ศ.2535) ที่กำหนดไว้ว่าผู้ที่ไม่ต้องเสียภาษีป้ายคือผู้ที่ติดป้ายไว้ที่ยานพาหนะเช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบดถนน รถแทรกเตอร์ ป้ายที่ติดตั้งไว้บนล้อเลื่อน และป้ายที่จัดแสดงไว้ที่ยานพาหนะ โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตารางเซนติเมตร

การขออนุญาตและติดตั้งป้ายทำได้อย่างไร

  1. ทำการร่างแบบ พร้อมแผนผังที่ตั้งบริเวณที่คุณต้องการติดตั้งป้าย เพื่อนำไปใช้ในการขออนุญาตติดตั้งป้ายกับสำนักงานเขตเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่เราอาศัยอยู่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาทำการสำรวจตรวจสอบว่าป้ายจะส่งผลอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินของผู้คนในบริเวณนั้นหรือไม่
  2. เมื่อผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุญาตให้ติดตั้งป้ายได้แล้ว ต่อมาให้คุณเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการเสียภาษีป้ายคือ

– บัตรประจำตัวประชาชน

– สำเนาทะเบียนบ้าน

– ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

– หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน

– ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย

และทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป. 1) พร้อมด้วยหลักฐานทั้งหมด

หากฝ่าฝืนกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีป้ายจะมีบทลงโทษอย่างไร

  1. ในกรณีที่ผู้ประกอบการจงใจหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้ายโดยไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท
  2. กรณีที่ผู้ประกอบการแจ้งความเท็จ หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีด้วยวิธีการต่างๆ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
  3. ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่แจ้งรับ โอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ สถานประกอบการของตนเอง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท

แค่ภาษีป้ายยังมากขนาดนี้ และการทำบัญชีจะมากขนาดไหน ทางเรามีทางออกให้กับปัญหานี้ ก็คือโปรแกรมบัญชีอัตโนมัติ SMEMOVE ที่ทั้งง่าย สะดวก และราคาประหยัด เพื่อช่วยลดภาระการทำบัญชีและภาษีไปได้มากทีเดียว และถ้าสนใจทดลองใช้งานฟรี สามารถกดตามลิงก์ด้านล่างได้เลย

ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE

คู่มือการใช้งาน : HELP

ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่

บทความบัญชี: smemove.com/blog

Facebook: Facebook.com/smemove.th

Youtube: SMEMOVE