หลังจากที่มีกาศฉบับใหม่ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา เชื่อว่าทำให้คนทำบัญชีหลาย ๆ คน เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในรายการย่อดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัด หนึ่งในนั้นคือการเปลี่ยนชื่อเรียกของ “งบแสดงฐานะการเงิน” เป็น “งบฐานะการเงิน” ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็มีผลแล้วเช่นกัน เพราะฉะนั้น ทาง SMEMOVE จะพาคุณมาดูกันว่า ประกาศล่าสุดมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง
งบแสดงฐานะการเงิน คือ
งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of financial Position) นั้น เป็นหนึ่งในรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน ที่นิติบุคคลต้องจัดทำส่งให้หน่วยงานรัฐ ซึ่งงบแสดงฐานะการเงินจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “งบดุล” เป็นงบที่ใช้แสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันที่กำหนดในงบ โดยทุก ๆ กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทำเพื่อส่งให้กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีองค์ประกอบหลัก ๆ 3 รายการ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น
“งบแสดงฐานะการเงิน” เปลี่ยนใหม่เป็น “งบฐานะการเงิน”
การเปลี่ยนชื่อเรียกของ “งบแสดงฐานะการเงิน” เป็น “งบฐานะการเงิน” นั้น เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่สภาพวิชาชีพใช้ในปัจจุบัน รวมถึงตรงกับความหมายที่ใช้ในศัพท์ภาษาอังกฤษเช่นกัน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังมีเหตุผลมาจากมาตรฐานบัญชีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการด้วย หนึ่งในนั้นคือ กิจการที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียสาธารณะ (ฉบับปรับปรุง 2565)
งบฐานะการเงิน เริ่มใช้เมื่อไหร่?
จากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกำหนดรายการย่อในงบการเงิน 2567 ฉบับล่าสุดนั้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา เพราะฉะนั้น ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีของบริษัทจำกัด จะต้องใช้รายการย่อตามที่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อต้องจัดทำงบการเงินส่งให้หน่วยงานรัฐนั่นเอง
อัปเดตเลย มาตรฐานรายงานทางการเงินที่ปรับปรุงล่าสุด!
1. การนำเสนองบการเงิน
โดยสาระสำคัญในส่วนนี้มีทั้งการเปลี่ยนแปลงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง “สัญญาประกันภัย” และเรื่องภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินที่เกิดขึ้นจากรายการเดียว นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มคำนิยาม “นโยบายการบัญชี” หมายถึง นิยามที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ 5 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด รวมถึงที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ด้วย
และที่ขาดไม่ได้คือ การเพิ่มรายการส่วนประกอบของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอีก 2 รายการ คือ รายได้และค่าใช้จ่ายทางการเงินจากการประกันภัยจากสัญญาที่ออกภายในขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ที่แยกออกจากกำไรหรือขาดทุน และอีกรายการก็คือ รายได้และค่าใช้จ่ายทางการเงินจากสัญญาประกันภัยต่อที่ถือไว้ที่แยกออกจากกำไรหรือขาดทุน เมื่อรายได้หรือค่าใช้จ่ายทางการเงินจากการประกันภัยต่อทั้งหมดทุกแตกยอดเพื่อรวมในกำไรหรือขาดทุน
2. งบกระแสเงินสด
โดยการปรับปรุงที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้ มาจากการที่ประกาศใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 สัญญาประกันภัย ซึ่งไม่เกิดผลกระทบ โดยยกเลิกย่อหน้า 14.5 ที่ว่าด้วย “เงินสดรับและการจ่ายชำระเงินสดของกิจการประกันภัย สำหรับเบี้ยประกันภัยและค่าสินไหมทดแทน ค่ารายปี และผลประโยชน์อื่นตามกรมธรรม์”
3. นโยบายบัญชี
เป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชีและข้อผิดพลาด ซึ่งสาระสำคัญในส่วนนี้คือ คำนิยามประมาณการทางบัญชี ซึ่งการปรับปรุงมี 2 รายการ คือ
- แก้ไขคำนิยาม “การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี” เป็น “ประมาณการทางบัญชี” โดยมีความหมายว่า จำนวนที่เป็นตัวเงินในงบการเงินที่เปลี่ยนไปตามความไม่แน่นอนของการวัดค่า
- การปรับปรุงย่อหน้า 32 โดยมีข้อความสำคัญคือ นโยบายการบัญชีอาจขกำหนดให้รายงานในงบการเงินถูกวัดค่าในแนวทางที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่ทนอนของการวัดค่า และตัวอย่างของงบประมาณการทางบัญชี
การเปลี่ยนแปลงคำในทางบัญชี ตามมาตรฐานใหม่ปี 2567
- งบแสดงฐานะการเงิน เปลี่ยนชื่อ “งบฐานะการเงิน”
- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ เปลี่ยนเป็น “งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ”
- งบกำไรขาดทุน แบบจำแนกตามลักษณะของค่าใช้จ่าย เปลี่ยนเป็น “งบกำไรขาดทุน แบบจำแนกตามธรรมชาติของค่าใช้จ่าย”
- ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ เปลี่ยนเป็น “ค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ”
- ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เปลี่ยนเป็น “ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้หมุนเวียนอื่น และ ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ไม่หมุนเวียนอื่น”
- งานระหว่างทำ (Unbill สำหรับธุรกิจที่รับรู้ % of Completion) เปลี่ยนเป็น “มูลค่าของงานส่วนที่เสร็จแต่ยังไม่ถึงกำหนดเรียกชำระเงิน-หมุนเวียน และ มูลค่าของงานส่วนที่เสร็จแต่ยังไม่ถึงกำหนดเรียกชำระเงิน-ไม่หมุนเวียน”
- สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เปลี่ยนเป็น “สินทรัพย์ภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบัน และ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี”
- เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เปลี่ยนเป็น “เจ้าหนี้การค้าหรือเจ้าหนี้หมุนเวียนอื่น และ เจ้าหนี้การค้าหรือเจ้าหนี้ไม่หมุนเวียนอื่น”
- รายได้รับล่วงหน้า เปลี่ยนเป็น “เงินรับล่วงหน้าส่วนที่เกินกว่างานส่วนที่เสร็จ-หมุนเวียน และ เงินรับล่วงหน้าส่วนที่เกินกว่างานส่วนที่เสร็จ-ไม่หมุนเวียน”
- ภาษีเงินได้ค้างจ่าย เปลี่ยนเป็น “ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย”
- ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ เปลี่ยนเป็น “ภาษีเงินได้”
- ประมาณการหนี้สินระยะยาว เปลี่ยนเป็น “ประมาณการหนี้สินหมุนเวียนสำหรับผลประโยชน์พนักงาน และ ประมาณการหนี้สินไม่หมุนเวียน สำหรับผลประโยชน์พนักงาน หรือ ประมาณการหนี้สินระยะยาวอื่น”
- การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี เปลี่ยนเป็น “การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี”
- การเปิดเผยนโยบายการบัญชีที่มีนัยสำคัญที่กิจการใช้ เปลี่ยนเป็น “การเปิดเผยข้อมุลนโยบายการบัญชีที่สาระสำคัญที่กิจการใช้”
ห้ามพลาด! อัปเดตทุกเทรนด์เรื่องบัญชีออนไลน์ ที่ SMEMOVE
จะเห็นได้เลยว่า การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุงปี 2566 นี้ นอกจากการเปลี่ยนชื่อของ “งบแสดงฐานะการเงิน” เป็น “งบฐานะการเงิน” นั้น มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงรายการอื่น ๆ อีกมากมาย ที่คนทำบัญชีหรือเจ้าของธุรกิจควรรู้ เพราะมีความสำคัญในการจัดทำงบการเงินในแต่ละรอบบัญชี โดยเฉะพาะการเขียนหมายเหตุประกอบงบการเงินแบบปกติ หรือ แม้แต่การเขียนเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินที่แตกต่างจากรูปแบบปกติออกไป ตามรายการย่อในงบการเงิน 2567 นั่นเอง
นอกจากนี้ หากคุณเป็นคนทำบัญชี หรือทำเอกสารทางธุรกิจต่าง ๆ ต้องไม่พลาด! กับการอัปเดตทุกข่าวสารเรื่องการทำบัญชีแบบง่าย ๆ จากทาง SMEMOVE ตัวจริงเรื่องโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ทดลองใช้เลยวันนี้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนรับสิทธิ์เลยที่นี่
ทดลองใช้ฟรีได้ที่ : SMEMOVE
คู่มือการใช้งาน : HELP
ติดตามบทความอื่นๆของ SMEMOVE.com ได้ที่
บทความบัญชี: smemove.com/blog
Facebook: Facebook.com/smemove.th
Youtube: SMEMOVE